บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,254
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,913
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,148
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,645
  Your IP :3.143.244.83

5.2.1.2 การไหลเวียนของโลหิต

 

      หัวใจ (Heart) และหลอดเลือด (Blood vessels) (เส้นเลือดแดง, เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย) เลือดจะไหลเวียนผ่านเนื้อเยื่อในร่างกาย หัวใจถูกแบ่งการทำงานเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะทำหน้าที่ปั๊มสูบฉีดเลือด

 

 

รูปหัวใจ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอแสดงการทำงานของหัวใจ

 

      ทางฝั่งด้านซ้ายมือ จะปั๊มเลือดที่มีออกซิเจน (เลือดแดง) ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผ่านเส้นเลือดแดงไปยังเส้นเลือดฝอย ทำให้สารอาหาร และออกซิเจนจากเลือด ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยไปยังเซลล์

 

      ในขณะเดียวกัน ในทางฝั่งหัวใจด้านขวามือ เป็นเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ไหลเข้าสู่เส้นเลือดฝอย จากเส้นเลือดฝอยออกซิเจนของเลือดจะมีน้อย การเดินทางผ่านหลอดเลือดดำไปทางด้านขวาของหัวใจ และจากนั้นก็เข้าไปที่ปอดที่ซึ่งมันจะทำการฟอกขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และดึงเอาออกซิเจนเข้าสู่เลือด

 

      เหตุที่ว่าในหลอดเลือดดำจะมีสีแดงเข้ม เพราะว่ามีปริมาณออกซิเจนต่ำ เลือดไม่ไหลผ่านหลอดเลือดดำในการพ่นออกไม่ผ่านเส้นเลือดแดง

 

1) การเต้นของหัวใจ (Heartbeat) หัวใจ มีหน้าที่ปั๊มให้เลือดมีแรงดันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการไหลเวียนไปยังทุกส่วนของร่างกาย ภายในหัวใจจะมีเลือดไหลเวียนตลอด วงจรการไหลเวียน จะเกิดการหดตัว และการคลายตัว สลับกันไปที่เรียกว่าการเต้นของหัวใจ โดยปกติหัวใจอยู่ที่ 60 – 80 ครั้งต่อนาที

 

รูปหัวใจ

 

2) ชีพจร (Pulse) การเต้นของหัวใจทำให้เกิดการหด และขยายตัวเป็นจังหวะ แล้วมันก็จะส่งจังหวะนี้ไปยังหลอดเลือดแดง ถ้าเราลองเอานิ้วสัมผัสตรงบริเวณหลอดเลือดดูจะรู้สึกถึงการเต้นของหลอดเลือด วงจรการขยายตัว และหดตัวนี้สามารถรู้สึกได้ ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายสามารถตรวจสอบได้ และเรียกมันว่า ชีพจร

 

      ตัวอย่างของจุดที่สามารถตรวจจับชีพจรได้แก่ ข้างคอ หรือคาโรติด (Carotid), ขาหนีบ หรือกระดูกต้นขา (Femoral), ข้อมือ (Radial) และข้อเท้า หรือหลังแข้ง (Posterialtibial)

 

Ø จับชีพจรที่คอ หรือคาโรติด สามารถจับความรู้สึก สำหรับชีพจร ได้บริเวณด้านข้างคอของผู้ป่วยโดยเคล็ดลับก็คือวางสองนิ้ว (นิ้วชี้ กับนิ้วกลาง) ข้างคอในระดับลูกกระเดือกของเขา

 

 

รูปการจับชีพจรที่คอ

 

รูปวิดีโอการจับชีพจรที่คอ

 

Ø การจับชีพจรที่ขาหนีบ หรือกระดูกต้นขา ให้กดปลายนิ้วสองนิ้วไปยังตรงกลางของขาหนีบ ดูที่รูป

 

 

รูปตำแหน่งของการจับชีพจรที่ขาหนีบ

 

 

รูปการจับชีพจรที่ขาหนีบ

 

วิดีโอการจับชีพจรที่ขาหนีบ

 

Ø การจับชีพจรที่ข้อมือ ให้วางปลายนิ้วสองนิ้วไปยังข้อมือด้านติดกับหัวแม่โป้งของข้อมือ ดูที่รูป

 

 

รูปการจับชีพจรที่ข้อมือ

 

Ø การจับชีพจรที่ข้อเท้า โดยให้วางปลายนิ้วสองนิ้วที่ด้านของของข้อเท้า ดูรูป

 

 

รูปการจับชีพจรที่ข้อเท้า

 

วิดีโอการจับชีพจรที่ข้อเท้า

 

หมายเหตุ อย่าใช้นิ้วหัวแม่มือ ในการตรวจจับชีพจร เพราะว่าการจับดูชีพจรอาจเกิดความสับสนไม่แน่นอน

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าชีวิต ไม่เจอบททดสอบแบบโหด ๆ

โอกาสโต แบบก้าวกระโดดก็ไม่มี”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา