บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,030
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,689
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,924
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,421
  Your IP :52.15.63.145

11.5 อุณหภูมิของสารตัวกลางในการชุบแข็ง

 

      อุณหภูมิของสารตัวกลางในงานชุบแข็ง จะมีผลต่อการชุบแข็ง ยกตัวอย่าง น้ำที่อุณหภูมิต่ำ (น้ำเย็น) จะช่วยลดเวลาในการชุบแข็ง ซึ่งแสดงในรูป

 

 

กราฟอุณหภูมิสารตัวกลางในการชุบแข็งมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการชุบแข็ง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

กราฟแสดงการชุบแข็งในสารตัวกลางต่าง ๆ  

 

 

น้ำที่มีอุณหภูมิ 21°C (70°F) มีความสามารถทำให้ชิ้นส่วนโลหะเย็นตัวโดยใช้เวลาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเวลาที่ใช้ชุบ แต่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการร้าวตัว และบิดงอพอสมควร น้ำที่มีความเหมาะสมโดยลดความเสี่ยงต่อการร้าว และบิด จะอยู่ที่อุณหภูมิ 49°C (120 °F

 

ข้อสังเกตจากรูป การชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ และน้ำเป็นไปอย่างเร็วสุด การปล่อยให้เย็นตามธรรมชาติ (Normalizing: การให้ชิ้นส่วนเย็นตัวที่อากาศนิ่ง) เป็นการชุบแข็งที่เย็นตัวช้าที่สุด การชุบแข็งด้วยน้ำมันจะเห็นว่าเย็นเร็วกว่าการใช้การชุบแข็งด้วยอากาศ แต่ก็เกิดขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า การชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำ

 

 

11.6 เทคนิคการชุบแข็งในภาคปฏิบัติ

 

      มีความคิดมากมายที่จะเกิดขึ้น เมื่อคิดเลือกกรรมวิธีการชุบแข็ง ด้วยการเลือกใช้ตัวกลางที่จะชุบ และนำไปประยุกต์ใช้ รายละเอียดที่ด้านล่างเป็นเพียงบางส่วนของการชุบแข็ง ซึ่งยังมีอีกหลายวิธีมากมาย ที่จะต้องพิจารณาก่อนที่จะเริ่มทำการชุบแข็ง

 

  • เวลาที่ใช้ในการปรับสภาพความร้อนกับชิ้นงานที่มีขนาดแตกต่างกัน จะต้องใช้เวลานานแค่ก่อนที่จะนำออกจากเตา ไปสู่กระบวนการชุบแข็ง โดยมีการประมาณการอย่างคร่าว ๆ เมื่อชิ้นงานมีความหนาประมาณ 1 นิ้ว (ประมาณ 2.5 cm) จะใช้เวลาปรับสภาพ 1 ชั่วโมง (ประมาณค่าเฉพาะความหนา ส่วนกว้าง ยาวไม่ได้นำมาคิด ถ้าชิ้นงานสามารถนำเข้าเตาได้) แล้วนำออกจากเตานำไปชุบแข็ง (ทันทีที่ชิ้นงานออกจากเตา มักจะทำอุณหภูมิความร้อนได้ตามต้องการ) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแท่งโลหะที่จะนำไปปรับสภาพทางความร้อนมีขนาด 2² ´ 4² ´ 10² มันจะใช้เวลาอยู่ในเตาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ถ้าชิ้นงานขนาด 1/4² ´ 6² ´ 10² มันใช้เวลาในเตาปรับสภาพเพียงแค่ 15 นาทีเท่านั้นก่อนที่จะนำไปชุบแข็ง

 

  • จะใช้เวลาในการชุบนานแค่ไหน นับตั้งแต่นำชิ้นงานลงถังชุบ จนกระทั่งมันเย็นพอที่จะสัมผัสด้วยมือได้

 

  • การทำให้สารตัวกลาง ปั่นป่วน (Agitation) (อาจทำการกวนสารตัวกลาง หรือเขย่าชิ้นงาน) มีความสำคัญอย่างไร? บางครั้งการทำให้สารตัวกลางปั่นป่วนมักไม่ค่อยได้ทำในทางปฏิบัติ เพราะว่าปริมาณที่มากของชิ้นงาน หรือชิ้นงานมีรูปร่างเทอะทะ อย่างไรก็ตาม ผลการทำให้เกิดการปั่นป่วนในขณะทำการชุบแข็งมีความสำคัญ การปั่นป่วนที่หนัก และรุนแรง จะลดเวลาการทำความเย็นลงได้ ให้พิจารณาในจากกราฟด้านล่าง

 

 

กราฟการปั่นป่วนของสารตัวกลาง ที่มีผลต่อชิ้นงานที่ทำการชุบแข็ง ทำให้เวลาการทำความเย็นลดลง

 

 

รูปแผ่นเหล็กบางผ่านการชุบแข็ง

  

      การใช้วิธีปั่นป่วนจะไม่ค่อยมีผลเมื่อชุบในน้ำมัน ซึ่งมักจะเกิดฟองน้ำมันเหนียวติดกันซึ่งจะเกิดที่ผิวโลหะ ส่วนในการชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำ การปั่นป่วนจะช่วยขับไล่ฟองที่เกาะชิ้นงานออก  จะทำให้มีข้อได้เปรียบเล็กน้อยในการปั่นป่วน หรือการเขย่าชิ้นงานหลังจากมันอยู่ในตัวกลางชุบแข็ง

 

  • จะหลีกเลี่ยงการบิดในชิ้นงานที่บางได้อย่างไร? เมื่อในชิ้นงานมีบางบริเวณ เป็นส่วนที่บาง ขนาดไม่สม่ำเสมอกันทั้งชิ้น ดูที่รูป

 

 

รูปชิ้นส่วนที่มีบางส่วนที่บางระหว่างส่วนหนา เป็นส่วนที่มีความไวต่อการบิดในระหว่างกระบวนการชุบแข็ง

 

มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการบิดตัว ที่จะเกิดระหว่างการชุบแข็ง เพื่อลดการบิดของงาน สามารถนำ ดิน (Clays) แบบพิเศษ มาใช้พอกในพื้นที่วิกฤติของชิ้นงานบางได้ แล้วจึงจะให้ความร้อน และนำไปชุบแข็ง

 

ดินเหล่านี้คอยป้องกันชิ้นงานบาง เพื่อลดความรุนแรงจากกระบวนการชุบแข็งที่กระทำต่อชิ้นงาน เมื่อโลหะถูกจุ่มเข้าไปในของเหลว ดินพิเศษสามารถใช้แก้ปัญหาการแตกร้าว และการบิดตัวของชิ้นงานที่มีส่วนที่บางหรือขอบมุมที่แหลมคมได้เหมือนกัน

 

 

จบบทที่ 11 ครั้งหน้าพบกับ การอบอ่อน (Annealing)  และการอบปกติ (Normalizing)

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
                       ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
                                            ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา