บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 31
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,619
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,854
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,351
  Your IP :3.136.97.64

9.3 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน

 

      แผนผังเฟสไดอะแกรมในงานโลหะนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ แผนผังเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนก็เป็นหนึ่งในผังไดอะแกรมนั้นซึ่งถูกนำมาใช้งานมากที่สุด

 

      หัวข้อนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการอ่านเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้า-คาร์บอน โดยมีวิธีการอ่านจากขั้นตอน แต่ละข้อด้านล่าง

 

วิดีโอตัวอย่างปฏิบัติการให้ความร้อนแก่เหล็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฟสในเหล็กกล้า

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

1.  เราลองสมมติว่ามีเหล็กกล้าที่อุณหภูมิห้อง และมีคาร์บอนผสมอยู่ 0.4% แสดงให้เห็นที่จุด A ในรูป

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4%

 

 

รูปผังไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่แสดงเส้นทางเดินของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% เมื่อถูกให้ความร้อนจนอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเหล็กจะยังไม่ถูกปรับสภาพทางความร้อนหรือชุบแข็งมาก่อน

 

2.  เมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง สภาวะเหล็กยังอยู่ใต้ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ ยังไม่เป็นเหล็กรูปแบบออสเตนไนต์  ส่วนผสมคาร์บอนนี้ (จุด A) จะอยู่ตรงกลางระหว่าง เส้นเฟอร์ไรต์ 100% และเส้นเพิลไลต์ 100% ซึ่งสามารถประมาณการได้ว่าเหล็กมีรูปแบบเฟอร์ไรต์ครึ่งหนึ่ง (50%) และมีเพิลไลต์ครึ่งหนึ่ง (50%) ดูรูปด้านล่าง

 

 

รูปจุด A

 

3.  ต่อมา สมมติว่าโลหะถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นประมาณ 540°C (1,000°F) ตำแหน่งจุด B ยังอยู่ที่ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ มันยังไม่เกิดรูปแบบออสเตนไนต์ จุด B จะอยู่ใกล้แนวเส้นเฟอร์ไรต์ 100% มากกว่า เส้นเพิลไลต์ 100% แต่เส้นเฟอร์ไรต์ 100% จะโค้งไปทางด้านขวาเล็กน้อย ทำให้มีการประมาณโครงสร้างว่าเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย เฟอร์ไรต์ 49%-50% และเพิลไลต์ 50%-51% ดูรูปด้านล่าง

 

 

รูปจุด B

 

4.  สมมติว่าโลหะถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอีก จนอุณหภูมิสูงถึง 720°C (1,330°F) กำหนดให้เป็นจุด C อุณหภูมิจุดนี้ โครงสร้างเป็น เฟอร์ไรต์ 48% และเพิลไลต์ 52% (จุด C เฟอร์ไรต์จะน้อยกว่าเพิลไลต์) ตอนนี้ในบางส่วนของโลหะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิเหนือกว่า 720°C เพิลไลต์จะเริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์ (ในทางทฤษฏี เพิลไลต์ทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นออสเตนไนต์อย่างฉับพลันเมื่อเข้าใกล้อุณหภูมิ 720°C) ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มเกิดขึ้นและทยอยเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิใกล้ 720°C

 

รูปจุด C

 

5.  โลหะยังถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอุณหภูมิสูงถึง 740°C (1360°F) ที่จุด D เพิลไลต์ทั้งหมดมีการเปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์ โครงสร้างตอนนี้ประมาณการได้ว่ามีเฟอร์ไรต์ 48% และออสเตนไนต์ 52% (เพิลไลต์เปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์หมดแล้ว)

 

 

รูปจุด D

 

6.  อุณหภูมิยังคงสูงขึ้นมาที่ 760 °C (1400°F) กำหนดให้เป็นจุด E บริเวณนี้จะค่อนข้างอยู่ใกล้แนวขอบเส้นออสเตนไนต์ 100% มากกว่าเฟอร์ไรต์ 100% ดังนั้น เหล็กจึงมีส่วนประกอบของออสเตนไนต์มากว่าเฟอร์ไรต์ ประมาณค่าอยู่ที่ ออสเตนไนต์ 63% และเฟอร์ไรต์อยู่ที่ 37% 

 

 

รูปจุด E

 

7.  ตอนนี้เหล็กกล้าอุณหภูมิสูงไปถึง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ที่จุด F ประมาณ 790°C (1450°F) เกือบทั้งหมดของเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นออสเตนไนต์อย่างสมบูรณ์ ยังคงเหลือเป็นเฟอร์ไรต์เพียงเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ แต่อีกไม่นานก็จะเปลี่ยนไปทั้งหมด จุดนี้ประมาณค่าออสเตนไนต์อยู่ที่ 90% และเฟอร์ไรต์ 10%

 

 

รูปจุด F

 

8.  ที่อุณหภูมิ 840°C (1,550°F) เหล็กที่จุด G มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ออสเตนไนต์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีเฟอร์ไรต์ หรือเพิลไลต์เหลืออยู่เลย มันเป็นออสเตนไนต์ 100%

 

 

รูปจุด G

 

ถึงแม้ว่าจะให้ความร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก เหล็กก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง มันยังคงเป็นออสเตนไนต์ 100%

      เมื่อศึกษาถึงการเพิ่มอุณหภูมิของเหล็กกล้าไปแล้ว ทีนี้มาศึกษาเหล็กกล้าจากอุณหภูมิที่สูงค่อย ๆ ลดอุณหภูมิลง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาย้อนกลับ

 

      โดยใช้ตัวอย่างเดิม นั่นก็คือคือเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% ที่ให้ความร้อนสูงจนเป็นโครงสร้างออสเตนไนต์ 100% โดยการปล่อยให้เหล็กเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ

 

 

รูปปฏิกิริยาย้อนกลับผังไดอะแกรมของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% จากความร้อนสูงถูกปล่อยให้เย็นตัวลงไปจนถึงอุณหภูมิห้อง เหล็กยังไม่ได้ผ่านการปรับสภาพทางความร้อน หรือการชุบแข็งมาก่อน

 

เหล็กกล้าถูกปล่อยให้เย็นตัวอย่างช้า ๆ กลับไปสู่อุณหภูมิห้อง จากอุณหภูมิสูงค่อยลงมาเรื่อย ๆ

 

  • ผ่านจุด G (840°C: โครงสร้างออสเตนไนต์ 100%)
  • ผ่านจุด F (790°C: ออสเตนไนต์ 90% และเฟอร์ไรต์ 10%)
  • ผ่านจุด E (760°C: ออสเตนไนต์ 63% และเฟอร์ไรต์อยู่ที่ 37%)
  • ลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุด D (740°C: เฟอร์ไรต์ 48% และออสเตนไนต์ 52%)
  • ผ่านจุด C (720°C)
  • ผ่านจุด B (540°C: เฟอร์ไรต์ 49%-50% และเพิลไลต์ 50%-51%)
  • สุดท้ายลงไปจนถึงอุณหภูมิห้อง จุด A (ประมาณ 30°C) มันจะเปลี่ยนแปลงกลับคืนไปเป็นโครงสร้างเฟอร์ไรต์ / เพิลไลต์ และไม่มีออสแตนไนต์เหลืออยู่ ซึ่งเป็นการย้อนลำดับกัน

 

   ส่วนเหล็กกล้าคาร์บอนที่มีจำนวนเปอร์เซ็นต์คาร์บอนผสมในสัดส่วนอื่น ๆ ก็จะพิจารณาไปในแนวทางเดียวกันนี้ ค่อย ๆ ศึกษากันไปนะ

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

            “เราจะเห็นค่าความอบอุ่น

 

                                      ก็ต่อเมื่อเราผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา