บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 716
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,375
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,610
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,107
  Your IP :3.149.234.141

15.5.4 ไนไตรดิง

 

      ไนไตรดิง คือกระบวนการชุบผิวแข็งโดยการรมแก๊ส เติมเคลือบที่ผิวนอกของชิ้นส่วนเหล็กกล้าด้วยไนโตรเจน แก๊สไนโตรเจนมีการใช้งานมากที่สุดในกระบวนการ ก็คือ สารแอมโมเนีย (Ammonia: NH) เมื่อไนโตรเจนแทรกซึมพื้นผิวของชิ้นส่วนเหล็กกล้า ประเภทที่มากมายของรูปแบบเหล็กในไตร ส่วนประสมเหล่านี้ให้ความแข็งมาก ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปชิ้นงานกระทำด้วยไนไตรดิง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปเพลาข้อเหวี่ยงผ่านกระบวนการไนไตรดิง

 

 

 

รูปผังกระบวนการไนไตรดิง

 

 

 

รูปอุปกรณ์เครื่องจักรในกระบวนการไนไตรดิง

 

 

รูปภายในเตา

 

 

รูปการไนไตรดิง

 

วิดีโอการทำไนไตรดิง

 

ไนไตรดิงจะทำงานอยู่ในห้อง หรือเตากันรั่ว (Sealed) แล้วทำให้ห้องเกิดความร้อน แอมโมเนียจะเข้าผ่านไปภายห้อง หลังจากที่ทำไนไตรดิง ชิ้นส่วนจะมีความแข็ง และอาจไม่ต้องนำไปชุบแข็งอีก

 

      ไนไตรดิง เป็นที่นิยมใช้มากอย่างกว้างขวางในกระบวนการชุบผิวแข็ง ข้อดี และข้อเสียของการทำไนไตรดิง มีดังนี้

 

 

 

15.5.4.1 ข้อดีของการทำไนไตรดิง

 

      ข้อดีของการทำไนไตรดิงจะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ด้านล่างนี้เป็นข้อดีของการทำไนไตรดิง

 

·       ความแข็ง กระบวนการชุบผิวแข็งทั้งหมด กระบวนการไนไตรดิงจะเคลือบเหล็กให้มีความแข็งมากที่สุด ค่าความแข็งวัดได้อยู่ที่เกินกว่า 70 ร็อคเวลสเกล ซี

 

·       ความแข็งจะเกิดขึ้นทันที ไม่นานนักไนโตรเจนจะเข้าไปจับกับพื้นผิว เคลือบผิวด้านนอกให้แข็ง ไม่ต้องนำไปทำความร้อนซ้ำ หรือนำไปชุบแข็งอีกรอบ ซึ่งเป็นกรณีคล้ายกับคาร์บูไรซิ่งนี้ แต่ตรงนี้ดีกว่าเพราะเป็นการลดเวลา

 

·       อุณหภูมิการเคลือบผิวแข็ง ในระหว่างการทำไนไตรดิง อะตอมไนโตรเจนจะเชื่อมจับพื้นผิวเหล็กที่อุณหภูมิระดับด้านล่างของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในเหล็กกล้า อุณหภูมิความร้อนทั่วไปมักอยู่ที่ 480°C ถึง 540°C (900°F ถึง 1000°F) มีเพียงกระบวนการชุบผิวแข็งด้วยไนไตรดิงเท่านั้น ที่สามารถสร้างการเคลือบผิวแข็งให้กับชิ้นงานในอุณหภูมิต่ำได้ จึงให้ความสะดวก และมีต้นทุนต่ำกว่า เมื่อเทียบกับวิธีการแบบเพิ่มอุณหภูมิ

 

 

·        ไม่เกิดการบิดตัว การทำไนไตรดิงมีความเค้นภายในเกิดขึ้นเล็กน้อย และมีความเป็นเสถียรภาพในโลหะมากกว่า การเกิดการบิดเปลี่ยนรูปขึ้น, การแตกร้าว และการบิดตัว ก็ลดลงเช่นเดียวกัน นี้เป็นเหตุผลสำหรับอุณหภูมิการเคลือบผิวต่ำกว่า และไม่ต้องทำการชุบแข็งอีกเป็นครั้งที่สอง ในกระบวนการปรับสภาพทางความร้อน  จึงเป็นข้อดีที่นำมาใช้ในงานที่มีความสำคัญเฉพาะ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องกลที่มีความซับซ้อน และมีพื้นผิวที่มีส่วนที่ขรุขระมาก ถ้าเพิ่มอุณหภูมิมากกว่านี้อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดการบิดเบี้ยวได้ง่าย

 

·       ความทนทานต่อการกัดกร่อน พื้นผิวไนไตรดิงจะมีความทนทานต่อการกัดกร่อนมากกว่า ชิ้นส่วนที่เคลือบผิวด้วยวิธีอื่น ๆ เช่นทนทานต่อ ความชื้น, สภาวะที่มีเกลือ, น้ำ, น้ำมัน, แก๊สโซลีน (น้ำมันเบนซิน) และการกัดกร่อนด้วยสิ่งอื่น ๆ ซึ่งจะไม่ค่อยเกิดอันตรายต่อเหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการทำไนไตรดิง

 

·       ทนทานต่ออุณหภูมิ ชิ้นส่วนที่ให้ความร้อนซ้ำที่อุณหภูมิ 540°C ถึง 595°C (1000°F ถึง 1100°F) ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะไม่มีผลต่อผิวเคลือบแบบไนไตรดิง เพราะอุณหภูมิเหล่านี้จะอ่อนกว่าการเคลือบคาร์บูไรซิ่ง แต่ถ้ามีการยืดการให้ความร้อนไปที่อุณหภูมิ 315°C ถึง 425°C (600°F ถึง 800°F) ก็จะยังไม่มีผลกระทบต่อการเคลือบผิวด้วยไนไตรดิง แต่ถ้าผ่านกระบวนการคาร์บูไรซิ่ง มันจะมีผลกระทบต่อชิ้นส่วนเครื่องกล ดังนั้น เมื่อโดนอุณหภูมิที่สูงขึ้น การเคลือบด้วยไนไตรจะมีความเสถียรมากกว่า

 

·       การทำความสะอาด ชิ้นส่วนเครื่องกลผ่านการไนไตรดิงใหม่ ๆ ไม่ต้องการทำความสะอาด แต่ชิ้นงานที่ทำคาร์บูไรซิ่งจะต้องทำความสะอาด ก่อนที่จะเกิดการกัดกร่อนที่พื้นผิว 

 

 

 

15.5.4.2 ข้อเสียของการทำไนไตรดิง

 

      ถึงจะมีข้อดีมาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดในกระบวนการชุบผิวแข็งของเหล็กกล้า มันยังมีข้อเสียอยู่บ้างของการทำไนไตรดิง ดูข้อเสียได้จากด้านล่างนี้

 

o  มีความช้า ในการทำไนไตรดิงเป็นกระบวนการชุบผิวแข็งที่ช้าที่สุด มันต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะทำเสร็จ ค่อนข้างจะใช้เวลาหลายชั่วโมง ทำให้มีขีดจำกัดในการผลิตเคลือบชิ้นงานด้วยวิธีการนี้ อีกทั้งผลผลิตที่เคลือบจะบางมาก นอกจากต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นถึงจะได้ความแข็งเพิ่มขึ้น จะต้องใช้เวลาถึงสิบชั่วโมงเพื่อให้ได้ผิวความแข็งหนา 0.254 มิลลิเมตร (0.010 นิ้ว) ถ้าหากต้องการให้มีความหนา 0.762 มิลลิเมตร  (0.030นิ้ว) อาจจะต้องใช้เวลาหลายวันในการทำไนไตรดิง

 

o  ต้นทุน ในการทำไนไตรดิงมีราคาที่แพง ก๊าซแอมโมเนียมีราคาสูงมากกว่า ก๊าซที่ใช้ทำคาร์บูไรซิ่งมาก อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ทำไนไตรดิงก็มีราคาสูงเช่นกัน ชิ้นงานที่เป็นเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำราคาถูกไม่สามารถทำไนไตรดิงได้เพราะอาจไม่คุ้ม เหล็กกล้าเหมาะก็คือ เหล็กที่ผ่านการผสมเจือถึงจะนำมาใช้กับวิธีนี้ รูปแบบส่วนประกอบเหล็กในไตร ทำให้เหล็กกล้าผสมเหล่านี้จึงมีต้นทุนมากกว่า

 

 

o  ขนาดการเติบโตของการเคลือบ ชิ้นส่วนที่นำไปทำผ่านไนโตรเจน การที่ใช้เวลามากซึ่งมันมีผลต่อการเพิ่มขนาดในการเคลือบอย่างสำคัญ อย่างไรก็ตาม การการเติบโตของการเคลือบสามารถประมาณค่าได้ในทางปฏิบัติจากก่อนเข้าทำไนไตรดิง ไปจนถึงงานเสร็จ

 

o  กระทำผ่านเครื่องมือกล จะใช้ได้เพียงการนำไปเจียรนัยสำหรับชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการไนไตรดิง เพราะมีความแข็งสูง ส่วนวิธีการคาร์บูไรซิ่งกลุ่ม และก๊าซคาร์บูไรซิ่ง จะสามารถใช้ผ่านเครื่องมือกลอื่น ๆ ได้ดีกว่าซึ่งเป็นข้อดีของมัน การใช้ในกระบวนการเหล่านี้ ชิ้นส่วนสามารถทำโดยเครื่องมือกลหลังจากขั้นตอนแรกของการชุบผิวแข็ง (ก่อนชุบแข็งเกิดขึ้น) แต่การนำไปทำก่อให้เกิดผลของการบิดตัว และบิดเปลี่ยนรูปของชิ้นงาน

 

 

o  จำเป็นที่จะต้องควบคุม การทำไนไตรดิง เวลากระบวนการทำมีมาก จะต้องคอยตรวจสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด ต้องรักษาอุณหภูมิขั้นต่ำเอาไว้ในห้องอบที่ร้อน และต้องมีการซีลผนึกปิดอย่างดีเพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซแอมโมเนียเล็ดลอดออกมาได้ เปอร์เซ็นต์ของแอมโมเนียในตอนต้นที่เหล็กกล้า ต้องมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง โดยต้องทำโดยผู้ที่ชำนาญ  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้ารู้สึกเบื่อกับงานที่ทำ

ไม่อยากทำงาน

ก็แสดงว่า งานนั่นไม่ใช่งานที่เราชอบ”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา