บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 611
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 2,133
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 43,333
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,387,830
  Your IP :18.191.46.36

4.4.2 ข้อเคลื่อน

 

      การแพลง หรือข้อเคลื่อน (Dislocations) คือ การแยกกันของข้อต่อกระดูก เนื่องมาจาก กระดูกออกไปจากตำแหน่งที่มันเคยอยู่ การเอียงผิดรูปนี้จะทำให้เจ็บปวดมาก และอาจทำให้เกิดทับเส้นประสาท หรือการหมุนเวียนของโลหิตทำงานผิดปกติ ตรงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ถ้าเป็นไปได้ควรนำข้อที่เคลื่อนออกมากลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

 

รูปตัวอย่างไหล่หลุดเป็นส่วนหนึ่งของข้อเคลื่อน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      สัญญาณ และอาการที่แสดงบอกว่าเกิดข้อเคลื่อนได้แก่ การปวดข้อต่อ, จับบริเวณนั้นแล้วนิ่ม, เกิดอาการบวม, มีสีซีดจาง, มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด และมีรูปร่างผิดปกติของบริเวณข้อต่อ คุณสามารถทำให้อาการข้อเคลื่อนทุเลาลงได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ การลดต่ำ (Reduction), การตรึง (Immobilization) และการฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation)

 

รูปตัวอย่างนิ้วหลุด

 

      การลด หรือ การปรับ  (Setting) คือการวางตำแหน่งของกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเช่นดังเดิม ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้ แต่มักจะใช้วิธีดึงด้วยมือ หรือใช้น้ำหนักถ่วงเพื่อดึงกระดูก ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย และง่ายที่สุด

 

รูปการลด หรือการปรับข้อไหล่ที่หลุด

 

รูปการดึงข้อที่หลุด

 

      เพื่อลดอาการปวดของผู้ป่วย และทำให้เลือดไหลเวียนได้ พร้อมกับอวัยวะกลับมาใช้งานได้ปกติ แบบโดยไม่ได้ใช้การเอ็กซ์เรย์ (X-ray) ตรวจดู

      คุณสามารถตัดสินตำแหน่งที่เหมาะสมได้โดยการดู, ความรู้สึกของการเคลื่อนที่ของข้อต่อ และโดยทำการเปรียบเทียบกับรูปร่างของอวัยวะอีกฝั่ง

 

      การตรึง เป็นอะไรที่มากไปกว่าการเข้าเฝือก หรือดามข้อเคลื่อน ซึ่งเป็นการยึดไม่ให้อวัยวะนั้นเคลื่อนไหว จะทำหลังจากผ่านขั้นตอนการลดต่ำแล้ว คุณสามารถใช้วัสดุอะไรก็ได้สำหรับการดามเข้าเฝือก หรือคุณสามารถเข้าเฝือกที่ปลายของร่างกาย 

แนวทางพื้นฐานสำหรับการเข้าเฝือกมีดังนี้

 

รูปตัวอย่างการตรึงให้อยู่กับที่

 

รูปตัวอย่างการตรึงหัวไหล่ที่หลุดให้อยู่กับที่

 

·       เข้าเฝือกแล้วตรึงที่ด้านบน หรือด้านล่างในด้านที่หัก

 

·       เข้าเฝือกแล้วตรึง ก็เพื่อลดความไม่สบายตัว

 

·       คอยหมั่นตรวจสอบการไหลเวียนที่หักด้านล่าง หลังจากการเข้าเฝือกแล้ว

 

      การฟื้นฟูสภาพข้อที่เคลื่อน หลังจากที่เข้าเฝือกไปแล้ว 7 – 14 วัน จะค่อย ๆ ลดการบาดเจ็บของข้อต่อ จนหายเป็นปกติ

 

วิดีโอการแก้ปัญหาไหลหลุด

 

 

4.4.3 เคล็ดขัดยอก

 

      เคล็ดขัดยอก (Sprains) อุบัติเหตุจากเส้นยึดของ เอ็น หรือเส้นเอ็นเป็นสาเหตุให้เกิดการเคล็ดขัดยอก สัญญาณ และอาการที่บ่งบอก ได้แก่ การเจ็บปวด, บวม, อ่อนนิ่ม และเปลี่ยนสี (ดำ และน้ำเงิน)

 

รูปเส้นเอ็นยึดจนมีอาการเคล็ด

 

รูปข้อเท้าเคล็ด

 

เมื่อรักษาเคล็ดขัดยอกให้ทำดังนี้

 

v  พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ

 

v  ประคบด้วยน้ำแข็ง 24 ชั่วโมง แล้วก็ให้ความอบอุ่นหลังจากนั้น

 

v  ใช้ผ้ายืดพัน เพื่อให้บริเวณนั้นรัดกระชับ และ / หรือ เข้าเฝือกเพื่อช่วยสร้างความแน่นหนามั่นคง ถ้าเป็นไปได้ ไม่ต้องใส่รองเท้าในบริเวณที่เคล็ด เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้

 

v  ยกให้สูงตรงบริเวณที่เคล็ด เพื่อลดอาการบวม

 

 

รูปการรักษาการเคล็ด

 

วิดีโอตัวอย่างการปฐมพยาบาลอาการเคล็ดขัดยอก

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อย่าเป็นทุกข์ให้โง่

ทุกคนไม่ได้เกิดมา เพื่อเป็นทุกข์”

พุทธทาสภิกขุ

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา