บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,155
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 10,433
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 51,633
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,396,130
  Your IP :18.191.234.191

16.5.3 การอบอ่อน (Annealing) โลหะ หลังจากการขึ้นรูปเย็น

 

      ในการรีดงานโดยวิธีงานขึ้นรูปเย็น เพื่อลดขนาดของชิ้นงาน ไม่ได้มีเพียงวิธีเดียวที่ทำได้ แต่มันยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธี ที่ช่วยเพื่อลดขนาดความหนา

 

      ในการลดขนาดชิ้นงานอลูมิเนียมแท่งที่ถูกรีดด้วยความร้อนจากความหนา 6.35 mm (0.250²)ลดลงเหลือ 1 mm (0.040²) หรือน้อยกว่านั้น เพียงครั้งเดียวสามารถทำได้ แต่ถ้าบางมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อ การเกิดรอยแยกเล็ก ๆ ที่เกิดจากการโค้งงอ

 

      ขั้นสุดท้ายของงานขึ้นรูปเย็น ก็คือการนำไปอบอ่อน เพื่อให้โลหะมีความยืดหยุ่นตัว ลดความเครียดภายในชิ้นงาน เกิดความอ่อนนุ่ม การอบอ่อนได้อธิบายไว้แล้วใน บทที่ 12

 

 

 

รูปการอบอ่อนอลูมิเนียม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ขั้นตอนกระบวนการอบอ่อน โลหะจะนำไปสู่เตาอบ และถูกให้ความร้อน อุณหภูมิจะสูงตามชนิดวัสดุ แต่จะไม่สูงเกินกว่าจุดหลอมเหลวของวัสดุนั้น ให้ความร้อนในเวลาหนึ่ง และปล่อยเย็นตัวอยู่ในเตาอบจนกระทั่งชิ้นงานมีเย็นตัวอยู่ที่อุณหภูมิห้อง

 

      เวลาที่ใช้ในการอบอ่อน จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับอุณหภูมิที่ใช้อบอ่อน เป็นสัดส่วนกัน การให้ความร้อน และทำให้เย็นก็ขึ้นอยู่เฉพาะแต่ละวัสดุ ระยะเวลาในการทำงานอาจเป็นหนึ่งชั่วโมง หรือยาวนานกว่านั้นในเตาอบ

 

      เมื่อให้อุณหภูมิสูงใกล้จุดหลอมเหลวมากเท่าใด เวลาที่ใช้ในการอบอ่อนจะสั้นกว่ามาก  ยกตัวอย่างทองแดงผสมให้ความร้อนในเตาอบ ที่อุณหภูมิประมาณ 93.3 °C (200 °F) ต่ำกว่าจุดหลอมเหลว การอบอ่อนใช้เวลาน้อยกว่า 2 นาที

 

      โลหะที่ผ่านงานขึ้นรูปเย็น และการอบอ่อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอะตอมในโลหะขึ้น ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปเย็น โลหะก็จะมีผลึกที่สมบูรณ์รูปแบบหนึ่ง

 

      เมื่อผ่านการขึ้นรูปเย็น แรงที่ใช้จะทำให้เกิดการไถลเกิดขึ้นในระนาบวัสดุทันที ระนาบจะไถลตัดกันกับระนาบอื่น เมื่อเสร็จกระบวนการขึ้นรูปเย็น อะตอมจะกลับคืนไปสู่รูปแบบเดิม โครงสร้างก็จะเป็นผลึกที่สมบูรณ์เหมือนเดิม

 

 

รูปอลูมิเนียมที่ถูกส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

 

      วัสดุที่ผ่านการอบอ่อนแล้ว พื้นที่ของผลึกที่เรียกว่า เกรน และขอบเขตของเกรนนั้น เราจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน โดยการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่อัตราการขยาย 100 เท่า งานขึ้นรูปเย็นทำให้วัสดุเกิดการขยายยืด และมีการโค้งงอของผลึก หลังจากการอบอ่อนแล้ว จะเกิดรูปแบบเกรนใหม่ และโครงสร้างที่ได้ จะเหมือนรูปแบบเดิม โครงสร้างเกรนจะมีความสมบูรณ์

 

 

รูปการตรวจดูโครงสร้างอลูมิเนียมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“การทำลายคนหนึ่งคน

แค่ใช้คำพูดเพียงคำเดียว ก็เพียงพอแล้ว

แต่ถ้าปั้นคนหนึ่งคน

ต้องใช้คำพูดเป็นร้อย เป็นพันคำ”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา