บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 150
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 12,228
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,428
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,925
  Your IP :18.117.12.32

 

 

รูป a) รถยนต์เคลื่อนที่ไปตามวงเวียนด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นวงกลม

b) อนุภาคเคลื่อนที่ตามแนวส่วนของวงกลมจาก A ไป B เวกเตอร์ความเร็วเปลี่ยนแปลงไปจาก vi ถึง vf

c) การสร้างสำหรับการคำนวณทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในความเร็ว Dv ซึ่งเป็นการเข้าหาศูนย์กลางของวงกลมขนาดเล็กของ Dr     (ซ้ำ)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

        รูปb) และ c) ด้านบน เวกเตอร์ความเร็ว มีการวาดหัวต่อหางของเวกเตอร์ Dv  ต่อที่หัวของเวกเตอร์ เป็นตัวแทนของเวกเตอร์ที่บวกกัน vf = vi +Dv  

 

      ทั้งรูป b) และ c) เราสามารถเขียนรูปสามเหลี่ยมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ ในมุม Dq ระหว่างเวกเตอร์สองตำแหน่ง ในรูปที่ b) จะเหมือนกันระหว่างมุมของเวกเตอร์ความเร็วในรูปที่ c) เพราะว่าเวกเตอร์ความเร็ว v  มักจะตั้งฉากกับเวกเตอร์ตำแหน่ง r เพราะฉะนั้น สามเหลี่ยมทั้งสองรูปจึงมีลักษณะคล้ายกัน (สามเหลี่ยมสองรูปที่คล้ายกัน ก็คือ ถ้าหากมุมระหว่างด้านใด ๆ สองด้านเหมือนกันในสามเหลี่ยมทั้งคู่ และถ้าขนาดของความยาวของด้านเหล่านี้เหมือนกัน) เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านสำหรับสามเหลี่ยมทั้งสองในรูป b) และ c) ดังนี้

 

 

รูปสมการ

 

กำหนดให้   v = vi = vf

                r = ri = rf

 

สมการนี้สามารถสามารถแก้ปัญหาสำหรับค่าสัมบูรณ์ Dv  และการแสดงที่ได้สามารถแทนไปยังสมการที่ 4.4 เพื่อให้ขนาดของความเร่งเฉลี่ย เหนือช่วงเวลาสำหรับการเคลื่อนที่ของอนุภาคจาก A ถึง B

 

รูปสมการ

      ตอนที่รูปจุด A และ B ในรูปที่ b) เข้าใกล้กันมาก ซึ่ง A และ B จะเป็นช่วงเวลา Dt เข้าสู่ศูนย์ ค่าสัมบูรณ์ Dr  เข้าสู่ระยะทางที่เคลื่อนที่ โดยอนุภาคตามส่วนของวงกลม และอัตรา Dr/Dt เข้าสู่อัตราเร็ว v

 

      นอกจากนี้ ความเร่งเฉลี่ย จะกลายไปเป็นความเร่งชั่วขณะที่จุด A ดังนั้น ในลิมิต Dt®0 ขนาดของความเร่ง ก็คือ

 

ac = v2/r                              (4.14)

 

ความเร่งอย่างนี้ เรียกว่า ความเร่งสู่ศูนย์กลาง (Centripetal acceleration) (หมายถึง แสวงหาศูนย์กลาง) ตัวห้อยของสัญลักษณ์ความเร่งความเร็วเป็นเข้าสู่ศูนย์กลาง

 

      ในหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ สถานการณ์ มันจะสะดวกยิ่งขึ้น ถ้าจะอธิบายการเคลื่อนที่ ของอนุภาคที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ที่อยู่ในรัศมีของวงกลม r ในรูปแบบของ คาบเวลา (Period: T) ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นช่วงเวลาที่จำเป็นสำหรับเคลื่อนที่ที่สมบูรณ์ของอนุภาค

 

      ในช่วงเวลา T อนุภาคเคลื่อนที่เป็นระยะทางของ 2pr ซึ่งเท่ากับเส้นรอบวงของวงกลมของอนุภาค ดังนั้น เพราะอัตราเร็วของมันเท่ากับเส้นรอบวงของส่วนของวงกลมหารด้วยคาบเวลา หรือ v = 2pr/T แล้วทำการย้ายข้างสมการเพื่อหาค่า ของคาบเวลาได้ดังนี้

 

T = 2pr/v                             (4.15)

 

สมการ 4.14 และ 4.15 จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อ อนุภาคอยู่ในรูปแบบของการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ซึ่งจะถูกระบุตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ที่กำหนด

 

ตัวอย่างที่ 4.6  ความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก

 

อะไรคือความเร่งสู่ศูนย์กลางของโลก ขณะที่โลกเคลื่อนที่ตามวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์

 

รูปโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในตัวอย่างที่ 4.6

 

วิธีทำ

 

กรอบความคิด: เราลองคิดถึงรูปของโลกมีวงโคจรเป็นวงกลม เราจะจำลองโลก เราจะจำลองโลกให้เป็นอนุภาค เคลื่อนที่เป็นวงโคจรของโลก เป็นวงกลม (ความเป็นจริง โลกเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี จะได้อธิบายในบทที่ 13)

 

แบ่งประเภทหมวดหมู่: ขั้นตอนแนวคิดที่ช่วยให้เราสามารถจัดหมวดหมู่ของปัญหาเป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคในรูปแบบวงกลม

 

การวิเคราะห์: เราไม่ทราบว่าความเร็วการโคจรของโลกแทนลงไปในสมการที่ 4.14 ด้วยความช่วยเหลือของสมการที่ 4.15 ทำให้เราสามารถสร้างสมการที่ 4.14 ใหม่ ในเทอมคาบของวงโคจรของโลก ซึ่งเราจะรู้คือหนึ่งปี และรัศมีของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์มีค่าเท่ากับ 1.496´1011เมตร

 

จากการผสมสมการที่ 4.14 และ 4.15 จะได้

 

ac = v2/r

 

= (2pr/T)2/r

 

= 4p2r/T2     

 

แทนค่าตัวเลขลงในสมการ

 

ac = 4p2(1.496 ´ 1011m)/(1 yr)2 ´ (1 yr/(3.156 ´ 107s))

 

= 5.93 ´ 10-3m/s2                   ตอบ

 

ท้ายสุด: ความเร่งนี้มีจำนวนน้อยมากกว่าความเร่งของวัตถุที่ตกอย่างอิสระบนพื้นผิวโลก เทคนิคที่สำคัญก็คือเราจะเรียนรู้ ที่มีการเปลี่ยนความเร็ว v ในสมการที่ 4.14 ในเทอมของคาบ T ของการเคลื่อนที่ ในปัญหามากมาย ก็มีโอกาสที่จะรู้จัก T มากกว่า v

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ข้อดีของการล้ม

ก็คือ

การได้หัดลุกขึ้นใหม่”

 

  

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา