บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,662
เมื่อวาน 1,080
สัปดาห์นี้ 5,896
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 68,822
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,709
  Your IP :3.230.162.238

4.4 การบาดเจ็บที่กระดูก และข้อต่อ

      

      คุณอาจต้องเจอปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่กระดูก และข้อต่อ ซึ่งอาจมีได้ทั้ง ร้าว, หัก, เคล็ดขัดยอก

 

รูปการบาดเจ็บจากกระดูก หรือข้อต่อ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

4.4.1 กระดูกหัก

 

      กระดูกหัก (Fractures) โดยทั่วไปแล้วการหักของกระดูก มักจะเกิดอยู่สองประเภท ได้แก่ กระดูกหักแบบเปิด และกระดูกหักแบบปิด

 

รูปกระดูกหักแบบปิด และแบบเปิด

 

วิดีโอเกี่ยวกับกระดูกหัก

 

      ในกระดูกหักแบบเปิด (หักทิ่มออกมาข้างนอก) กระดูกที่หัก ตัวกระดูกจะยื่นทิ่มออกมานอกผิวหนัง และทับซ้อนกัน จากส่วนที่หักจนแผลเกิดเปิดทิ่มออกมาข้างนอก จะใช้วิธีการดึง และดามเข้าเฝือกกระดูก

 

      ส่วนในกระดูกหักแบบปิด (หักข้างใน) แผลไม่ได้เปิดออกมา ให้ทำการตรึงยืดตามแนวกระดูก ทำการรักษา แล้วเข้าเฝือก

 

วิดีโอประเภท และกลไกการเกิดกระดูกหัก

 

รูปตัวอย่างของกระดูกที่หักข้างใน

 

รูปกระดูกหักข้างใน

 

      สัญญาณ และอาการ ที่บ่งบอกว่ากระดูกหักคือ เกิดความเจ็บปวด, บริเวณที่หักนิ่มเพราะส่วนที่เป็นกระดูกเคลื่อน หรือหายไป, เกิดการซีดจาง, เกิดการบวมผิดปกติ, สูญเสียหน้าที่การทำงาน และเวลาเคลื่อนไหวจะมีเสียงครูด (เสียง หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อกระดูกหักและปลายมันจะถูกัน)

 

      อันตรายด้วยการแตกหักของกระดูก นั่นก็คือ เกิดการขาด, การทับกันของเส้นประสาท หรือเส้นเลือดในบริเวณที่หัก ด้วยเหตุนี้ในการจัดการช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องทำด้วยความระมัดระวัง คุณจะสังเกตว่าด้านล่างของที่หัก เกิดอาการชา, บวม, เย็นเมื่อได้สัมผัส หรือเปลี่ยนเป็นสีซีด

 

      ผู้ป่วยจะแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของอาการช็อก, เส้นเลือดที่สำคัญอาจถูกตัดขาด คุณต้องควบคุมการไหลของเลือดที่ตกใน ให้ได้ อาจต้องมีการให้เลือดเพื่อทดแทนที่สูญเสียไปนั้น และอาจเกิดอาการช็อก ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มาก

 

      ในการเข้าเฝือก หรือการยึดดาม (Splinting) ในกระดูกที่หักอาจจำเป็นที่จะต้องดึงรั้งไว้ด้วยในขณะที่ทำการบำบัดรักษา การดึงกระดูกที่หัก เช่น ที่แขน หรือขา โดยการหา หรือทำไม้ง่าม แล้วก็ใช้รักแร้ กับง่ามขาเป็นตัวช่วยรั้งกระดูกในขณะเข้าเฝือก  

       

      ยกตัวอย่าง เมื่อกระดูกต้นขา (โคนขา) หัก ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเอาตัวรอด ต้องมีการทำการเข้าเฝือกชั่วคราวโดยใช้วัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ รูปด้านล่าง แล้วทำตามวิธีการดังนี้

 

รูปการดามเข้าเฝือกชั่วคราว

 

Ø  นำง่ามไม้สองง่าม หรือวัสดุที่เป็นแท่งอื่น ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ความยาววัดจากรักแร้ของผู้ป่วยมาถึงปลายขา แล้วบวกความยาวไปอีก 20 – 30 เซนติเมตร อีกด้านวัดจากขาหนีบในส่วนขาที่ไม่หัก แล้วบวกความยาว 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อนำมาดามไม้ควรที่จะมีระยะที่ปลายเท่ากัน

 

Ø  หาไม้คานรั้งด้านล่างยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร พาดด้านล่างของไม้ง่ามทั้งสอง แล้วใช้เชือก หรืออื่น ๆ พันยึดติดกับไม้ง่าม

 

Ø หาเส้นวัสดุใช้มัด เช่น เชือก, เถาวัลย์, ผ้า, หนัง ฯลฯ ผูกรอบ ๆ ส่วนบนของร่างกาย และไล่ลงมาตามความยาวของขาที่หัก เพื่อใช้เป็นเฝือกดามชั่วคราว

 

Ø หาเส้นวัสดุที่เป็นเชือก พันรอบ ๆ ข้อเท้า แล้วยึดกับคานรั้งด้านล่าง เพื่อจะทำเป็นตัวดึงยืดขาที่หัก

 

Ø ใช้แท่งไม้ยาว 10 เซนติเมตร ขนาด 2.5 เซนติเมตร ทำการขันชะเนาะเชือกที่พันรอบเท้า เพื่อดึงยืดขา โดยใช้แท่งไม้ บิดเชือก จนเชือกเกิดแรงดึงรั้ง ยืดขา

Ø ให้ทำการหมุนบิดไม้ขันชะเนาะอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งกระดูกขาที่หักยืดตัว โดยให้ยาวกว่าขาที่ไม่หักเพียงเล็กน้อย

 

Ø ยึดแท่งไม้ที่ขันชะเนาะ หาอะไรมามัดไม่ให้คลายตัว เพื่อตรึงแรงดึงที่ยืดไว้

 

วิดีโอการดามเข้าเฝือกขาที่หักชั่วคราว

 

วิดีโอการดามเข้าเฝือกขาที่หักชั่วคราว อีกวิธี

 

หมายเหตุ เมื่อเวลาผ่านไป เชือก หรือไม้อาจจะหย่อนก็ได้ ให้ทำการหมุนขันชะเนาะเข้าไปอีก แล้วให้ตรวจสอบการดึงเป็นระยะ ๆ

        ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมไม้ดาม หรือเชือก ควรที่จะรักษาการดึงยืดขาไว้ก่อน เช่น อาจใช้มือช่วยดึง หรือรั้งกับต้นไม้ไว้ก่อน เป็นเวลาสั้น ๆ จนกว่าจะเปลี่ยน หรือซ่อมแซมเสร็จ

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“พ่อแม่ ให้ชีวิต

บทเรียน สอนชีวิต

ส่วน ตัวเรา เป็นผู้ลิขิตชีวิต”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา