บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,327
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,557
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,792
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,289
  Your IP :18.189.178.37

54อุณหภูมิเปลี่ยนรูป, การเติบโตของผลึก

 

  

7.1.3 อุณหภูมิของการเปลี่ยนรูป

 

      เหล็กเฟอร์ไรต์ถูกเปลี่ยนไปเป็น เหล็กออสเตนไนต์ เราลองมาทำความเข้าใจ ถึงหลักการเกี่ยวกับอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูป (Transformation temperatures) โดยมีที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนก็คือ

 

รูปแสดงสภาวะการเปลี่ยนรูปของเหล็กกล้าคาร์บอน 

(ส่วนรายละเอียดจะได้กล่าวถึงในภายหลัง)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

  1. อุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ (Lower transformation temperature) คืออุณหภูมิที่โครงสร้างบีซีซีเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง โดยเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างเอฟซีซี นั่นก็คืออุณหภูมิที่เริ่มต้นเปลี่ยนจากเหล็กเฟอร์ไรต์ ไปเป็น เหล็กออสเตนไนต์  100% อุณหภูมิการเปลี่ยนรูปสำหรับเหล็ก และเหล็กกล้าทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 720°C (1,330°F)

 

2.  อุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง (Upper transformation temperature) คืออุณหภูมิที่ทำให้เหล็กที่มีโครงสร้างบีซีซีอย่างสมบูรณ์ เป็นเหล็กที่มีโครงสร้างแบบเอฟซีซี ณ อุณหภูมิตรงจุดนี้ จะไม่มีเหล็กเฟอร์ไรต์เหลืออยู่ แต่เหล็กที่เกิดขึ้นจะเป็นออสเตนไนต์สมบูรณ์แบบ 100% อุณหภูมิการเปลี่ยนรูปจะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของโลหะ ช่วงกว้างของอุณหภูมิของค่าด้านต่ำจะอยู่ที่ 720°C (1,330°F) ส่วนค่าด้านสูงอยู่ที่ 1,100°C (2,000°F)  

 

 

      ถ้าเหล็กถูกชุบแข็งอย่างรวดเร็ว จะเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างจากออสเตนไนต์ไปเป็นมาเทนไซต์ (บีซีที) โดยจะไม่กลับคืนมาเป็นเหล็กเฟอร์ไรต์

 

รูปโครงสร้างเหล็กออสเตนไนต์ถูกเปลี่ยนเป็นโครงสร้างเหล็กมาเทนไซต์

 

 

7.2 การเติบโตของผลึก (Crystal Growth)

 

 

      เมื่อเหล็กถูกให้เกิดความร้อนจนไปถึงอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง มันก็จะเกิดการหลอมเหลว จนกลายเป็นเหล็กหลอม แล้วเมื่อปล่อยให้มันเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ การเย็นตัวของโลหะเหลวจะเริ่มเป็นของแข็งจับตัวกัน และท้ายสุดก็กลายเป็นเหล็กเฟอร์ไรต์

 

การเปลี่ยนแปลงจากเหล็กที่เป็นของเหลว จนเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง (หรือ การเติบโตของผลึก) แสดงให้เห็นในรูป

 

รูปแสดงกระบวนการเติบโตของผลึก

 

รูปการเติบโตของผลึกของเหล็ก

 

ทีนี้เรามาดูกระบวนการเติบโตของผลึก เหล็กเริ่มต้นจากสถานะของเหลวร้อน ต่อมาเมื่อมีการลดอุณหภูมิลงต่ำลงอย่างช้า ๆ ณ จุดจุดหนึ่งน้ำเหล็ก เมื่อเย็นพอ มันเริ่มจะจับตัวกันเป็นของแข็ง หน่วยเซลล์ก็จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างที่จุดนี้ (เหล็กออสเตนไนต์) ตามอุณหภูมิการเปลี่ยนรูป ยิ่งอุณหภูมิลดลงต่อเนื่องหน่วยเซลล์ก็จะเกิดมากขึ้น และหน่วยเซลล์ด้านข้างก็แผ่เป็นกิ่งก้านสาขา และมาเกาะเกี่ยว

 

      การโตขึ้นเรื่อย ๆ  และมีการแผ่เป็นแขนงกิ่งก้านสาขาเพื่อเกาะจับตัวรวมกันของสถานะของแข็ง จนเป็นโครงร่างที่กำลังเติบโต หรืองอกขึ้นใหม่ แต่ยังไม่สมบูรณ์ เราเรียกส่วนที่กำลังแผ่กิ่งก้านนี้ว่า กิ่งก้านยื่นแผ่ หรือเดนไดรท์ (Dendrites)    

 

รูปตัวอย่างเดนไดรท์ที่กำลังยื่นออกมาจับตัวกัน

 

รูปเดนไดรท์ของโลหะผสมชนิดหนึ่ง

 

วิดีโอแสดงการเกิดเดนไดรท์ของเหล็ก

 

      เมื่อหน่วยเซลล์เริ่มมีมากขึ้นแล้ว จากเริ่มเป็นของแข็ง จนเกิดเดนไดรท์เริ่มจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ทำให้เกิดมีการแผ่กิ่งก้านแตกแขนงออกไปชนกับแขนงตัวข้างเคียง การโตขึ้นของเดนไดรท์มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่เป็นของแข็งใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ การแผ่ขยายของเดรนไดรท์ก็จะขยายจนเต็มพื้นที่ จะหยุดก็ต่อเมื่อโลหะมีสภาพกลายเป็นของแข็งทั้งหมด

       

รูปเหล็กหลอมเหลวที่อุณหภูมิลดลง และกำลังจับตัวกันเป็นกลุ่มของแข็ง

 

 

วิดีโอแสดงการเกิดเดนไดรท์ของทองแดง

 

วิดีโอแสดงตัวอย่างการเกิดเดนไดรท์ของอลูมิเนียม

 

ทำให้เกิดมีอาณาบริเวณเป็นขอบเขตเล็ก ๆ ยิ่งอุณหภูมิลดลงอีกเรื่อย ๆ ขอบเขตของแข็งก็จะกลายเป็นแผ่นใหญ่ขึ้น ของแข็งแผ่นข้างเคียงก็เริ่มมาติดกัน จนกลายเป็นอาณาบริเวณขอบเขตกว้างขึ้นเรื่อย ๆ   

 

      การเข้าจับตัวกันเป็นก้อน จะได้เหล็กที่มีสถานะกลายเป็นของแข็งเย็นตัว (เหล็กเฟอร์ไรต์) แล้วลองนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบว่าเนื้อเหล็กจะมีขอบเขตเหมือนรอยแตก ซึ่งขอบเขตจะมีกระจัดกระจายไปทั่วผืนโลหะ เล็กบ้างใหญ่บ้าง (วัสดุบางชนิดอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า)

 

      ขอบเขตที่เกิดเดนไดรท์แต่ละขอบเขตมีขนาดไม่เท่ากันเนื่องมาจากการเติบโตของเดรนไดรท์เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งจากการที่ไม่เท่ากันนี้เอง ทำให้เกิด เกรน (Grain) ซึ่งแต่ละเกรนจะมีการจัดเรียงตัวที่ต่างกันเมื่อเกรนบริเวณข้างเคียง มาชนกันก็จะถูกแบ่งออกเป็นขอบเขต การแบ่งเส้นขอบเขตของแต่ละส่วน ซึ่งเราเรียกว่า ขอบเขต หรือขอบเกรน (Grain Boundary)

 

รูปเกรน และขอบเกรนของเหล็กเฟอไรต์

 

วิดีโอแสดงการเติบโตของเกรน และขอบเขตเกรน

 

วิดีโอจริงแสดงการเติบโตของเกรน

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

เลื่อนตัวเองขึ้น    แต่อย่าลดคนอื่นลง

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา