บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,127
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,786
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,021
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,518
  Your IP :18.191.108.168

9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล

3.4 หน่วยของความแข็ง

      

      ทั้งเวลา (วินาที, นาที, ชั่วโมง ฯลฯ), น้ำหนัก (นิวตัน, ปอนด์), ระยะทาง (เมตร, ไมล์ ฯลฯ) ต่างก็มีหน่วยที่ใช้เรียกขานในการวัดทั้งนั้น แน่นอนว่าความแข็งก็มีหน่วยที่ใช้เรียกเช่นกัน

 

      หน่วยวัดความแข็งนั้นมีการเรียกกันอยู่หลายหน่วย ยกตัวอย่างเช่น บีเฮชเอ็น (BHN), ดีบีเฮช (DPH), หน่วยชอร์ (Shore units), หน่วยคนูบ (Knoop units), ร็อคเวลสเกล ซี(RC) และ 15N (จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป)

 

      ในทางสากลจะไม่มีการใช้หน่วยใดหน่วยหนึ่งเฉพาะ แต่มันจะขึ้นอยู่กับวิธีการ และเครื่องทดสอบ ที่จะใช้ตรวจสอบชิ้นงาน หรือทำการเทียบค่าความแข็งจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยหนึ่งได้ โดยจะมีตารางเปรียบเทียบค่าความแข็ง            

 

3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง

 

      มีวิธีการทดสอบในการหาค่าความแข็ง และเครื่องทดสอบความแข็งซึ่งมีอยู่มากมาย ให้เลือกใช้งาน ในหนังสือเล่มนี้จะทำการทดสอบความแข็งอยู่ 9 แบบ ซึ่งแต่ละวิธีจะมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในการที่จะนำวิธีใดวิธีหนึ่งมาทำการทดสอบ จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่ทดสอบเองที่จะเลือกใช้งาน

 

วิธีการทดสอบความแข็งในหนังสือเล่มนี้มีได้แก่

 

· กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล (Brinell hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบบริเนล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

· การทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบวิคเกอร์ (Vickers microhardness)

 

รูปตัวอย่างเครื่องทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบวิกเกอร์

 

· การทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบคนูบ (Knoop microhardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งขนาดจิ๋วแบบคนูบ

 

· วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล (Rockwell Hardness)

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

· วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ (Rockwell Superficial hardness)

 

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ

 

· วิธีการทดสอบควาแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป (Shore Scleroscope hardness)

 

 

รูปเครื่องทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคป

 

· กรรมวิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ (Sonodur hardness)

 

· วิธีการทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล (Mohs Scale hardness)

 

รูปการทดสอบโดยการเปรียบเทียบแบบโมห์สเกล

 

· วิธีการทดสอบความแข็งแบบตะไบ (File hardness)

 

รูปตัวอย่างตะไบที่นำมาทดสอบความแข็ง

 

3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

       กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่ง แสดงในรูป

 

รูปหัวกด และลูกบอลทำจากทังสเตนคาร์ไบน์

 

      ที่ปลายหัวกดจะใช้ลูกบอลโลหะกดชิ้นงานทดสอบให้เกิดรอยบุ๋ม ลูกบอลกดทำมาจาก ทังสเตนคาร์ไบน์ (Tunsten-carbide) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 10 มิลลิเมตร โดยทั่วไปแรงที่ใช้ในการทดสอบอยู่ที่ 3000 กิโลกรัม โดยมีการใช้แรงเบื้องต้นจากการหมุนทั่งวางงาน (Anvil) เข้าไปกดเป็นอันดับแรกด้วยแรงกด 500 กิโลกรัม เป็นเบื้องต้น จากนั้นก็ใช้หัวกดเลื่อนกดลงมาอีก 2500 กิโลกรัม แรงที่กระทำควรจะค้างอยู่บนชิ้นงานอย่างน้อย 15 วินาที สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งชิ้นงานทดสอบควรจะ ราบเรียบ, อยู่ในระนาบ, สะอาด และวางในแนวนอน ส่วนหน่วยที่ใช้วัดก็คือ BHN

 

      ลูกบอลโลหะถูกกระทำด้วยแรงกดที่มีมากกระทำกับชิ้นงานตัวอย่าง จนชิ้นงานที่ทำการทดสอบบุ๋มเป็นวงกลมลึกลงไปในชิ้นงานเป็นจุดเล็ก ๆ ไม่ทำให้รูปร่างชิ้นงานผิดเพี้ยนไปมากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ของชิ้นงานส่วนใหญ่ ข้อด้อยของการทดสอบแบบบริเนลก็คือ มันไม่สามารถใช้ทดสอบกับชิ้นงานที่มีความบางมากได้

 

วิดีโอการทดสอบแบบบริเนล

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

พูดให้ช้า แต่ต้องคิดให้เร็ว

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา