บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 29
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 6,134
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,060
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,947
  Your IP :54.146.154.243

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบอาการบาดเจ็บความเสียหาย เพื่อให้ร่างกายตอบสนอง โดยการลองเขย่าตัวเบา ๆ หรือถามอาการว่า ยังสบายดี หรือปกติอยู่หรือไม่ ดูผลที่ตอบสนองกลับมา หากไม่มีการตอบสนองจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป แต่ถ้าหากมีการตอบสนอง ให้ทำการประเมินสภาพร่างกาย ดังนี้

 

1) หากผู้บาดเจ็บมีสติ ให้ถามถึงความรู้สึก อาการ หรือความเจ็บปวด ถามถึงตำแหน่งที่เจ็บปวดอยู่บริเวณไหนหรือเพื่อระบุบริเวณที่ไม่มีความรู้สึก

 

2) หากผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ แต่สำลัก และไม่สามารถพูดคุยได้ หยุดการตรวจประเมิน และเริ่มต้นการรักษา โดยล้วงเอาวัตถุออกจากคอของผู้บาดเจ็บที่ยังมีสติอยู่ ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ 6.13 เป็นรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับการเปิดระบบทางเดินหายใจ 

 

ข้อควรระวัง หากสงสัยว่า คอ หรือหลังหัก จะไม่เคลื่อนที่ผู้บาดเจ็บโดยพลการ เพราะการขาดความรู้ แล้วไปเคลื่อนไหวผู้บาดเจ็บ อาจทำให้ผู้บาดเจ็บอาจเกิดอัมพาตถาวร หรือเกิดการเสียชีวิต

 

 

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบการหายใจ จะกล่าวอย่างละเอียดในบทที่ 6.5 สำหรับขั้นตอนเบื้องต้น มีดังนี้

 

1) หากผู้บาดเจ็บยังหายใจอยู่ ให้ไปขั้นตอนที่ 4

 

2) หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจ หยุดการประเมิน และเริ่มต้นรักษา (ช่วยให้เกิดการหายใจ) กู้ชีพด้วยวิธีการเมาส์ทูเมาส์ (Mouth-to-mouth) หากมีการอุดตันที่ทางเดินหายใจ ให้เคลียร์สิ่งอุดตันนั้น และทำให้เกิดการหายใจให้ได้

 

3) หลังจากได้ทำการช่วยให้เกิดการหายใจได้สำเร็จแล้ว ต่อไปขั้นตอนที่ 3

 

 

ขั้นตอนที่ 3  ตรวจสอบชีพจร ถ้าหากยังมีชีพจร และยังหายใจอยู่ ให้ทำตามขั้นตอนที่ 4

 

1) หากยังมีชีพจร แต่ผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ให้เริ่มทำการกู้การหายใจ ดูในหัวข้อ 6.6 และส่วนวิธีพิเศษดูที่หัวข้อ 6.7

 

2) หากตรวจไม่พบชีพจร ให้รีบนำส่งให้ถึงมือบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการช่วยเหลือโดยเร็ว

 

 

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจหาการมีเลือดออก มองหาบริเวณที่เลือดกระเซ็นออกมา บริเวณเสื้อผ้าที่ชุ่มเลือด นอกจากนี้ให้ตรวจสอบสำหรับทั้งบาดแผลทั้งภายในภายนอก ถ้าผู้บาดเจ็บเลือดออกจากแผลที่เปิด หยุดการประเมิน และเริ่มต้นที่จะรักษาปฐมพยาบาลให้สอดคล้องกับการดำเนินการต่อไปอย่างเหมาะสม

 

1) แผลที่แขน หรือขา บางบริเวณสามารถใช้ผ้ากดห้ามเลือดได้ ดูหัวข้อ 6.15, 6.17, 6.18 และ 6.19

 

2) ใช้วิธีการ ใช้สายรัดห้ามเลือด ดูที่หัวข้อ 6.20

 

3) ถ้ามีแผลเปิดที่ศีรษะ การปฐมพยาบาลแผลเปิดที่ศีรษะ ให้ดูที่บทที่ 7 ช่วงแรก ๆ

 

4) แผลเปิดในช่องท้อง การปฐมพยาบาลในแผลเปิดในช่องท้อง ดูบทที่ 7 หัวข้อ 7.12

 

5) แผลเปิดที่หน้าอก การปฐมพยาบาลในแผลเปิดที่หน้าอก ดูบทที่ 7 หัวข้อที่ 7.9 และ 7.10

 

คำเตือน หากอยู่ในพื้นที่ที่มีสารเคมีอันตราย อย่าให้แผลถูกสารเคมีเด็ดขาด

 

 

ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบการช็อก หากปรากฏสัญญาณ / อาการช็อกมีอยู่ หยุดการประเมิน และเริ่มต้นทำการรักษาทันที ด้านล่างต่อไปนี้ เป็นสัญญาณ และ/ หรืออาการของการช็อก

 

1) มีเหงื่อออกที่ผิวหนัง แต่เย็น (ผิวชื้น)

 

2) ผิวซีด

 

3) กระสับกระสาย หรือหงุดหงิด

 

4) กระหายน้ำ

 

5) สูญเสียเลือด (เลือดออก)

 

6) เกิดความสับสน (ดูเหมือนไม่ตระหนักถึงสภาพแวดล้อม)

 

7) อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ

 

8) ผิวมีรอย หรือเปลี่ยนเป็นสีฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอบปาก

 

9) คลื่นไส้ และ/หรือ อาเจียน

 

คำเตือน หากกระดูกขาหัก ต้องทำการเข้าเฝือกขาก่อนเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอาการช็อก

 

ดูบทที่ 6 ในหัวข้อที่สาม จะได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ และผลกระทบ, สัญญาณ / อาการ, และการรักษา / การป้องกันของการช็อก

 

 

ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบการเกิดกระดูกหัก (บทที่ 8)

 

1) ตรวจสอบสัญญาณ / อาการ ต่อไปนี้จากการบาดเจ็บที่หลัง หรือคอ และทำการรักษาตามความจำเป็น

 

·       ความเจ็บปวด หรือความอ่อนตัวตรงบริเวณพื้นที่คอ หรือหลัง

 

·       มีรอยบาดแผลในบริเวณคอ หรือด้านหลัง

 

·       หากไม่สามารถเคลื่อนที่ผู้บาดเจ็บได้ (เกิดการชา หรืออัมพาต)

 

 

o  ถามเกี่ยวกับความสามารถในการเคลื่อนย้าย (อัมพาต)

 

o  สัมผัสแขน หรือขาที่เกิดอุบัติเหตุ และถามอาการผู้บาดเจ็บว่ามีความรู้สึกหรือไม่ (ชา)

 

 

·       ร่างกายที่ผิดปกติ หรือผิดตำแหน่ง

 

 

คำเตือน เว้นแต่จะมีอันตรายคุกคามต่อชีวิตทันที จะไม่ย้ายผู้บาดเจ็บหากสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่หลัง หรือคอ เพราะการเคลื่อนไหวอาจเกิดอัมพาตอย่างถาวร หรือเสียชีวิตได้

 

2) ผู้บาดเจ็บไม่สามารถ เคลื่อนที่ได้ เมื่อมีอาการของการบาดเจ็บที่คอ หรือหลังโดยให้ทำดังต่อไปนี้

 

·       บอกผู้บาดเจ็บว่าไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

 

·       หากต้องสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่หลัง, วางแผ่นรอง (แผ่นรองให้รีด หรือพับเพื่อให้สอดคล้องต่อรูปร่างที่โค้ง) ตามการโค้งธรรมชาติของหลังของผู้บาดเจ็บ ยกตัวอย่างเช่น อาจใช้ผ้าห่มใช้เป็นแผ่นรอง

 

·       หากต้องสงสัยว่า เกิดการบาดเจ็บที่คอ วางม้วนผ้าใต้คอของผู้บาดเจ็บ และใส่รองเท้าถ่วงน้ำหนัก (บรรจุ ทราย และอื่น ๆ) หรือก้อนหิน วางถ่วงไว้ทั้งสองด้านของหัว

 

 

3) ตรวจสอบแขน และขาของผู้บาดเจ็บสำหรับกระดูกหักแบบเปิด หรือปิด

 

ตรวจสอบการเกิดกระดูกหักแบบเปิด

 

·       มองหาจุดเลือดที่ออก

 

·       มองหากระดูดติดผ่านผิวหนัง

 

 

ตรวจสอบการเกิดกระดูกหักแบบปิด

 

·       มองหาการบวม

 

·       มองหาการเปลี่ยนสี

 

·       มองหาสิ่งผิดปกติ

 

·       มองหาตำแหน่งของร่างกายที่ผิดปกติ

 

 

4) หยุดการประเมิน และเริ่มต้นการรักษา ถ้าสงสัยว่าเกิดการหัก รายละเอียดจะกล่าวไว้ในบทที่ 8

 

5) ตรวจสอบสัญญาณ / อาการของกระดูกหักของพื้นที่ต่าง ๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ไหล่ หรือสะโพก และรักษาตามความจำเป็น

 

 

ขั้นตอนที่ 7 ตรวจสอบบริเวณที่มีการไหม้ ให้ดูด้วยความระมัดระวัง สังเกตได้จากผิวหนังมีรอยแดง, พอง หรือไม่เกรียม นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบจากเสื้อผ้า หากพบการไหม้ หยุดการประเมิน และเริ่มต้นรักษา (บทที่ 7 หัวข้อ 7.14)

 

 

ขั้นตอนที่ 8 ตรวจสอบการบาดเจ็บที่ศีรษะเท่าที่จะเป็นไปได้

 

1) มองหาสัญญาณ และอาการติดตามได้ดังต่อไปนี้

 

o  เห็นลูกตาดำที่ไม่เท่ากัน

 

o  ของเหลวจากหู, จมูก, ปาก หรือบริเวณที่บาดเจ็บ

 

o  พูดอ้อแอ้

 

o  เกิดความสับสน

 

o  ง่วงนอน

 

o  สูญเสียความจำ หรือสติ

 

o  เดินตุปัดตุเป๋

 

o  อาการปวดหัว

 

o  เวียนหัว

 

o  อาเจียน และ / หรืออาการคลื่นไส้

 

o  อัมพาต

 

o  ชัก หรือกระตุก

 

2) หากสงสัยว่าบาดเจ็บที่ศีรษะ ดูสัญญาณต่อเนื่องซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพการทำงานเม้าทูเม้าเพื่อช่วยชีวิต รักษาการช็อก หรือควบคุมเลือดออก และช่วยเหลือทางการแพทย์ ดูรายละเอียดในบทที่ 7

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ดี-ชั่ว ไม่ได้เป็นกรรมพันธุ์”

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา