บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,449
เมื่อวาน 1,918
สัปดาห์นี้ 3,367
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,602
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,099
  Your IP :3.135.205.146

13.6.1 บริเวณเพิลไลต์หยาบ

 

      บริเวณเพิลไลต์หยาบ (Coarse Pearlite: CP) แสดงถึงบริเวณที่มีโครงสร้างเพิลไลต์ที่หยาบ หรือเม็ดเกรนของเพิลไลต์ที่มีขนาดใหญ่ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า เพิลไลต์หยาบ ซึ่งบ่งบอกถึงความหยาบของเพิลไลต์ บางครั้งก็จะมีส่วนผสมของเฟอร์ไรต์หยาบ, ซีเมนต์ไตหยาบ เข้ามาปะปนผสานกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเหล่านี้ เพิลไลต์หยาบเกิดขึ้นมาจากการที่เหล็กกล้าถูกทำให้เย็นลงอย่างช้ามาก ๆ

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเพิลไลต์หยาบ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

13.6.2 บริเวณเพิลไลต์ละเอียด

 

      บริเวณเพิลไลต์ละเอียด (Fine Pearlite: FP) แสดงถึงบริเวณเหล็กกล้าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเพิลไลต์ละเอียด หรือเม็ดเกรนของเพิลไลต์ที่มีขนาดเล็ก บางครั้งก็จะมีส่วนผสมของเฟอร์ไรต์ละเอียด, ซีเมนต์ไตละเอียด เข้ามาปะปนผสานกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเหล็กกล้า เพิลไลต์ละเอียดเกิดขึ้นมาจากการที่เหล็กกล้าถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเพิลไลต์ละเอียด

 

 

 

13.6.3 บริเวณของไบย์ไนต์

 

      บริเวณของไบย์ไนต์  (Bainite: B) แสดงถึงบริเวณที่อยู่ระหว่างบริเวณมาเทนไซต์ และบริเวณเพิลไลต์ละเอียด เป็นโครงสร้างที่เกิดมาจากเหล็กกล้าออสเตนไนต์ แล้วถูกชุบแข็ง จนอุณหภูมิลงมาต่ำว่า 550°C (1,022°F) แต่สูงกว่า 230°C (446°F) บริเวณไบย์ไนต์ได้ถูกเรียกขึ้นภายหลังจาก เอฟซี เบน (F.C. Bain) นักโลหะวิทยา ได้ทำการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของออสเตนไนต์

 

 

 

13.6.4 บริเวณมาเทนไซต์

 

      บริเวณมาเทนไซต์ (Martensitic region: M) เป็นบริเวณที่ต่ำที่สุดของการเปลี่ยนแปลงในไดอะแกรม ถ้าเส้นอุณหภูมิ-เวลาข้ามผ่านไปยังบริเวณมาเทนไซต์ จะเกิดเป็นรูปแบบโครงสร้างเหล็กกล้าเป็นมาเทนไซต์ เหล็กกล้าประเภทนี้ มาจากการที่เหล็กกล้าถูกชุบแข็งในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ 9 การเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างมาเทนไซต์เต็มรูปแบบจะยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่ง การทำความเย็นเหล็กกล้าอย่างรวดเร็วไปถึงอุณหภูมิประมาณ 150°C (300°F) (อาจอยู่ในช่วงระหว่าง 93°C (200°F) ถึง 260°C (500°F) ขึ้นอยู่กับชนิดของส่วนผสมในเหล็กกล้า)

 

รูปโครงสร้าง เพิลไลต์ ไบย์ไนต์ และมาเทนไซต์ ตามลำดับ

 

      เหล็กโครงสร้างไบย์ไนต์ จะมีข้อดีกว่าเหล็กโครงสร้างมาเทนไซต์ และเหล็กที่เป็นโครงสร้างเพิลไลต์ละเอียด นั่นก็คือ มันมีความแข็ง และความแข็งแกร่งสูงแต่จะน้อยกว่าโครงสร้างมาเทนไซต์ นอกจากนี้มันก็จะมีความอ่อนอยู่บ้าง แต่จะอ่อนน้อยกว่าโครงสร้างเพิลไลต์ละเอียด ด้วยเหตุนี้ เหล็กโครงสร้างไบย์ไนต์จึงถูกเรียกว่า ตัวกลางที่เป็นตัวเลือกที่ดี (Happy medium) ระหว่างมาเทนไซต์ และเพิลไลต์ละเอียด   

 

      ไบย์ไนต์ ปกติทั่วไปมีค่าความแข็งอยู่ที่ 50Rc- 55Rc จากการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลสเกลซี จากเทคโนโลยีทางด้านโลหะวิทยาในปัจจุบันได้มีการผสมธาตุบางตัวลงไปทำให้เหล็กกล้าไบย์ไนต์ มีความแข็งแกร่งสูงขึ้น และมีความอ่อนขึ้นอีกด้วย โครงสร้างไบย์ไนต์เมื่อส่องด้วยกลัองจุลทรรศน์ ดังที่เห็นในรูป

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้า 1045 บริเวณไบย์ไนต์ ปรากฏเป็นสีดำกว่า บริเวณมาเทนไซต์

 

 

รูปแผนภาพไอทีกับภาพทางจุลภาค

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ในการทำสิ่งใด ๆ นั้น เราไม่อาจก้าวพรวดเดียวถึงจุดสุดยอดได้

และไม่มีใครที่โชคดีประสบความสำเร็จได้ตลอดกาล

ในโลกนี้...ไม่มีคนที่ประสบความสำเร็จคนไหน ที่ไม่เคยพ่ายแพ้มาก่อน

หากเราไม่รู้จักวางตน และปฏิบัติตนต่อความพ่ายแพ้ได้อย่างถูกต้อง

ก็ไม่มีทางที่จะพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดหรือประสบความสำเร็จในชีวิตได้...”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา