บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,729
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 12,007
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,207
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,704
  Your IP :3.146.152.99

1.3 ผู้ที่เหมาะจะนำไปใช้

 

      ในอุตสาหกรรมสมัยใหม่นั้นต้องคำนึงถึงความรู้ทางด้านโลหะวิทยาเกือบทุกประเภทของการผลิตด้านอุตสาหกรรม เพราะว่าในโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีเครื่องจักรในการทำงานแทบทุกแห่ง การผลิตชิ้นส่วนเครื่องกลที่ได้คุณภาพในทุกวันนี้ก็ได้มาจากการศึกษาพฤติกรรมของโลหะ และโลหะผสม

 

ฉะนั้น เมื่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งในทางอุตสาหกรรมที่ต้องมีการวางแผนงานในอนาคต อาจจำเป็นต้องหาความรู้กระบวนการทางด้านโลหะวิทยาเพื่อให้ผลที่ได้ออกมานั้นมีคุณภาพ มีคุณค่า   

 

      ใครล่ะ? ที่ต้องมีความรู้ทางด้านโลหะวิทยาเพื่อนำไปประยุกต์การใช้งาน ผู้ที่ต้องนำความรู้นี้ไปใช้ยกตัวอย่างเช่น

 

      วิศวกร, ช่างเทคนิค, นักออกแบบ, นักทำพิมพ์เขียว (Drafters), นักทำโมล และแม่พิมพ์ (Tool & Die) และช่างควบคุมเครื่องจักร เหล่านี้ต้องมีทักษะในการเลือกใช้วัสดุ และกระบวนการปรับสภาพทางความร้อน (Heat treatment)

      หรือแม้แต่ผู้จัดการฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดซื้อ อาจต้องมีความเข้าใจในส่วนของความความยืดหยุ่นตัว (Ductility), ความแข็ง (Hardness), การอบปกติ (Normalizing) และชุบผิวแข็ง เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้คุณสมบัติชิ้นงานที่ดีที่สุด และใช้ในการเลือกซื้อวัสดุมาใช้อย่างเหมาะสมกับการผลิต

 

      ส่วนช่างซ่อมแซม, ช่างบริการ และผู้วางแผนแก้ปัญหา ผู้ที่ทำหน้าที่หาสาเหตุอันเนื่องมาจากการเสียหายของอุปกรณ์จะต้องฝึกทักษะทางการรู้จักสาเหตุของการแตกร้าว (Cracks) และการสึกหรอที่มีมาก (Excessive wear) ต้องสามารถรู้ และพิจารณาวัสดุตัวปัญหาที่ค้นพบ และสามารถซ่อมแซม และแก้ปัญหาได้   

 

      เหล็กมีการใช้งานมามากกว่า 5000 ปีมาแล้ว เริ่มแรกที่นำเหล็กมาใช้งานเอามาทำหอก ดาบ เสื้อเกราะ และอาวุธอื่น ๆ จากนั้นก็ถูกพัฒนามาเป็นยานพาหนะต่าง ๆ ทำเครื่องประดับ โดยกระบวนการทางโลหะนั้นได้มีการลองผิดลองถูกมาตลอดมา  และเริ่มมีการจดบันทึก พร้อมกับทำการทดลองจนได้สิ่งที่ดีที่สุด มาจนถึงปัจจุบัน และกำลังสืบทอดต่อไปในอนาคต เมื่อเทคโนโลยียังไม่หยุดความก้าวหน้าทางโลหะวิทยาก็ยังคงมีอยู่ตลอดเวลา

 

1.4 ในหนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้าง

 

      การที่เราจะทำการศึกษาถึงรายละเอียด เราจะต้องรู้เป้าหมาย และขอบเขตที่วิชานี้ ที่สามารถกล่าวถึงได้ ด้านล่างต่อไปนี้คือเนื้อหาที่จะพบในหนังสือเล่มนี้

 

o  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอะตอม, ธาตุ, สารประกอบ, สารละลาย, สารผสมทางเคมีในโลหะ

 

รูป แบบจำลองของอะตอม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ภาคที่ 2 คุณสมบัติของโลหะ

o  กล่าวถึงความแข็งของโลหะ วิธีการ และขั้นตอนการทดสอบความแข็ง เช่นการทดสอบแบบบริเนล, แบบวิคเกอร์ และร็อคเวล วิธีการคิดคำนวณค่าความแข็งแต่ละวิธีการทดสอบ

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งของโลหะแบบร็อคเวล

 

o  มาดูคุณสมบัติของโลหะไม่ว่าจะเป็นทางกล, ทางไฟฟ้า, ทางเคมี, ทางความร้อน, ฯลฯ

 

การทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ ในด้านทางกล

 

ภาค 3 เหล็ก

o  เหล็กกล้า ในเนื้อหาได้อธิบายถึงส่วนประกอบของเหล็กกล้า ความแตกต่างระหว่างเหล็ก และเหล็กกล้า ชนิดของเหล็กกล้า รู้จักระบบการเรียกเหล็กแต่ละชนิด พิจารณาประเภทของเหล็กกล้าคาร์บอน และเหล็กกล้าผสม รวมทั้งการกล่าวถึงเหล็กหล่อ

 

 

รูปเหล็กกล้าที่อยู่ในรูปของเหล็กรูปพรรณพร้อมจำหน่าย

 

o  การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า แสดงขั้นตอนการผลิตจากสินแร่ ไปจนถึงเป็นเหล็ก รู้จักกับเตาหลอมเหล็กแบบต่าง ๆ

 

รูปสินแร่เหล็กที่ได้จากเหมืองแร่ใต้พื้นดิน

 

o  โครงสร้างของผลึก มาดูว่าโลหะมีรูปร่างของผลึกเป็นเช่นไร  เช่น โครงสร้างแบบ BCC, FCC, CPH ฯลฯ ความร้อนก่อให้เกิดผลต่อโครงสร้างของผลึก และการเติบโตของผลึก

 

รูป แบบจำลองโครงสร้างผลึกแบบ บีซีซี 

 

o  การเสียรูป และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโลหะในรูปแบบต่าง ๆ  

 

รูปการทดสอบการเสียรูปของโลหะ

 

o  แผนผังไดอะแกรมของเหล็กกล้า, โครงสร้างของเหล็กกล้าแบบต่าง ๆ เช่น เฟอร์ไรต์, เพิลไรต์, ซีเมนต์ไต ฯลฯ

 

 

รูปโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้า

 

o  การวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาค วิเคราะห์โครงสร้างต่าง ๆ เช่น เฟอร์ไรต์, เพิลไรต์, ซีเมนต์ไต ฯลฯ

 

รูปห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาค

 

o  การปรับปรุงสภาพทางความร้อน และการชุบแข็ง

 

 

รูปการปรับสภาพทางความร้อนให้กับชิ้นงาน

 

o  การอบอ่อน และการอบปกติ อธิบายถึงการอบโลหะเพื่อให้ผลทางความแข็ง, ความแข็งแกร่ง, ความเปราะของโลหะ

 

รูปการอบอ่อนให้กับปลอกกระสุนปืน

 

o  แผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ วิธีการดูแผนภาพไดอะแกรมนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโลหะ

 

รูปตัวอย่างแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ ของ AISI 1080

 

o  การอบคืนตัว การปรับปรุงสภาพทางความร้อน เพื่อลดความเค้น เพิ่มความแข็งแกร่งในโลหะ

 

รูปชิ้นงานกำลังอบคืนตัว

 

o  การชุบผิวแข็ง กล่าวถึงหลักการ และวัตถุประสงค์ของการชุบผิวให้แข็ง วิธีการชุบผิวแข็งแบบต่าง ๆ เช่นวิธีคาร์บูไรซิ่ง, วิธีการไนไตรดิง, วิธีการกำจัดวงของความร้อน ฯลฯ

 

รูปฟันเฟืองที่กำลังทำการชุบผิวแข็ง

 

o  กระบวนการโลหะวิทยาที่ไม่ใช่เหล็ก กล่าวถึงกรรมวิธีเบื้องต้นของโลหะวิทยาที่ไม่ใช่เหล็ก พิจารณาความแตกต่างโครงสร้างของอะตอม ผลกระทบที่เกิดจากการผสมกันของธาตุ การพิจารณาเฟสไดอะแกรมอธิบายโครงสร้าง

o  อลูมิเนียม กล่าวถึงคุณสมบัติของอลูมิเนียม และอลูมิเนียมผสม, อธิบายถึงการทำอลูมิเนียมให้บริสุทธิ์, อธิบายถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของอลูมิเนียม

 

รูปชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นอลูมิเนียม

 

o  ทองแดง กล่าวถึงคุณสมบัติของทองแดง และทองแดงผสม, การทำทองแดงให้บริสุทธิ์, การใช้งานของทองสัมฤทธิ์ และทองเหลือง

 

รูปลวดที่ทำมาจากทองแดง

 

o  โลหะที่ไม่ใช่เหล็กอื่น ๆ เช่นแมกนีเซียม, สังกะสี, ดีบุก ฯลฯ

 

รูปกระทะล้อรถยนต์ที่เป็นแม็กนีเซียมผสม

 

o  ฯลฯ

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความเจ็บปวดที่ได้จากการอยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไร จะมีมากกว่าความเจ็บปวดที่ได้จากการที่พยายามทำแล้ว แต่ล้มเหลว”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา