บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 424
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,654
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 34,889
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,386
  Your IP :3.144.251.72

20 สุญญากาศ

 

สุญญากาศ (Vacuum)

 

 

รูปวาดตอร์ริเซลลิ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

      ตอร์ริเซลลิ (Torricelli) (พ.ศ. 2151 -2190) นักฟิสิกซ์ชาวอิตาลี เป็นผู้ประดิษฐ์ บาร์โรมิเตอร์ (Barometer)

 

 

รูปตัวอย่างบารอมิเตอร์

 

เขาศึกษาเทคนิคของสุญญากาศ โดยการทดลองของเขาในการดำรงอยู่ของความดันเนื่องมาจากอากาศ เขาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของปาสคาล (Pascal) (พ.ศ. 2166 -2205)

 

      เขาได้ทำการวิจัยต่อโดยแสดงให้เห็นถึงการลดลงของความกดอากาศที่ระดับที่แตกต่างกัน แต่ทว่า บอยล์ (Boyle) (พ.ศ. 2145 -2229) กลับเป็นคนแรกที่ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ทางกลคือปั๊มสุญญากาศเป็นครั้งแรก

 

 

 

รูปตัวอย่างปั๊มสุญญากาศในงานไครโอเจนิกส์

 

 

      คำนิยามของสุญญากาศ สุญญากาศเป็นพื้นที่ควบคุมที่ไม่มี ก๊าซ หรือไอ นี้คือแนวคิดในทางอุดมคติ  แต่ในความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้ที่จะทำสุญญากาศได้ 100 % อย่างมากก็ทำได้แค่ให้มีอากาศให้เหลือน้อยที่สุด

 

 

รูปเจมส์ เดวอร์

 

      เจมส์ เดวอร์ (James Dawar) (พ.ศ. 2391 - 2466) เป็นคนแรกที่ใช้ฉนวนสุญญากาศ ในการประดิษฐ์ของเขา สร้างเป็นกำแพงแก้ว 2 ชั้นช่องว่างระหว่างกำแพงแก้วนั้น จะมีสุญญากาศที่มีค่าความกดอากาศสูงอยู่

 

      กำแพงแก้วที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะนำไปใช้ในห้องแล็บวิจัย กำแพงสุญญากาศนี้ ทำหน้าที่เป็นฉนวนอย่างดี ป้องกันความร้อนที่ไหลได้ เรียกว่า ดีวอร์ (Dewar)

     

      ดีวอร์ ออกแบบภาชนะของเขาหลังจากที่ได้ศึกษาในปีทศวรรษ 1820 การวิจัยของดูลอง (Dulong) และ เปติด (Petit) เป็นผู้ซึ่งค้นพบคุณสมบัติของฉนวน 2 ข้อ ได้แก่

 

1. ไม่มีส่งถ่ายความร้อนแบบ พาความร้อนระหว่างกำแพงเมื่อก๊าซเกิดความดันที่ต่ำพอ

 

2. การปล่อย หรือการดูดซึม การแผ่รังสีความร้อน จากผิวหน้าของวัสดุจะขยายกระจายมากขึ้น ขณะที่การสะท้อนกลับก็มีมากขึ้น

 

 

      ฉนวนสุญญากาศ ที่กล่าวไว้ข้างต้นทำงานได้เกือบจะสมบูรณ์ โดยมันมีการสุญเสีย การการส่งถ่ายความร้อน เกี่ยวกับ การนำ และการพา น้อย แล้วที่น้อยที่สุดก็คือ การแผ่รังสีความร้อน และการนำความร้อนโดยผ่านฉนวนสุญญากาศได้ผลมีประสิทธิภาพดี

        

ระบบสุญญากาศความดันสูง โดยทั่วไปประกอบไปด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่

1.             ปั๊มทางกล เรียกว่าปั๊มส่วนหน้า ซึ่งถ่ายเทออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และรักษาความดันขาเข้า ให้อยู่ในช่วงค่าหนึ่ง คืออยู่ที่ 100 ไมครอน ของปรอท

 

2.             ท่อทาง การต่อท่อ จากปั๊มแล้วกระจายไปยังอุปกรณ์ทำงานส่วนต่าง ๆ  

 

3.             ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ต่อเข้าสู่ปั๊มเพื่อให้ถ่ายเทออก

 

4.             บางครั้งจะมีปั๊มขั้นที่สอง เรียกว่า บูตเตอร์ปั๊ม (Booster pump) ที่นำมาใช้ระหว่างปั๊มการกระจายความดันสูง (ชุดดิฟฟิวเซอร์ (Diffusion Pump)) และปั๊มทางกล (Mechanical Pump)

 

5.              ตัวกับดักความเย็น เพื่อป้องกัน หรือกำจัดการควบแน่นของไอน้ำ

 

 

รูปแสดงระบบการทำสุญญากาศอย่างง่าย

 

 

ยังคงมีปั๊มสุญญากาศอีกหลายชนิดที่นำมาใช้งาน อาทิเช่น  ปั๊มดิฟฟิวชั่น, ปั๊มไอออน (Ion pump), ปั๊มไครโอเจนิกส์ (Cryogenic pump) และปั๊มดึงดูดโมเลกุลแบบเทอร์โบ (Turbo-molecular drag pump)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“สติ

ทำเรื่องใหญ่ ๆ ให้เป็นเรื่องเล็ก  

อคติ

ทำเรื่องเล็ก ๆ ให้เป็นเรื่องใหญ่  ”

 

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา