บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,152
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,382
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,617
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,114
  Your IP :3.138.34.158

ตัวอย่างที่ 3.4   ระยะขจัดลัพธ์

อนุภาคเคลื่อนที่บนแกนสามแกน ซึ่งแต่ละจุดจะมีตำแหน่งต่าง ๆ  ดังนี้

 

รูปสมการตำแหน่งของอนุภาค

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ให้หาเครื่องหมายหน่วยเวกเตอร์ อีกทั้งหาระยะขจัดลัพธ์ และขนาดของมัน

 

วิธีทำ

 

ถึงแม้ว่า ในแกนเอ็กซ์จะเพียงพอที่จะหาจุดของตำแหน่งในหนึ่งมิติ แต่เราจำเป็นต้องทราบเวกเตอร์ลัพธ์ เพื่อให้สัมพันธ์กับตำแหน่งจุดอื่นในสอง หรือสามมิติ

 

เครื่องหมาย เดลต้าอาร์ลัพธ์ Dr ซึ่งลักษณะทั่วไปของระยะขจัดในหนึ่งมิติ Dx ตามสมการที่ 2.1

 

      แต่ในเรื่องของระยะขจัด ในพื้นที่สามมิติจะมีความยากมากกว่าการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ เพื่อให้เห็นภาพควรวาดลงบนกระดาษดูก่อน

 

      สำหรับปัญหานี้ จะเริ่มต้นจินตนาการด้วยการลากดินสอที่จุดกำเนิดในกระดาษกราฟ หรือมีการวาดแกนเอ็กซ์, วาย และแซด

 

      โดยเวกเตอร์ลัพธ์แรก (สีแดง) ลากดินสอไป15 เซนติเมตรไปทางขวาตลอดแกนเอ็กซ์ แล้วลาก 30 เซนติเมตรขึ้นไปตามแนวแกนวาย และ 12 เซนติเมตร มาทางแกนแซด ลากเส้นประตั้งฉากเพื่อให้มาตัดกันก็จะเป็นตำแหน่งของเวกเตอร์ลัพธ์ 1

 

      เวกเตอร์ที่สอง (สีน้ำเงิน) ลากดินสอไป 23 เซนติเมตรขนานกับแกนบวกเอ็กซ์ แล้วลากดินสอไป 14 เซนติเมตรขนาดกับแกนลบวาย และ 5 เซนติเมตรไปทางแกนลบแซด ลากเส้นประตั้งฉากเพื่อให้มาตัดกันก็จะเป็นตำแหน่งของเวกเตอร์ลัพธ์ 2  ตอนนี้ที่ระยะขจัด จากจุดกำเนิดจะถูกพิจารณาเป็นการบวกเวกเตอร์สองเวกเตอร์ +  

 

      เวกเตอร์ที่สาม (สีเขียว) ลากดินสอไปทางด้านซ้ายของแกนเอ็กซ์ หรือลบเอ็กซ์ เท่ากับ 13 เซนติเมตร และสุดท้าย ลากดินสอไป 15 เซนติเมตรขนาดไปกับกราฟไปทางบวกวาย ลากเส้นประตั้งฉากเพื่อให้มาตัดกันก็จะเป็นตำแหน่งของเวกเตอร์ลัพธ์ 3  ตำแหน่งสุดท้ายจะพิจารณาเป็นเวกเตอร์ลัพธ์ทั้งสามบวกกัน +  +  จากจุดกำเนิด เขียนกราฟตามรูปด้านล่าง

 

 

รูปการพล็อตกราฟตำแหน่งของเวกเตอร์

 

      ถึงแม้ว่าอาจจะมีความยากลำบากในการคิดในรูปแบบสามมิติ เราสามารถแทนปัญหานี้ไปเป็นปัญหาในด้านการคำนวณในทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมาะสำหรับการคิดเวกเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถดูวิธีได้ตามด้านล่างนี้

 

เพื่อหาระยะขจัดลัพธ์ ให้ทำการบวกเวกเตอร์ทั้งสาม

 

รูปแสดงวิธีทำการคำนวณตัวอย่างที่ 3.4

 

 

ตัวอย่างที่ 3.5   การเดินทาง

 

การเดินทางของนักเดินทาง เริ่มต้นเดินทางอันดับแรกเดินไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไป 25.0 กิโลเมตร แล้วหยุด และตั้งเต็นท์ นอนในคืนนั้น วันต่อมา เขาเดินไป 40.0 กิโลเมตรไปในทิศทาง 60.0° ไปทางเหนือของทิศตะวันออก ไปสิ้นสุดที่การตั้งนั่งร้านในป่า ให้หา

 

 

รูปนักเดินทาง

 

รูปการเดินทางของนักเดินทาง

 

a) คำนวณองค์ประกอบระยะขจัดของการเดินทางในแต่ละวัน

b) คำนวณส่วนประกอบย่อยของการเคลื่อนที่ระยะขจัดลัพธ์  สำหรับการเดินทางให้ทำหา และอธิบายเป็นเวกเตอร์ลัพธ์ ในรูปแบบของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย

   

วิธีทำ

 

เราคิดปัญหาได้จากการวาดรูปด้านล่าง

 

รูประยะขจัดเวกเตอร์

 

                ถ้าแสดงถึงระยะขจัดของเวกเตอร์วันแรก กับวันที่สองโดย เวกเตอร์เอและเวกเตอร์บีตามลำดับ และใช้ยานพาหนะเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นของพิกัด เราจะได้เวกเตอร์ตามรูปด้านบน

 

a) คำนวณองค์ประกอบระยะขจัดของการเดินทางในแต่ละวัน

 

      การวิเคราะห์ ระยะขจัดเวกเตอร์เอ  มีขนาดเท่ากับ 25.0 km มีทิศทาง 45° ด้านล่างของแกน เอ็กซ์ หาส่วนประกอบของเวกเตอร์เอ โดยการใช้สมการ 3.8 และ 3.9

 

รูปวิธีทำ

 

ค่าลบของ Ay แสดงให้เห็นว่าการเดินทางในทิศทางลบไปตามแกน y ในวันแรก เครื่องหมายของ Ax และ Ay นอกจากนี้ยังมีให้เห็น จากสมการที่ 3.17

 

หาส่วนประกอบของเวกเตอร์บี  การใช้สมการ 3.8 และ3.9

 

รูปวิธีทำ

 

b) คำนวณส่วนประกอบย่อยของการเคลื่อนที่ระยะขจัดลัพธ์  สำหรับการเดินทางหา และอธิบายสำหรับเวกเตอร์ลัพธ์ ในส่วนของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย

 

รูปวิธีทำ

กล่าวโดยสรุป มองไปที่ภาพกราฟในรูปด้านบน เราประเมินค่าตำแหน่งของการตั้งนั่งร้านในป่ามีระยะทางค่าประมาณ 38 กิโลเมตร, 17 กิโลเมตร ซึ่งสอดคล้องกับส่วนประกอบของเวกเตอร์ลัพธ์ในตำแหน่งสุดท้ายของการเดินทาง

 

      นอกจากนี้ส่วนประกอบย่อยทั้งสองของเวกเตอร์ลัพธ์เป็นบวกทั้งคู่ เมื่อวางตำแหน่งสุดท้ายในระบบพิกัดฉาก ซึ่งเป็นส่วนประกอบกับรูปกราฟตัวอย่างนี้ข้างบน

 

 

บทสรุปบทที่ 3

 

คำนิยาม

 

ปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantities) คือ มีค่าแต่เพียงขนาดตัวเลข แต่ไม่มีทิศทางมาเกี่ยวข้อง

 

ปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantities) คือ มีค่าทั้งขนาด และทิศทาง ทำตามกฎการบวกเวกเตอร์ ขนาดของเวกเตอร์จะเป็นจำนวนบวกเสมอ

 

 

แนวคิด และหลักการ

 

      เมื่อมีเวกเตอร์ สองเวกเตอร์ หรือมากกว่าสองเวกเตอร์มาบวกกัน พวกมันทั้งหมดต้องเป็นปริมาณหน่วย และประเภทเดียวกัน เราสามารถบวกสองเวกเตอร์เอ และเวกเตอร์บี วิธีการนี้ทำให้หาแรงลัพธ์ เวกเตอร์ลัพธ์ = เวกเตอร์เอ + เวกเตอร์บี ลากจากหัวต่อจากหาง และหางต่อหัว

 

      วิธีการที่สองของการบวกเวกเตอร์โดยการใช้ส่วนประกอบของเวกเตอร์ย่อย ไปตามแนวแกน กล่าวคือ ส่วนประกอบแกนเอ็กซ์ Ax ของเวกเตอร์เอ มีค่าเท่ากับภาพฉายของเวกเตอร์เอไปตามแนวแกนเอ็กซ์ของระบบพิกัดคาทีเชียน ซึ่งจะเขียนได้คือ Ax = A cos q แล้วส่วนประกอบตามแกนวาย Ay ของเวกเตอร์เอเป็นภาพฉายของเวกเตอร์เอตามแกนวาย ก็คือ Ay = A sin q

 

รูปอธิบายสรุป

 

      เราสามารถหาแรงลัพธ์ของสอง หรือมากกว่าสองเวกเตอร์ได้โดยการแก้ปัญหาเวกเตอร์ทั้งหมด แตกไปยังส่วนประกอบแกนเอ็กซ์ และวาย การรวมส่วนประกอบลัพธ์ส่วนประกอบย่อยเอ็กซ์ และวายเหล่านี้ และการใช้ ทฤษฏีพิธากอรัส เพื่อหาขนาดของเวกเตอร์ลัพธ์ เราสามารถหามุมของเวกเตอร์ลัพธ์นับจากแกนเอ็กซ์โดยการใช้ฟังชันก์ของตรีโกณมิติ

 

จบบทที่ 3

บทต่อไปจะเรียนรู้เกี่ยวกับ การเคลื่อนที่ในสองมิติ

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าไม่มี สติ และปัญญาเสียแล้ว

 

ความสุข ก็อาจจะกลายเป็นความทุกข์ไปได้ง่าย ๆ”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา