บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,222
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,881
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,116
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,613
  Your IP :18.118.254.94

4.4 การวิเคราะห์แบบจำลอง ของอนุภาคในการเคลื่อนที่แบบวงกลม

 

 

 

รูป a) รถยนต์เคลื่อนที่ไปตามวงเวียนด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นวงกลม

b) อนุภาคเคลื่อนที่ตามแนวส่วนของวงกลมจาก A ไป B เวกเตอร์ความเร็วเปลี่ยนแปลงไปจาก vi ถึง vf

c) การสร้างสำหรับการคำนวณทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในความเร็ว Dv ซึ่งเป็นการเข้าหาศูนย์กลางของวงกลมขนาดเล็กของ Dr     

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

                จากรูปด้านบน แสดงให้เห็นถึง รถเคลื่อนที่ในบางช่วงของวงเวียน เราจะได้อธิบายการเคลื่อนไหวนี้ ที่เรียกว่า การเคลื่อนที่เป็นวงกลม (Circular motion) ถ้ารถยนต์กำลังเคลื่อนที่ในช่วงวงเวียนนี้ด้วยอัตรเร็วคงที่ v เราจะเรียกว่า การเคลื่อนที่วงกลมสม่ำเสมอ (Uniform circular motion) เพราะมักจะเกิดขึ้นบ่อย การเคลื่อนที่นี้เป็นการวิเคราะห์แบบจำลองที่เรียกว่า อนุภาคจากการเคลื่อนที่วงกลมสม่ำเสมอ (Particle in uniform circular motion) เราจะได้อธิบายแบบจำลองในหัวข้อนี้

 

วิดีโออธิบายการเคลื่อนที่วงกลม

 

      ในการหาค่าของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ ในการเคลื่อนที่เป็นวงกลมมันยังคงมีความเร่ง การพิจารณาสมการเพื่อนิยามสำหรับความเร่งในสมการที่ 4.5 a = dv/dt สังเกตได้จากความเร่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนทิศทางความเร็ว เพราะว่า ความเร็วคือปริมาณเวกเตอร์

 

      ความเร่งสามารถเกิดขึ้นได้ในสองทิศทาง ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 4.1 โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดของความเร็ว และทิศทางของความเร็ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนหลัง เป็นวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ในการเคลื่อนที่เป็นเส้นทางวงกลม

 

      เวกเตอร์ขนาดของความเร็วที่คงที่ จะสัมผัสไปกับเส้นทางของวัตถุเสมอ และตั้งฉากกับรัศมีของเส้นทางวงกลม

 

 

รูปส่วนประกอบการเคลื่อนที่ของรถเป็นวงกลม

 

      ตอนนี้ แสดงให้เห็นว่า เวกเตอร์ความเร่งในรูปแบบของการเคลื่อนที่ที่เป็นวงกลม มักจะตั้งฉากกับเส้นทางที่เคลื่อนที่เสมอ และจะชี้ไปยังศูนย์กลางของวงกลม แต่ถ้าไม่ใช่การเคลื่อนที่แบบนี้ ก็จะเป็นการเคลื่อนที่ขนานกับเส้นทาง และมันก็จะขนานไปกับเวกเตอร์ความเร็ว

 

จากที่กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีความเร่งในการเคลื่อนที่วงกลม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอัตราเร็วของอนุภาคตลอดเส้นทาง

 

      จากสถานการณ์นี้ อนุภาคเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ตลอดเส้นทาง เพราะฉะนั้น ในการเคลื่อนที่เป็นวงกลม เวกเตอร์ความเร่งเป็นเพียงส่วนประกอบที่ตั้งฉากกับเส้นทาง ซึ่งเป็นการเข้าหาศูนย์กลางของวงกลม

 

      ตอนนี้เราพบความสำคัญในการหาขนาดของความเร่งของอนุภาค ให้เราพิจารณาผังไดอะแกรมของตำแหน่ง และเวกเตอร์ความเร็วในรูป b ในรูปภาพยังแสดงให้เห็นเวกเตอร์ที่เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง Dr สำหรับช่วงเวลาที่กำหนดไว้

 

รูป a) รถยนต์เคลื่อนที่ไปตามวงเวียนด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นวงกลม

b) อนุภาคเคลื่อนที่ตามแนวส่วนของวงกลมจาก A ไป B เวกเตอร์ความเร็วเปลี่ยนแปลงไปจาก vi ถึง vf

c) การสร้างสำหรับการคำนวณทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในความเร็ว Dv ซึ่งเป็นการเข้าหาศูนย์กลางของวงกลมขนาดเล็กของ Dr  (ซ้ำ)   

 

      อนุภาคตามเส้นทางวงกลมของรัศมี r คือส่วนของที่แสดงเป็นเส้นประ อนุภาคที่ A ที่เวลา ti และความเร็วของมันที่เวลานั่นก็คือ vi  มันคือที่จุด B ที่ในช่วงเวลาต่อมา tj  และความเร็วที่เวลานั่นก็คือ vf  ขอให้เรายังถือว่า vi  และ vf  แตกต่างกันเฉพาะในทิศทาง แต่ขนาดเหล่า ยังเหมือนกัน (นั่นคือ vi  = vf = v เพราะว่ามันเป็นรูปแบบการเคลื่อนที่วงกลม)

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“มาตรฐานของแต่ละคนนั้น

แตกต่างกัน

การที่จะทำให้ทุกคนพึงพอใจในตัวเรา

มันคือ

 

ความพยายามที่เป็นไปไม่ได้”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา