บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,115
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,220
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,146
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,033
  Your IP :44.212.39.149

5.1.9.3 การอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน อาจก่อให้เกิดการบล็อกเส้นทางหายใจทั้งหมด หรือบางส่วน

 

1) การอุดตันทางเดินหายใจบางส่วน ผู้บาดเจ็บยังคงได้รับอากาศบ้าง เมื่อผู้บาดเจ็บต้องการอากาศ มักจะเกิดการไอออกมาอย่างแรง ซึ่งเป็นการได้รับอากาศที่ดี ในระหว่างเกิดการไอจาม ผู้ช่วยเหลือไม่ควรเข้าไปยุ่ง ควรให้ผู้บาดเจ็บไอจามออกมาด้วยตัวเอง ถ้าหากผู้บาดเจ็บได้รับอากาศไม่เพียงพอ ทำให้ผู้บาดเจ็บอ่อนแอ ในระหว่างการไอจะมีเสียงแหลมสูง หมายความว่าผู้ป่วยได้รับอากาศน้อย

 

      นอกจากนี้ การได้รับอากาศน้อย ผู้บาดเจ็บอาจมีอาการช็อกเกิดขึ้น สังเกตได้จากเริ่มมี ผิวคล้ำหม่นหมอง, มีสีน้ำเงิน หรือสีเทารอบริมฝีปาก หรือที่ปลายเล็บ บ่งบอกว่าผู้บาดเจ็บต้องการออกซิเจน ต้องเข้าทำการช่วยเหลือ การปฏิบัติจะเหมือนกับการอุดตันทางเดินหายใจแบบปิดหมด

 

 

รูปทารกที่หายใจได้เพียงบางส่วนบริเวณปากเริ่มมีสีน้ำเงิน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

2) การอุดตันทางเดินหายใจปิดหมด ผู้บาดเจ็บไม่ได้รับอากาศ สังเกตได้จากไม่สามารถพูด, หายใจ หรือไอไม่ได้ ผู้บาดเจ็บอาจจะเอามือไปกำที่คอ และมีอาการดิ้นทุรนทุรายผิดปกติ ในผู้บาดเจ็บที่หมดสติ การปิดทางเดินหายใจหมดคือ จะแสดงให้เห็นโดยหลังจากที่เปิดทางเดินหายใจจะไม่เห็นอาการระบายอากาศของเขาจากการหายใจต่อเนื่อง

 

 

รูปอาการทางเดินหายใจปิดหมด สังเกตจากผู้บาดเจ็บมักจะเอามือกุมที่ลำคอ

 

 

 

5.1.10 การเปิดทางเดินหายใจ ผู้บาดเจ็บที่มีสติอยู่

 

      การจะล้างเพื่อเปิดทางเดินหายใจของผู้บาดเจ็บที่ยังมีสติ สามารถทำกับผู้บาดเจ็บได้ทั้งแบบยืน และแบบนั่ง ดูตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

คำเตือน เมื่อทางเดินหายใจเกิดอุดตัน สมองจะเริ่มขาดออกซิเจน ส่งผลให้หมดสติ และอาจจะตายได้อย่างรวดเร็ว

 

 5.1.10.1 ถามผู้บาดเจ็บว่าเขาสามารถพูดคุย หรือสามารถสำลักได้หรือไม่ สังเกตได้จากการที่ผู้บาดเจ็บจะสำลักให้ดูที่เอามือกุมที่คอ (Universal choking sign) ดูที่รูปด้านล่าง

 

รูปแสดงอาการจะสำลักเอามือกุมที่ลำคอ

 

 

รูปแสดงอาการสำลักเอามือกุมที่คอ

 

5.1.10.2 หากผู้บาดเจ็บสามารถพูดได้ พยายามกระตุ้นให้เขาไอ ผู้บาดเจ็บจะได้รับอากาศที่ดีขึ้น หากเขาสามารถพูด หรือไอออกมาได้ดี ปล่อยให้เขาไอจามพยายามที่จะขับสิ่งกีดขวางออกมาด้วยตัวเอง

 

5.1.10.3 หากมีเสียงแหลมสูงเมื่อผู้บาดเจ็บหายใจ หรือไอ (การแลกเปลี่ยน หรือรับอากาศที่ไม่ดีพอ) หากเกิดการแลกเปลี่ยนของอากาศที่ไม่ดี หรือไม่มีการหายใจ ให้ทำการกดกระแทกที่ช่องท้อง หรือหน้าอกทันที วิธีการจะอยู่ที่ด้านล่าง แล้วถ้ามีแพทย์ ก็ควรจะส่งให้ถึงมือแพทย์ได้เลย

 

หมายเหตุ การดันด้วยมือของตัวเองที่กึ่งกลางระหว่างเอว และซี่โครง เรียกว่า การกดกระแทกที่ช่องท้อง (Abdominal thrust) (ใต้ลิ้นปี่ (Heimlich))

จะใช้มือดันที่หน้าอก (มืออยู่ตรงกลางระหว่างกระดูกหน้าอก) ก็ต่อเมื่อผู้บาดเจ็บเป็นสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ คนรูปร่างอ้วน หรือมีแผลสาหัสที่ตรงช่องท้อง

 

วิดีโอการสาธิตกดกระแทกที่ช่องท้องเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คนเรามีเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากัน

มันขึ้นอยู่กับว่า

ใครจะเลือกใช้เวลาแต่ละนาทีให้มันคุ้มค่ามากแค่ไหน

เท่านั้นเอง”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา