บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 827
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,486
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,721
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,218
  Your IP :18.189.193.172

2.5 ผังไดอะแกรมการเคลื่อนที่

 

      แนวคิดเกี่ยวกับความเร็ว และความเร่ง ถ้ายังมีความไม่เข้าใจก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ ซึ่งในความเป็นจริง ทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณ สามารถแสดงให้เห็นได้ในรูปแบบของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ รูปแบบที่แสดงออกมาให้เห็นนี้เราเรียกว่า ผังไดอะแกรมการเคลื่อนที่ (Motion diagram ไดอะแกรมนี้บางครั้งเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาในเรื่องความเร็ว และความเร่งของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้

 

      ไดอะแกรมการเคลื่อนที่ มักจะทำให้อยู่ในภาพที่เป็นรูปแบบ สโทรปออสโคปิก (Stroboscopic) ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ หลักการง่าย ๆ ก็คือ ภาพ ๆ หนึ่งจะเห็นรูปวัตถุหลายรูปจากการถ่ายภาพโดยการใช้ไฟแฟลชกระพริบไฟในอัตราที่คงที่       

 

     

รูปตัวอย่างภาพสโทรปออสโคปิก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอแสดงภาพสโทรปออสโคปิก

 

ไดอะแกรมการเคลื่อนที่ ที่ใช้ในการศึกษารถยนต์ จะตั้งค่าของภาพสโทรปในการเคลื่อนที่ของรถเป็นเส้นตรงไปในทิศทางเดียว 

 

 

รูปการเคลื่อนที่ของรถจำลอง

 

 

รูปการเคลื่อนที่ของรถจำลอง

 

                เคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา แสงแฟลชจะทำงานกระพริบไฟระหว่างรถเคลื่อนที่ อัตราเท่ากันในแต่ละส่วนของแผนภาพ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในปริมาณเวกเตอร์ทั้งสอง เราจะใช้เราใช้ลูกศรแดงสำหรับความเร็ว และลูกศรสีม่วงสำหรับความเร่ง

 

 

 

รูปผังการเคลื่อนที่แบบภาพสโทรปออสโคปิกของรถยนต์

 

ลูกศรจะแสดงให้เห็นเป็นช่วง ๆ ตลอดการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่จะได้อธิบายในการเคลื่อนที่ของรถในแต่ละภาพ

 

 

รูปรถที่มีความเร็วคงที่ แต่ไม่มีความเร่ง

 

                รูปภาพด้านบน รถยนต์ที่มีระยะห่างเท่า ๆ กัน แสดงให้เห็นว่ารถยนต์เคลื่อนที่ผ่านแบบที่มีระยะเดียวกันในแต่ละช่วงเวลา นี้ระยะห่างเท่ากันที่สอดคล้องกับรถที่กำลังเคลื่อนที่ ความเร็วคงที่เป็นบวก และความเร่งเป็นศูนย์  เราสมมติรถให้เป็นอนุภาค และพิจารณามันกับส่วนที่เล็กที่สุดภายใต้แบบจำลองความเร็วคงที่

 

รูปรถมีความเร็วเพิ่มขึ้น และความเร่ง

 

                จากรูปด้านบนแสดงให้เห็นว่าระยะห่างค่อย ๆ ห่างไกลออกไป รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ในกรณีนี้ ลูกศรที่แสดงความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามความยาวพร้อมกับเวลา เพราะว่า ระยะทางของรถระหว่างตำแหน่งที่ติดกันเพิ่มขึ้นตามเวลา

 

                คุณสมบัติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วบวก และความเร่งที่เป็นบวก ความเร็วและความเร่งอยู่ในทิศทางเดียวกัน ในส่วนของแรงจะมีทิศทางไปตามทางเคลื่อนที่ ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้น 

 

รูปรถมีความเร็วลดลง และมีความหน่วง (ความเร่งลดลง หรือเป็นลบ)

 

                รูปด้านบนเราสามารถบอกได้ว่ารถเคลื่อนที่ช้าลงในขณะวิ่งไปทางขวา เพราะว่าการเคลื่อนที่ของมันลดลงไปตามเวลา กรณีนี้รถเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร่งที่เป็นลบ ความยาวของลูกศรความเร็วลดลงในที่สุดก็ถึงศูนย์

 

                จากไดอะแกรมนี้ เราจะเห็นว่าลูกศรความเร่ง และความเร็วไม่ได้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เป็นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เป็นบวก แต่ความเร่งเป็นลบ (การเคลื่อนที่ชนิดนี้คือการที่รถเคลื่อนที่ไป และรถถูกหยุดโดยการเบรก) ทิศทางของความเร็ว และความเร่งจะอยู่ตรงกันข้ามกัน ส่วนในเรื่องของแรง ทิศทางของแรงจะมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ นั่นคือมันทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลงนั้นเอง

 

                จากลูกศรแสดงความเร่ง (สีม่วง) ในแต่ละรูปด้านบน มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ช่วงความยาวที่เหมือนกัน ดังนั้นผังไดอะแกรมเหล่านี้ได้แสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ จากการวิเคราะห์แบบจำลองเหล่านี้ จะมีความสำคัญในการอธิบายในหัวข้อต่อไป

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าคุณหัวเสีย คุณจะเสียหัว”

จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง)

 

                

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา