บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,250
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 6,442
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 47,642
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,392,139
  Your IP :18.119.107.96

ตัวอย่างที่ 4.8  เรือข้ามฟาก

 

 

รูปเรือข้ามฟาก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 เรือข้ามฟากแม่น้ำเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10 km/h สัมพันธ์กับน้ำ น้ำในแม่น้ำมีความเร็วสม่ำเสมอ 5 km/h ไปทางตะวันออกสัมพันธ์กับโลก

 

 

รูปตัวอย่างที่ 4.8 a) เรือลำหนึ่งข้ามฟากแม่น้ำ และที่หมายขึ้นไปกระแสน้ำต่ำ b) เพื่อเคลื่อนที่ข้ามแม่น้ำ เป้าหมายของเรือต้องเหนือกระแสน้ำ

 

a) หากหัวเรือไปทางทิศเหนือ คำนวณหาความเร็วของเรือสัมพัทธ์กับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่อยู่บนฝั่งแต่ละด้าน

 

วิธีทำ

กรอบความคิด: ลองนึกภาพการเคลื่อนที่ของเรือข้ามฟากแม่น้ำกระแสน้ำผลักดันให้คุณไปในกระแสน้ำ คุณจะไม่สามารถเคลื่อนที่เป็นแนวตรงเพื่อข้ามแม่น้ำได้ แต่คุณจะไหลไปตามกระแสน้ำดังรูปด้านบน a

 

แบ่งประเภทหมวดหมู่: เหตุเพราะเกิดการเคลื่อนที่ผสมกันของคุณที่สัมพัทธ์กับแม่น้ำ และแม่น้ำสัมพัทธ์กับโลก คุณสามารถจัดหมวดหมู่ ของปัญหานี้เป็นการเคลื่อนที่แบบความเร็วสัมพัทธ์

 

การวิเคราะห์: เราทราบ vbr  ความเร็วของเรือสัมพัทธ์กับแม่น้ำ และ vrE ความเร็วของแม่น้ำสัมพัทธ์กับโลก สิ่งที่เราจะต้องค้นหาคือ vbE ความเร็วของเรือ

 

สัมพัทธ์กับโลก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ก็คือ

 

รูปสมการ

 

เงื่อนไขในสมการจะต้องมีการจัดการเป็นปริมาณเวกเตอร์เวกเตอร์ดังแสดงในรูป a ปริมาณ vbr  ไปทางทิศเหนือ vrE ไปทางทิศตะวันออก และผลรวมของสองเวกเตอร์ vbE อยู่ที่มุม q กำหนดในรูป a

 

หาความเร็ว vbE  ของเรือ สัมพัทธ์กับโลก โดยการใช้ทฤษฏีปิธากอรัส

 

รูปแสดงวิธีทำ

                   

ท้ายสุด: เรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทิศทาง 26.6 องศาตะวันออกของทิศเหนือที่สัมพัทธ์กับโลก ให้สังเกตว่า ความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วกว่าความเร็วของเรืออีกคือ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

      เพราะว่ามันมีความเร็วของกระแสน้ำเพิ่มเข้ามาจึงทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้น สังเกตว่า ในรูป a เป็นความเร็วลัพธ์ของคุณ ที่มุมไปที่ทิศทางข้ามแม่น้ำ ดังนั้นคุณจะจบที่ปลายกระแส ซึ่งเราได้ทำนายไว้

 

 

b) หากว่าการเคลื่อนที่ของเรือเคลื่อนที่ความเร็วเดิมคือ 10 km/hr สัมพัทธ์กับแม่น้ำ และเคลื่อนที่ไปยังทิศเหนือ ดังแสดงในรูป 1 ส่วนหัวที่มันควรจะเป็นคืออะไร?

 

วิธีทำ

 

กรอบความคิด/แบ่งประเภทหมวดหมู่: คำถามข้อนี้เป็นส่วนขยายของข้อที่แล้ว กรอบแนวคิด และการแบ่งหมวดหมู่จึงอยู่ในแนวเดียวกัน ในกรณีนี้ เราต้องมีจุดหมายที่เรือทวนนี้เพื่อที่จะข้ามแม่น้ำ 

 

การวิเคราะห์: จะทำการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับรูปสามเหลี่ยมใหม่ในรูป b ซึ่งในส่วนข้อที่แล้ว a) เราทราบว่า vrE และขนาดของเวกเตอร์ vbr และเราต้องการ vbE  เพื่อเป็นทิศทางข้ามฝั่งแม่น้ำ ให้สังเกตว่าความแตกต่างระหว่างในรูป a และ b ด้านตรงข้ามมุมฉากในรูป b ไม่ยาวกว่า vbE

 

     

รูปแสดงวิธีทำ

       

ท้ายสุด: เรือมุ่งหน้าทวนกระแสน้ำ เพื่อเดินทางไปยังทิศเหนือข้ามแม่น้ำ สำหรับสถานการณ์ที่กำหนด เรือต้องคัดท้ายไป 30 องศาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สำหรับกระแสน้ำที่เร็วกว่า เรือต้องมีเป้าหมายทวนน้ำที่มุมที่ใหญ่กว่า

 

 

 

บทสรุปบทที่ 4

คำนิยาม

เวกเตอร์ระยะขจัด (Displacement vector: ) สำหรับอนุภาค คือ ความแตกต่างระหว่างเวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย กับเวกเตอร์ตำแหน่งเริ่มต้นของมัน ดังสมการ

 

รูปคำอธิบาย และสมการที่ 4.1

 

ความเร็วเฉลี่ย (Average velocity: ) ของอนุภาคในระหว่างช่วงเวลา Dt ซึ่งระยะขจัดของอนุภาคหารด้วยช่วงเวลา

 

รูปสมการที่ 4.2

 

ความเร็วชั่วขณะ (Instantaneous velocity) ของอนุภาคถูกกำหนดให้เป็นขีดจำกัด หรือลิมิตของความเร็วเฉลี่ยซึ่ง Dt เข้าสู่ศูนย์ ความเร็วชั่วขณะจะเป็นดังนี้

 

รูปสมการที่ 4.3

 

ความเร่งเฉลี่ย (Average acceleration: ) ของอนุภาคกำหนดให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในเวกเตอร์ความเร็วชั่วขณะ เวกเตอร์ความเร็ว หารด้วยช่วงเวลา Dt ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สมการจะเป็นดังนี้

 

รูปสมการที่ 4.4 ความเร่งเฉลี่ย

 

ความเร่งชั่วขณะ (Instantaneous acceleration:) ในความเร่งชั่วขณะ กำหนดใช้ค่าลิมิตของการอัตราส่วนการหารของเวกเตอร์ความเร็วกับช่วงเวลา /Dt ซึ่ง Dt เข้าสู่ศูนย์ ความเร่งชั่วขณะจะเป็นดังนี้

 

รูปสมการที่ 4.5 ความเร่งชั่วขณะ

 

การเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง หรือโปรเจคไตล์ (Projectile motion) เป็นประเภทหนึ่งของการเคลื่อนที่ในสองมิติ แสดงโดยวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่กลางอากาศใกล้กับพื้นโลก และตกลงพื้นอย่างอิสระ การเคลื่อนที่นี้สามารถนำมาวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองของอนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ เพื่อการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง ในทิศทางแกน x และการจำลองการเคลื่อนที่ของอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ (ay=-g) ในทิศทางแกน y

     

อนุภาคหนึ่งเคลื่อนที่ในส่วนของวงกลมที่มีการเคลื่อนที่อัตราเร็วคงที่แสดงว่าเป็น การเคลื่อนที่วงกลมสม่ำเสมอ (Uniform circular motion) 

 

แนวคิด และหลักการ

หากอนุภาคเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่ ความเร่ง  และความเร็ว และตำแหน่ง ที่ เวลา t = 0 เวกเตอร์ความเร็ว และตำแหน่งของมันในบางช่วงเวลา t คือ

 

รูปสมการที่ 4.8

 

 

รูปสมการที่ 4.9

 

สำหรับการเคลื่อนที่สองมิติในระนาบเอ็กซ์วายภายใต้ความเร่งคงที่ การอธิบายในแต่ละเวกเตอร์เหล่านี้ มีค่าเท่ากับการอธิบายสองส่วนประกอบ คืออันหนึ่งสำหรับในการเคลื่อนที่ในระนาบเอ็กซ์ และอีกอันก็สำหรับการเคลื่อนที่ในระนาบวาย

 

      มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการนำมาคิดในการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง ในการผสมผสานของการวิเคราะห์แบบจำลองทั้งสอง

 

1) แบบจำลองของอนุภาคในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในทิศทางแนวนอน หรือแกนเอ็กซ์

 

2) แบบจำลองของอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ในทิศทางแนวดิ่ง หรือแกนวาย ที่มีความเร่งดิ่งลงคงที่มีขนาดเท่ากับ g = 9.80 m/s2

 

      อนุภาคในการเคลื่อนที่แบบวงกลมสม่ำเสมอภายใต้ความเร่งในแนวรัศมี ar    เพราะว่าทิศทางของความเร็วเปลี่ยนแปลงในเวลา ความเร่งนี้เรียกว่า ความเร่งสู่ศูนย์กลาง และทิศทางของมันจะวิ่งเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมเสมอ

 

      การเคลื่อนที่ของอนุภาคไปตามส่วนของเส้นโค้ง เช่นวิธีการที่ทั้งขนาด และทิศทางของความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อนุภาคมีเวกเตอร์ความเร่งทำให้มันสามารถพิจารณาเป็นเวกเตอร์ได้สองส่วนประกอบ

 

1) เวกเตอร์ความเร่งส่วนประกอบในแนวรัศมี เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของความเร็ว

 

2) เวกเตอร์ความเร่งส่วนประกอบในแนวสัมผัส  เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดความเร็ว

 

ขนาดของ ar คือ v2/r และขนาดของ at  คือ |dv/dt|

 

      ความเร็ว uPA ของการวัดอนุภาคในกรอบอ้างอิงอยู่กับที่ SA สามารถสัมพันธ์ต่อความเร็ว uPA  ของการวัดอนุภาคที่เหมือนกันในกรอบอ้างอิงกำลังเคลื่อนที่ SB โดย

 

รูปสมการที่ 4.19 และ 4.20

 

กำหนดให้ เป็นความเร็วของ SB ที่สัมพัทธ์กับ SA

 

การวิเคราะห์แบบจำลองเพื่อการแก้ปัญหา

อนุภาคในการเคลื่อนที่วงกลมสม่ำเสมอ หากอนุภาคเคลื่อนที่ในส่วนของเส้นโค้งวงกลมของรัศมี r ด้วยความเร็วคงที่ v ขนาดของความเร่งที่เคลื่อนที่เข้าหาจุดศูนย์กลางหาได้โดย

 

ac = v2/r                              (4.14)

 

และคาบเวลา ของการเคลื่อนที่ของอนุภาค หาได้โดย

 

T = 2pr/v                             (4.15)

 

จบบทที่ 4

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“พ่อ แม่ คือ รากฐานของชีวิต

ถ้าไม่คิดบำรุงราก ก็ยากที่จะเจริญ”

 

ดังตฤณ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา