บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,549
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 6,145
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 34,380
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,378,877
  Your IP :18.224.32.86

15.5.8 การชุบผิวแข็งด้วยการเหนี่ยวนำจากกระแสไฟฟ้า

 

      เป็นอีกวิธีหนึ่งของวิธีการแบบจำกัดวงความร้อน คือ การทำความแข็งด้วยการเหนี่ยวนำ เรียกได้ว่า การทำผิวแข็งด้วยเปลวไฟระดับสูง คล้ายกับการทำผิวแข็งด้วยเปลวไฟ ทำเฉพาะพื้นผิวด้านนอกเท่านั้น เป็นการให้ความร้อนเกินอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ไม่มีการเติมคาร์บอน และไนโตรเจนเพิ่มเข้าไป

 

 

รูปการชุบผิวแข็งด้วยวิธีการทางไฟฟ้า

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

      ความแตกต่างระหว่างการทำผิวแข็งด้วยเปลวไฟ และการทำความแข็งด้วยการเหนี่ยวนำ ก็คือการไหลซึมลึกของความร้อน และวิธีการให้ความร้อน ในการทำความแข็งด้วยการเหนี่ยวนำ โดยมีคอยล์ขดลวดพันอยู่รอบชิ้นงานบริเวณที่ต้องการให้แข็ง คอยล์ให้ความร้อนเป็นเส้นปฐมภูมิที่พันรอบหม้อแปลง ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการชุบแข็งด้วยวิธีการเหนี่ยวนำไฟฟ้า

 

 

 

รูปกระบวนการทำความแข็งเหนี่ยวนำ สนามแม่เหล็กปล่อยออกมาจากขดลวดเหนี่ยวนำ ตัดผ่านพื้นผิวของชิ้นงาน เส้นที่บรรจบกัน อธิบายถึงภาคตัดที่เริ่มทำความแข็งยาวตลอดชิ้นงาน ลูกศรที่ชี้ช่องในคอยล์เหนี่ยวนำกระทำตรงกลางการชุบแข็ง ทำให้ชิ้นงานร้อนขึ้น

 

 

      การชุบแข็งด้วยการเหนี่ยวนำ จะใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูง 3,000 Hz – 1,000,000 Hz ผ่านคอยล์ จนเกิดสนามแม่เหล็กรอบ ๆ ชิ้นงาน การเกิดกระแสเหนี่ยวนำนี้ในชิ้นงาน เกิดจากความต้านทานไฟฟ้าของชิ้นงานจนทำให้เกิดความร้อน

 

 

รูปการชุบผิวแข็งฟันเฟือง

 

      เพราะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ผลกระทบพื้นผิว (Skin effect) กระแสและความร้อนจะอยู่ที่ด้านนอกของผิวของเหล็กกล้าเท่านั้น เมื่อพื้นผิวของชิ้นงานได้รับความร้อนเพียงพอแล้ว มันจะถูกนำไปชุบแข็งในน้ำหรือในน้ำมัน

 

 

รูปการชุบผิวแข็งฟันเฟืองจากการเหนี่ยวนำ

 

การทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ ใช้ประโยชน์กว้างขวางมาก การทำความแข็งแบบเหนี่ยวนำ มักใช้ในกรณีของการเคลือบผิวแข็งของเฟือง และฟันเฟืองโซ่, เพลาปั๊ม, ลูกเบี้ยว, เพลาข้อเหวี่ยง, ก้านลูกสูบ, แกนล้อ, แบริ่งลูกปืน, ข้อต่อโซ่ และชิ้นส่วนของอาวุธปืน

 

 

รูปการชุบผิวแข็งด้วยการเหนี่ยวนำในเพลาข้อเหวี่ยงเรือเดินสมุทร

 

 

วิดีโอการชุบผิวแข็งเพลาลูกเบี้ยว ด้วยการเหนี่ยวนำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จะหาเท่าไร มันก็เท่านั้น

สมบัติในโลก

สุดท้าย มันก็ต้องคืนให้กับโลก

จะเอาอะไรนักหนา

เอาเท่าที่ได้ พอใจเท่าที่มี

 

เท่านั้น พอ”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา