บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,262
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,492
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,727
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,224
  Your IP :3.133.160.156

20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น

4.1.4 ความแข็งแกร่ง

 

      ความแข็งแกร่ง (Strength) หรือความทนทาน เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัสดุ ซึ่งความแข็งแกร่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่

 

- ความแข็งแกร่งต่อการดึง (Tensile strength)

 

รูปการทดสอบหาความแข็งแกร่งต่อการดึงในรูปเป็นโฟม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

- ความแข็งแกร่งต่อการอัด (Compressive strength)

 

รูปการทดสอบหาความแข็งแกร่งต่อการอัดตัว ในรูปเป็นแท่งคอนกรีต

 

- ความแข็งแกร่งต่อการเฉือน (Shear strength)

 

รูปความแข็งแกร่งต่อการเฉือนในสลักเกลียว

 

รูปแสดงการเฉือนที่ตัวสลักเกลียว

 

รูปการทดสอบการเฉือน

 

- ความแข็งแกร่งต่อการบิด (Torsional strength)

 

รูปชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบการบิด

 

รูปการบิดตัวของแท่งวัสดุ

 

- ความแข็งแกร่งต่อการโค้งงอ (Flexural strength)

 

รูปการทดสอบการโค้งงอ

 

- ความแข็งแกร่งต่อการล้าตัว (Fatigue strength) หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงที่กระทำซ้ำ ๆ ตลอดเวลาจนกระทั่งวัสดุเกิดความล้า

 

รูปการทดสอบการล้าตัว

 

- ความแข็งแกร่งต่อการกระแทก (Impact strength) หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงกระทำที่หนักหน่วงแบบฉับพลันทันที

 

รูปการทดสอบกระแทกชิ้นงานแบบชาร์ปี 1

 

รูปการทดสอบกระแทกชิ้นงานแบบชาร์ปี 2

 

ความแข็งแกร่งแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่สามารถตอบสนองต่อประเภทของแรงที่กระทำที่กับวัสดุ

 

 

4.1.5 ความเค้น

 

      ความเค้น (Stress) คือความพยายามที่จะทำให้วัสดุเกิดความเสียหาย แตกร้าว ส่วนความสามารถต้านทานต่อความเค้นเราเรียกมันว่า ความแข็งแกร่ง หรือความทนทาน (ดูที่หัวข้อ 4.1.4) ความเค้นที่เกิดในชิ้นงานมากเกินไปอาจทำให้ชิ้นงานเกิดรอยแตกร้าวได้

 

      สมการความเค้นในทางคณิตศาสตร์คือ แรงที่กระทำต่อพื้นที่หน้าตัดที่แรงกระทำ หน่วยของความเค้นคือ นิวตันต่อตารางเมตร (N/m2), ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) ฯลฯ สมการจะเป็นดังนี้

 

ความเค้น = แรง/พื้นที่

 

            s = F / A           (4.1)

 

กำหนดให้      s (อ่านว่า ซิกม่า)= ความเค้น หน่วย N/m2, psi

                        F = แรงกระทำ หน่วย N, lbs

                        A = พื้นที่ที่ถูกแรงกระทำ m2,mm2, in2

 

วิดีโอแสดงการทดสอบดึงโลหะจนเกิดความเค้น

 

ตัวอย่างที่ 4.1(หน่วย SI) เพลาตันขนาด 10 มิลลิเมตร ถูกดึงหัวท้ายด้วยแรงกระทำ 2,000 นิวตัน จงคำนวณหาความเค้นที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน

 

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ เส้นผ่านศูนย์กลางเพลา (f) = 10 mm , แรงดึง (F) = 2,000 N ให้หา s =? N/mm2

 

ขั้นตอนที่ 1 หาพื้นที่หน้าตัดที่แรงกระทำ

 

A = p ´ D2 /4

 

= p ´ 102 /4

 

= 78.5 mm2

 

ขั้นตอนที่ 2 หาค่าความเค้นโดยใช้สมการ (4.1)

 

s = F/A

 

= 2000N / 78.5 mm2

 

\ค่าความเค้นดึงที่เกิดขึ้นในเพลา = 25.477 N/mm2 ตอบ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

เราน่าจะเปลี่ยนปัญหากันได้
เพราะเรามักจะแก้ปัญหา ของผู้อื่นได้

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา