บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,411
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,516
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,442
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,329
  Your IP :3.229.124.236

 

      เซลล์ทุติยภูมิ เป็นเซลล์ที่สามารถนำมาประจุใหม่โดยการใส่แรงดันไฟฟ้าเข้าไป ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่กรดตะกั่วที่ใช้ในรถยนต์ ดูที่รูป

 

 

รูปแบตเตอรี่รถยนต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

มันมี 6 ช่อง ช่องละประมาณ 2 โวลต์ เชื่อมต่อกันแบบอนุกรม แต่ละเซลล์จะมีแท่งอิเล็กโทรดขั้วบวกของตะกั่วเปอร์ออกไซด์ (Lead peroxide: PbO2) และขั้วลบของ ตะกั่วพรุน (Spongy lead: Pb) แยกขั้วกัน มีพลาสติก หรือยางกั้น และจุ่มแช่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ของ กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid: H2SO4) และน้ำกลั่น (Distilled water: H2O) ซึ่งเป็นการปล่อยประจุ

 

 

รูปภายในของแบตเตอรี่รถยนต์

 

      กรดซัลฟิวริกผสมกับตะกั่วซัลเฟต (Lead sulfate) และอิเล็กโทรไลต์จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำ การที่จะทำการประจุใหม่จะต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงที่มีค่ามากกว่าการผลิตโดยเซลล์แบตเตอรี่มาประจุชาร์จ เช่น แบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ ถ้าจะประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ต้องใช้แรงดันไฟฟ้า 13 โวลต์ขึ้นไปถึงจะประจุชาร์จเข้า   

 

      ซึ่งกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเซลล์ มันจะเปลี่ยนขั้วไฟฟ้ากลับกลายไปเป็น ตะกั่วเปอร์ออกไซด์ และตะกั่วพรุน และเปลี่ยนกลับไปเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นกรดซัลฟิวริก และน้ำ เซลล์ประเภทนี้เป็น เซลล์เปียก (Wet cell)

 

 

รูปตัวอย่างแบตเตอรี่นิกเกิล แคดเมียม

 

      ส่วนประเภทอื่น ๆ ของเซลล์ทุติยภูมิ คือ เซลล์นิกเกิลแคดเมียม (Nickel-Cadmium: Ni-Cad) รูปด้านบน นี้เป็นเซลล์แห้ง (Dry cell) มันสามารถนำมาประจุชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง และประจุของมันยังคงอยู่ได้เป็นเวลานาน มันประกอบไปด้วยอิเล็กโทรดขั้วลบ กับขั้วบวก, ตัวกั้นแยก (Separator), อิเล็กโทรไลต์ และตัวถัง

 

 

รูปภายในของแบตเตอรี่นิกเกิลแคดเมียม

 

      อิเล็กโทรดประกอบไปด้วยผงของนิเกิล ในนิกเกิลบนลวดนิกเกิล ซึ่งเคลือบด้วยสารละลายเกลือนิกเกิลสำหรับขั้วอิเล็กโทรดขั้วบวก และสารละลายเกลือแคดเมียมสำหรับอิเล็กโทรดขั้วลบ ตัวกั้นแยกทำมาจากวัสดุฉนวนดูดซับ อิเล็กโทรไลต์คือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ส่วนตัวถังทำมาจากเหล็กกล้า และมีการปิดผนึกซีลแน่น แรงดันไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์คือ 1.2 โวลต์

 

      ความสามารถของแบตเตอรี่เพื่อที่จะจ่ายกำลังงานได้อย่างต่อเนื่อง ถูกแสดงออกมาในรูปของ แอมแปร์-ชั่วโมง (Ampere-hours: Amp-hr)

 

      ยกตัวอย่างเช่น อัตราแบตเตอรี่ที่ 100 แอมแปร์-ชั่วโมง หมายความว่า มันสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 100 แอมป์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง (100 ´ 1 =100 Amp-hr) หรืออีกทางหนึ่งคือ เมื่อใช้กระแสไฟฟ้า 1 แอมป์ สามารถจ่ายได้นานถึง 100 ชั่วโมง (1 ´ 100 =100 Amp-hr)

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ไม่มีอะไรสำเร็จ

หากว่าคุณไม่ได้ลงมือทำ”

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา