บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,584
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 3,106
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 44,306
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,388,803
  Your IP :18.221.187.121

15.5.6 ไซยาไนต์ดิง

 

      ไซยาไนต์ดิง (Cyaniding) (คาร์บอนไนไตรดิงของเหลว) เป็นรูปแบบของการทำคาร์บอนไนไตรดิงโดยการใช้ของเหลวแทนที่จะใช้ก๊าซเพื่อปกคลุมพื้นผิวเหล็กกล้า ด้วยคาร์บอน และไนโตรเจน เป็นพื้นฐานการใช้ในงานที่ต้องการความแข็ง เพื่อการเคลือบผิวบาง ให้ได้อย่างรวดเร็ว

 

 

      การทำวิธีไซยาไนต์ คล้ายกันกับคาร์บูไรซิ่งเหลวที่นำไปใช้ในอ่างเกลือ และให้ความร้อนแก่เหล็กกล้า

 

 

รูปตัวอย่างเตาหลอมก๊าซไฟ (Gas-fired furnace) ใช้ในวิธีการไซยาไนต์, คาร์บูไรซิ่งเหลว หรือวิธีการปรับสภาพทางความร้อนอื่น ๆ ที่ต้องการหลอมเหลวในอ่างเกลือ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ดูที่รูปด้านบน อ่างเกลือจะบรรจุของเหลวที่ใส่ไปเพื่อทำการหลอมเหลวจนเป็นเกลือไซยาไนต์ เช่น โซเดียมไซยาไนต์, แคลเซียมไซยาไนต์ หรือโพแทสเซียมไซยาไนต์  ในโซเดียมไซยาไนต์ จุดหลอมเหลวอยู่ที่ 615°C (1140°F) ดังนั้น มันจะอยู่ในสถานะของเหลวเมื่อเหล็กกล้าร้อน

 

      ผลที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผิวเคลือบได้บางมาก จากการทำไซยาไนต์ใน 30 นาทีแรกของการทำให้แข็งโดยคาร์บอน และไนโตรเจน เกิดแทรกซึมในพื้นผิวเหล็กกล้าให้ความหนาผิวเคลือบ 0.127 มิลลิเมตร (0.005²) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในอ่างเกลือ และชนิดของวัสดุ

 

      หลังจากผ่านไปแล้ว 30 นาที จะไม่ค่อยเกิดการแทรกซึมเพิ่มขึ้น ดังนั้น วิธีการไซยาไนต์มักจะไม่ค่อยนำไปใช้ในการเคลือบผิวที่มีความหนาเกินกว่า 0.254 มิลลิเมตร (0.010²) ทันทีที่ไนโตรเจนถูกเติมเข้าไปที่พื้นผิว ผิวที่ถูกเคลือบสุดท้ายจะมีความแข็งมาก เมื่อนำไปวัดค่าความแข็งสามารถวัดค่าได้ถึง 65 Rc

 

รูปถังอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการไซยาไนต์

 

      มีการใช้ถังความร้อน ถึงสามถังที่นำมาใช้ในวิธีการไซยาไนต์ ถังของเหลวถังแรกใช้ในการให้ความร้อนเบื้องต้นแก่ชิ้นงาน  ถังที่สองจะบรรจุสารละลายเกลือโซเดียมไซยาไนต์  30%  เพื่อใช้ในการเคลือบผิวแข็ง อ่างที่สามใช้สำหรับการชุบแข็ง

 

 

รูปการนำไปชุบแข็ง

 

      โดยปกติ หลังจากผ่านวิธีการไซยาไนต์แล้ว ชิ้นงานจะนำไปชุบแข็งโดยทันทีทันได ส่งผลให้ชิ้นงานเกิดความแข็ง เนื่องจากไนโตรเจน การชุบแข็งในชิ้นงานที่มาจากวิธีไซยาไนต์ มักจะนำไปชุบด้วยน้ำมัน มากกว่าน้ำ เพราะป้องกันชิ้นงานเกิดการบิด และร้าวตัว 

 

 

 

15.5.6.1ข้อดีของวิธีไซยาไนต์

 

      วิธีไซยาไนต์ มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการชุบผิวแข็งแบบอื่น แล้วอีกอย่างสามารถนำมาใช้กับเหล็กกล้าคาร์บอนปกติได้ เนื่องจากเกิดกระบวนการจะเกิดความเร็วอย่างเหมาะสม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่ต้องการเคลือบผิวบาง

 

 

15.5.6.2ข้อเสียของวิธีไซยาไนต์

 

      วิธีไซยาไนต์ เป็นกระบวนการที่อันตรายมาก เกลือไซยาไนต์เป็นยาพิษ ไอระเหยสามารถทำให้ถึงตายได้ ถ้าสูดดมเข้าไป ดังนั้นพื้นที่รอบ ๆ ต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี

 

รูปสารพิษไซยาไนต์

 

      การดูแลอย่างถูกต้อง และความปลอดภัยต้องคำนึงถึงเสมอ เมื่อวัสดุถูกทำด้วยวิธีไซยาไนต์ ถ้าของเหลวจากอ่างเกลือทำการสัมผัสกับร่างกาย หรือทำให้เกิดบาดแผล ผลของมันสามารถทำให้เกิดความร้ายแรงมากทีเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าคุณเกิดมาจน มันไม่ใช่ความผิดของคุณ

แต่ถ้าตอนที่คุณตาย คุณยังจนอยู่

นั่นแหละ เป็นความผิดของคุณ

 

If you born poor it’s not your mistake

But if you die poor it’s your mistake

Bill Gates

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา