บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 235
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,513
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,713
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,210
  Your IP :3.142.195.24

เมื่อกำลังแก้ปัญหา เราจะเห็นค่าที่ไม่รู้อยู่ นั่นคือสิ่งที่เราจะต้องทำการหาคำตอบ ซึ่งต้องหาวิธีในการแก้ปัญหา อาจมีสมการมากมายหลายกรณีที่พบว่า จะใช้อะไรเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในตอนเริ่มแก้ปัญหาขั้นแรกก็คือ ระบุการวิเคราะห์แบบจำลองให้เหมาะสมกับปัญหา

 

      ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้จะทำให้เราเกิดการคิดอย่างรอบคอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถเชื่อมโยง จับคู่ หรือบางครั้งอาจทำให้นึกถึงสิ่งที่เคยเห็นเคยผ่านตา มาก่อน

 

      ทันทีที่มีการระบุการวิเคราะห์แบบจำลอง เราจะใช้ตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องในสมการ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแบบจำลอง เพราะฉะนั้น ก็กล่าวได้ว่า การวิเคราะห์แบบจำลองที่ใช้ จะแสดงในรูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์

 

      ทีนี้เราจะลองใช้สมการที่ 2.2 เพื่อนำมาสร้างการวิเคราะห์แบบจำลองเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา สมมติว่า สร้างแบบจำลองของอนุภาคให้อยู่ภายใต้ความเร็วคงที่ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสถานการณ์แบบนี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นการสร้างแบบจำลองจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

      ถ้าความเร็วของอนุภาคคงที่ แล้วความเร็วชั่วขณะของอนุภาค ณ จุดใด ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง จะมีค่าเท่ากับความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลานั้น นั่นก็คือ

 

vx = vx,avg

 

 

เพราะฉะนั้น จากสมการที่ 2.2 ทำให้เรามีสมการเพื่อใช้ในทางคณิตศาสตร์ของสถานการณ์นี้ ก็คือ

 

ความเร็ว = ระยะขจัด / ระยะเวลา

 

 

vx = Dx / Dt                    (2.6)

 

กำหนดให้   vx = ความเร็ว (m/s, ft/s)

                Dx = ระยะขจัด (m, ft)

                Dt = ระยะเวลา (s)

           

จำไว้ว่า Dx = xfxi เราจะได้           vx = (xfxi) / Dt

 

เมื่อทำการย้ายข้างสมการ                 xfxi = vxDt

 

                                                xf = xi + vx Dt

 

จากสมการด้านบนนี้ บอกเราได้ว่าตำแหน่งของอนุภาคเริ่มต้น xi ที่เวลา t = 0 นำไปบวกกับระยะขจัด vxDt  นั่นเกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลา Dt

 

      แต่ในทางปฏิบัติ เรามักจะเริ่มที่จุดเริ่มต้นของเวลาที่ t = 0 และเวลาในตอนท้ายก็จะเป็น tf = t ดังนั้นสมการของเราก็จะกลายเป็น

 

ระยะทางสุดท้าย = ระยะทางเริ่มต้น + ความเร็ว ´ เวลา

 

            xf = xi + vx t    (vx = ค่าคงที่)                  (2.7)

 

กำหนดให้   xf = ระยะทางสุดท้าย (m, ft)

                xi = ระยะทางเริ่มต้น (m, ft)

                vx = ความเร็ว (m/s, ft/s)

                t = เวลา (s)

 

ตัวอย่างที่ 2.5 จงหาระยะทางสุดท้ายที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่แนวตรงจากจุดเริ่มต้นที่รถเคลื่อนที่มาได้ 120 เมตร รถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินทาง 2 นาที

 

วิธีทำ โจทย์กำหนด xf = ? ; xi = 120 m; vx= 80 km/hr = 22.22 m/s; t = 2 min = 120 s

 

นำค่าจากโจทย์มาแทนในสมการ (2.7) แล้วก็หาค่าระยะทางสุดท้าย

 

xf = xi + vx t

 

= 120 m + (22.22 m/s).120s

 

= 2786.666 m = 2.789 km

 

ดังนั้น ระยะทางสุดท้ายที่รถยนต์แล่นไปได้ 2789.666 เมตร หรือ 2.789 กิโลเมตร       ตอบ

 

สมการที่ 2.6 และ 2.7 เป็นสมการพื้นฐานที่ใช้ในแบบจำลองของอนุภาคภายใต้ความเร็วคงที่ และเมื่อใดก็ตามที่มีการการวิเคราะห์แบบจำลองของปัญหาที่อนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ คุณก็สามารถใช้สมการเหล่านี้ได้เลย

 

กราฟแสดงระยะทาง – เวลา ที่อนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ ค่าของความเร็วคงที่ก็คือการเอียงของเส้นกราฟ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

       

      จากกราฟด้านบน แสดงให้เห็นถึงกราฟการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ แสดง เส้นที่เอียงซึ่งแสดงถึงการเคลื่อนที่แบบคงที่ และเป็นค่าของความเร็ว ซึ่งสมการที่ 2.7 เป็นสมการเส้นตรง ที่แสดงในรูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์ของอนุภาคภายใต้แบบจำลองที่มีความเร็วคงที่ ความเอียงของเส้นตรงก็คือ vx

 

ตัวอย่างที่ 2.6 นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ ชีวะกลศาสตร์ (Biomechanics) ในร่างกายมนุษย์ เขาได้คำนวณหาค่าความเร็วของนักวิ่งที่วิ่งทางตรงวิ่งด้วยความเร็วคงที่ โดยนักวิทยาศาสตร์เริ่มจับเวลาที่จุดสตาร์ท และให้นักวิ่งหยุดภายหลังที่นักวิ่งวิ่งไปได้ระยะทาง 20 เมตร นาฬิกาจับเวลาหยุดอยู่ที่ 4 วินาที

1) ให้หาความเร็วของนักวิ่ง และ

2) ถ้านักวิ่งยังคงวิ่งต่อไปอีกหลังผ่านจุดที่หยุดอีก 10 วินาที ให้หาระยะทางที่วิ่งว่าเป็นเท่าไหร่

 

รูปชีวะกลศาสตร์ของนักวิ่ง

 

วิธีทำ การที่เราจำลองการเคลื่อนที่ของนักวิ่งสมมติให้เป็นอนุภาค ก็เพราะว่าในความเป็นจริงนักวิ่งจะมีขนาด มีแขน มีขา รายละเอียดเหล่านี้ไม่จำเป็น เพราะสภาพปัญหาของนักวิ่ง ที่วิ่งด้วยอัตราคงที่ เราสามารถจำลองให้เป็นอนุภาคภายใต้ได้จากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่

 

1) หาความเร็วของนักวิ่ง จากการแสดงตัวแบบจำลองเราสามารถใช้สมการที่ 2.6 เพื่อหาความเร็วคงที่ของนักวิ่ง ดังนี้

vx = Dx / Dt

 

          = (xf xi) / Dt

 

             = (20 m 0)/4 s

 

            = 5 m/s          ตอบ

 

2) นักวิ่งวิ่งต่อไปอีก 10 วินาที หาระยะทางที่วิ่งได้โดยใช้สมการที่ 2.7 และคำตอบของความเร็วที่คำนวณได้

 

xf = xi + vx t

 

         = 0 + (5 m/s).(10 s)

 

         = 50 m           ตอบ

 

      การย้ายข้างของสมการทางคณิตศาสตร์สำหรับความเร็วคงที่ ดูจากสมการที่ 2.6 และสมการที่ 2.7 สมการเหล่านี้สามารถใช้เพื่อแก้ปัญหาสำหรับตัวแปรใด ๆ ในสมการที่เกิดขึ้นที่ไม่ทราบค่า แยกออกจากตัวแปรที่ทราบค่า เช่น เราสามารถหาระยะทาง หรือตำแหน่งเมื่อเรารู้ค่าความเร็ว และเวลา ซึ่งได้จากการย้ายสมการ

 

      ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราทราบค่าความเร็ว และค่าของตำแหน่งสุดท้าย เราก็สามารถหาค่าของเวลาได้ตามสมการที่ 2.7

 

      อนุภาคหนึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ พร้อมกับอัตราเร็วคงที่ตลอดแนวเส้นตรง ตอนนี้พิจารณาอนุภาคเคลื่อนที่กับอัตราเร็วคงที่ตลอดเส้นกราฟ สถานการณ์นี้สามารถแสดงได้ด้วยรูปแบบของอนุภาคภายใต้อัตราเร็วคงที่ สมการพื้นฐานสำหรับแบบจำลองนี้คือ สมการ 2.3 พร้อมกับอัตราเร็วเฉลี่ย vavg แทนที่ด้วยความเร็วคงที่ v ดังนั้นจะได้

 

                  v = d/Dt                   (2.8)

 

ตัวอย่างที่ 2.7 การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่อัตราเร็วคงที่เป็นเส้นวงกลม ถ้าความเร็วเป็น 5 เมตรต่อวินาที และรัศมีของเส้นเดินทางคือ 10 เมตร เราสามารถคำนวณช่วงเวลาที่จำเป็นที่ต้องใช้ช่วงเวลาในการเดินทางเป็นวงกลม

 

  v = d/Dt 

 

Dt = d/v

 

        = 2pr/ v

 

                     = 2p(10 m)/5 m/s

 

 

                   = 12.6 s      ตอบ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา