บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 143
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,421
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,621
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,118
  Your IP :18.219.236.62

3.4 ส่วนประกอบของเวกเตอร์

 

      วิธีการทางกราฟิก หรือการวัดด้วยไม้บรรทัดของการบวกเวกเตอร์ ไม่ค่อยแนะนำให้นำไปใช้ในการคำนวณที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือนำไปใช้ในปัญหาที่เป็นสามมิติ

 

      ในหัวข้อนี้ เราจะพิจารณาวิธีการของการบวกเวกเตอร์ที่เกิดจากการแตกแรงฉายไปตามแนวแกนของกราฟ การฉายนี้เรียกว่า ส่วนประกอบของเวกเตอร์ (Components of the vector) หรือส่วนประกอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular components) เวกเตอร์ใด ๆ สามารถได้โดยการแตกแรงเข้าสู่แนวแกน

 

      พิจารณาเวกเตอร์ เอ วางนอนอยู่ในระนาบเอ็กซ์ วาย และทำให้มุม q กับแกนบวกเอ็กซ์ ดังแสดงในรูปด้านล่าง  

 

 

รูปการแตกแรงของเวกเตอร์ไปตามแนวแกนเอ็กซ์ และวาย

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

เวกเตอร์สามารถแตกออกเป็นแรงย่อยไปตามแนวแกน ซึ่งเป็นส่วนประกอบเวกเตอร์เอ เวกเตอร์เอฉายไปตามแนวแกนเอ็กซ์ ก็คือเวกเตอร์เอเอ็กซ์  ซึ่งมีทิศทางที่ขนานไปกับแกนเอ็กซ์ และเวกเตอร์เอฉายไปตามแนวแกนวาย ก็คือเวกเตอร์เอวาย  ซึ่งมีทิศทางที่ขนานไปกับแกนวาย

 

 

รูปเวกเตอร์ตามแนวแกน

 

      เราสามารถเคลื่อนย้ายเวกเตอร์เอวายไปทางแกนบวกเอ็กซ์ไปเป็นหัวต่อหาง เวกเตอร์ทั้งสามก็จะมีรูปแบบสามเหลี่ยมมุมฉาก

 

      และนั่นก็คือ เวกเตอร์เอ เท่ากับ เวกเตอร์เอเอ็กซ์ บวกกับ เวกเตอร์เอวาย =  +  เรามักจะอ้างถึง ส่วนประกอบของเวกเตอร์เอ  เขียนโดย Ax และ Ay (ไม่ต้องใช้ตัวอักษรตัวหนา) ส่วนประกอบ Ax เป็นภาพฉายของเวกเตอร์เอ  ตามแนวแกนเอ็กซ์ และส่วนประกอบ Ay เป็นภาพฉายของเวกเตอร์เอ  ตามแนวแกนวาย

 

รูปการแตกแรงไปตามแนวแกน และย้ายเวกเตอร์แกนวาย

 

      ส่วนประกอบของการแตกแรงไปตามแนวแกนเหล่านี้ สามารถทำการแตกไปได้ทั้งแกนบวก หรือลบก็ได้ ส่วนประกอบ Ax เป็นบวก ถ้าส่วนประกอบเวกเตอร์จุดเวกเตอร์เอเอ็กซ์ ในทิศทางบวกเอ็กซ์ และเป็นลบถ้า จุดในทางลบในทิศทางแกนเอ็กซ์ เหมือนกับส่วนประกอบ Ay

 

                คำนิยามของไซน์ และโคไซน์ เราเห็นว่า cos q = Ax/ A และ sin q = Ay/ A ดังนั้น ส่วนประกอบเวกเตอร์เอก็คือ

 

Ax = A cos q                                (3.8)

 

 Ay= A sin q                                 (3.9)

 

 

รูปเวกเตอร์ที่แตกแรง

 

      ขนาดของส่วนประกอบแรงที่แตกตามแนวแกนเหล่านี้ คือ ความยาวของด้านสองด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากด้านตรงข้ามมุมฉากของความยาว A

 

      เพราะฉะนั้น ขนาด และทิศทางของเวกเตอร์เอ ก็คือ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันของส่วนประกอบแรง ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

 

 

รูปสมการ 3.10 และ3.11

 

                ให้สังเกตว่าเครื่องหมาย Ax และ Ay เป็นแบบไหน จะขึ้นอยู่กับมุม q ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามุม q = 120° ส่วนประกอบของแรงที่แตกในแนวแกนเอ็กซ์ Ax จะมีค่าเป็นลบ และในแนวแกนวาย Ay จะมีค่าเป็นบวก

 

      หรือถ้ามุม q = 225° ส่วนประกอบของแรงทั้งคู่จะมีค่าเป็นลบ ดังรูปด้านล่าง

 

รูปเครื่องหมายของส่วนประกอบเวกเตอร์ขึ้นอยู่กับทิศทางตำแหน่งของเวกเตอร์ว่าจะไปทางไหน

 

สรุปให้เห็นว่าเครื่องหมายนำหน้าส่วนประกอบแรง เมื่อเวกเตอร์เอ ตั้งอยู่ในแนวด้าน (Quadrants) ต่าง ๆ

 

      เมื่อแก้ปัญหา คุณสามารถระบุเวกเตอร์เอ ทั้งที่มีส่วนประกอบของแรงย่อย Ax และ Ay หรือที่มีขนาด A และทิศทาง q

 

      ถ้ากำลังทำการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ในเรื่องเวกเตอร์โดยมีการแตกแรงไปยังแกนหลัก ปัญหาจำนวนมากก็สามารถสร้างเส้นสมมติที่เป็นแกนหลัก ที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งมันจะสะดวกที่จะแสดงส่วนประกอบของเวกเตอร์ไปตามระบบพิกัดทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน

 

      ยกตัวอย่างเช่น เราจะลองมาพิจารณาวัตถุที่วางอยู่บน พื้นเอียง (Inclined planes) ในตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณ มักจะปรับทิศทางในแกนเอ็กซ์ให้ขนานไปกับระนาบเอียง และแกนวายตั้งฉากกับระนาบที่เอียงดังรูปข้างล่าง 

 

 

รูปตัวอย่างวัตถุบนระนาบเอียงโดยกำหนดแกนไปตามระนาบที่เอียง

    

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อย่าพยายามเป็นคนอื่น หรือคนที่เราอยากจะเป็น

เพราะมันคือ การดูถูกตัวเราเอง

 

จงเป็นสิ่งที่ตัวเราเป็น ในแบบที่ดีที่สุด แบบที่เราภูมิใจกับมันมากที่สุด”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา