บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 70
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,658
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,893
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,390
  Your IP :3.142.197.212

15.5.8.1 ข้อดีของการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ

 

      การทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ มีข้อดีมากมาย มากกว่ากระบวนการเคลือบผิวแข็งแบบอื่น ๆ ทั้งหมด วิธีนี้ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด ชิ้นงานไม่ต้องการทำความร้อนมาก่อน และกระบวนการเหนี่ยวนำสามารถสร้างความร้อนได้ภายใน 5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น จึงทำให้ต้นทุนต่อหน่วยค่อนข้างต่ำ

 

       

รูปเฟืองโซ่จากวิธีการชุบผิวแข็ง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

      เหมาะกับชิ้นงานที่มีรูปร่างแปลก ๆ สามารถนำมาทำด้วยการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำได้ กระแสไฟฟ้าที่ผิวสามารถแทรกซึมเข้าไปในรอยแตก และรูได้ อีกทั้งยังซึมลึกเข้าไปเนื้อรอยแตกได้อีกด้วย

 

      ความหนาที่ชิ้นงาน ก็สามารถควบคุมได้แม่นยำมากกว่ากระบวนการอื่น โดยความซึมลึกสามารถควบคุมโดยการปรับความถี่, ปรับกระแส และเวลาของขดลวดที่สัมผัสกับชิ้นงาน การให้ความถี่สูง จากการป้อนกระแสไฟฟ้าที่มาก มักมีผลต่อพื้นผิวภายนอกเท่านั้น

 

      การทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ ปกติทั่วไป นำมาใช้กับงานบาง แต่ในงานที่หนาก็สามารถสร้างการซึมลึกได้ถึง 3.2 มิลลิเมตร(1/8²) การปล่อยกระแสไฟฟ้าสัมผัสกับผิวงานที่ยาวนาน และป้อนที่ความถี่ต่ำกว่าได้

 

 

รูปการชุบผิวแข็งเฟืองโซ่

 

       การทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ ไม่ค่อยทำให้ชิ้นงานเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เช่น เกิดการบิดตัว, ออกซิเดชัน และขนาดลด เนื่องมาจากการให้ความร้อนใช้เวลาทำงานที่สั้น และสามารถให้เฉพาะบริเวณที่ต้องการความร้อนเท่านั้น

 

      กระบวนการนี้ สามารถสร้างความแม่นยำได้สูง แม้แต่จะให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เชี่ยวชาญในการควบคุมเครื่องมาทำงานก็ตาม แต่กระนั้นก็ดี การติดตั้งสถานที่ติดตั้ง ยังต้องใช้ผู้มีประสบการณ์มาก และมีความรู้ทางด้านเทคนิคเป็นอย่างดีมาเตรียมการให้ก่อน

 

      การเตรียมชิ้นงาน เพื่อนำมาใช้ในการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ การทำความสะอาด และความเรียบร้อยของชิ้นงาน สามารถทำน้อยกว่าทุก ๆ วิธีที่กล่าวมา

 

 

 

15.5.8.2 ข้อเสียของการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ

 

      ข้อเสียหลัก ๆ ของการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำก็คือต้นทุนของเครื่องจักร และวัสดุที่ต้องการในกระบวนการ มีราคาแพงมาก เพราะไม่ต้องมีคาร์บอน หรือไนโตรเจนมาใช้กับชิ้นงาน ส่วนชิ้นงานที่นิยมใช้มากที่สุดคือ เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง คาร์บอน 0.35% - 0.60% นิยมใช้วิธีการนี้กันมากที่สุด

 

      ในค่าความแข็ง ที่ได้จากการทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ จะขึ้นอยู่กับคาร์บอนที่ผสมในเนื้อเหล็กกล้า เพราะฉะนั้น ค่าความแข็งจะสูงไม่มากหากใช้กับชิ้นงานเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนต่ำ แต่จะดีกับเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนสูง เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนผสมสูงพิเศษ

 

 

 

 

15.6 การเลือกใช้กระบวนการชุบผิวแข็ง

 

 

รูปการชุบผิวแข็ง

 

      ในแต่ละกระบวนการชุบผิวแข็งที่กล่าวมานั้นมีทั้งข้อดี และข้อเสียในแต่ละกระบวนการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความพอใจที่จะเลือกใช้ และจำนวนที่ต้องการชุบผิวแข็ง รวมไปถึงความเร็ว ความแม่นยำ และความลึกของผิวที่ชุบ รูปร่าง และขนาดของชิ้นงาน และอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ที่จะทำ การชุบผิวแข็ง

 

 

รูปการชุบผิวแข็งบู๊ซ แบบเคสฮาร์เดนนิ่งเพื่อให้ทนทานต่อการสึกหรอสูง

 

      ตารางด้านล่าง เป็นการสรุปข้อเปรียบเทียบของข้อดี และข้อเสียของแต่ละกระบวนการ แต่โปรดจำไว้ว่าตารางนั่น เป็นเพียงค่าเฉลี่ยแต่ละแบบ ที่มีการปรับปรุงเล็ก ๆ น้อย ๆ กระบวนการชุบผิวแข็งสามารถประยุกต์ใช้งานได้ตามแต่ละการใช้ประโยชน์

 

ตารางเปรียบเทียบกระบวนการชุบผิวแข็ง

กระบวนการชุบผิวแข็ง

การเติมธาตุที่ผิว

ลำดับความแข็ง

อุณหภูมิการให้ความร้อน

อันตรายของกระบวนการ

ต้นทุนเครื่องจักร และอุปกรณ์

ต้นทุนต่อหน่วย (ปริมาณสูง)

ต้นทุนต่อหน่วย(ปริมาณต่ำ)

ความจำเป็นการชุบแข็ง หลังจากการทำผิวแข็ง

แนวโน้มการบิดตัว

ความสามารถการกลึง กัด ไส หลังจากขั้นตอนแรก

การควบคุม และความแม่นยำของ กระบวน

ความลึกผิวเคลือบเฉลี่ยเมื่อเวลาผ่านไป

คาร์บูไรซิ่งกลุ่ม

คาร์บอน

4 (tie)

สูง

ออสเตนไนต์ 815° C - 982° C (1500°F - 1800°F)

อันตรายมีน้อย

ต่ำมาก

สูง

ต่ำมาก

จำเป็น

เกิดขึ้นบางครั้ง

ได้

ต่ำ

0.010 (ในชั่วโมงแรก)

คาร์บูไรซิ่งก๊าซ

คาร์บอน

4

สูง

ออสเตนไนต์ 815° C - 982° C

ก๊าซพิษปานกลาง

สูง

(จำเป็นต้องใช้เตา)

ต่ำ

สูง

จำเป็น

เกิดขึ้นบางครั้ง

ได้

ดี

0.013 (ในชั่วโมงแรก)

คาร์บูไรซิ่งของเหลว

คาร์บอน

4

สูง

ออสเตนไนต์ 815° C - 982° C

ความเป็นพิษปานกลาง

ปานกลาง

ปานกลาง

ปานกลาง

จำเป็น

เกิดบางครั้ง

ในบางกระบวนการ

ดี

0.018 (ในชั่วโมงแรก)

ไนไตรดิง

ไนโตรเจน

1 แข็งสุด

ต่ำสุด

482° C - 537° C (900°F - 1000°F)

ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม

สูง

(จำเป็นต้องใช้เตา)

ปานกลาง

สูง

ไม่จำเป็น

เล็กน้อยมาก

ยาก

ดีมาก

0.010 (ใน 10ชั่วโมงแรก)

คาร์บอนไนไตรดิง

คาร์บอน และไนโตรเจน

2

ต่ำ

760° C - 926° C (1400°F - 1700°F)

ก๊าซพิษปานกลาง

สูง

(จำเป็นต้องใช้เตา)

ต่ำ

สูง

จำเป็น

น้อย

ยาก

ดี

0.008 (ในชั่วโมงแรก)

ไซยาไนต์ดิง

คาร์บอน และไนโตรเจน

2

ต่ำ

760° C - 926° C

เกิดควันพิษมาก

ปานกลาง

ปานกลาง

ต่ำ

จำเป็น

น้อย

ยาก

ดี

0.010 (ในชั่วโมงแรก)

การชุบผิวแข็งด้วยเปลวไฟ

ใช้เพียงความร้อน

8 ความแข็งขึ้นอยู่กับวัสดุ

สูงมาก (เหนือแนวเส้นการเปลี่ยนรูปด้านสูง)

ระมัดระวังเปลวไฟ

ต่ำ

สูง

(ปราศจากอัตโนมัติ)

ต่ำ

จำเป็น

ได้

ยาก

ต่ำ

ความลึกได้ทันที

(ให้ความหนาถึง 1/4²)

การชุบผิวแข็งด้วยการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า

ใช้เพียงความร้อน

7 ความแข็งขึ้นอยู่กับวัสดุ

สูงมาก (เหนือแนวเส้นการเปลี่ยนรูปด้านสูง)

ระมัดระวังอุปกรณ์

สูง

(จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า)

ต่ำสุด

เปลี่ยนแปลงได้

จำเป็น

น้อย

ยาก

กระบวนการมีความแม่นยำสูง

ความลึกได้ทันที

(ให้ความหนาได้บางมาก

 

 

 

จบบทที่ 15 จบเรื่องของเหล็ก พบกันคราวหน้าจะกล่าวถึง ภาค 4 โลหะวิทยาที่ไม่ใช่เหล็ก โปรดติดตามตอนต่อไป

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“การเริ่มต้น เป็นเรื่องยาก

แต่ ก้าวต่อไปนั้นยากยิ่งกว่า”

ถกลเกียรติ วีรวรรณ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา