บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,025
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,684
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,919
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,416
  Your IP :52.14.126.74

เราสามารถตีความค่าความเร็วเฉลี่ย โดยสามารถวาดรูปออกมาเป็นรูปร่างเรขาคณิตโดยการวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนกราฟระยะทาง-เวลา ดังแสดงในรูปกราฟเคลื่อนที่ของรถยนต์

 

รูปหาความเร็วเฉลี่ยโดยใช้สามเหลี่ยมมุมฉาก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปแบบของเส้นจะเป็นด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากที่เป็นด้านตรงข้ามมุมฉากโดยความสูงก็คือ ระยะขจัด Dx และฐานก็คือ ช่วงเวลา Dt การเอียงของเส้นก็คือ อัตราส่วน Dx/Dt ซึ่งเป็นนิยามของค่าความเร็วเฉลี่ยตามสมการที่ 2.2 ยกตัวอย่างจากรูปด้านบน ตำแหน่งเวลาที่ 2 และ 3 มีมุมเอียงเท่ากัน (ในรูปจะมีระดับการเอียงเท่ากันหมด) ดังนั้นค่าความเร็วเฉลี่ยของรถจะอยู่ระหว่างสองช่วงเวลาเหล่านั้น ก็คือ (30m – 20m)/(3s – 2s) = 10 m/s  

 

      ทุกวันนี้ในชีวิตประจำวันเรามักใช้ คำว่า อัตราเร็ว (Speed) และความเร็ว (Velocity) ใช้สลับแทนกันได้อยู่บ่อย ๆ แต่ในทางฟิสิกส์คำสองคำนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างโดดเด่นชัดเจนระหว่างปริมาณทั้งสองนี้ โดยยกตัวอย่างการพิจารณาได้จากนักวิ่งมาราธอน

 

รูปนักวิ่งมาราธอน

 

กำหนดระยะการวิ่งมีระยะทาง 40 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นวิ่งจากจุดเริ่มต้น วิ่งไปตามถนน และวิ่งย้อนกลับมาที่เส้นชัยที่เป็นจุดเริ่มต้น ในทางฟิสิกส์ระยะขจัดของพวกเขาก็คือศูนย์ ดังนั้นความเร็วเฉลี่ยของพวกเขาก็คือศูนย์!

 

หมายเหตุ จากตัวอย่างจะพบว่าขนาดของความเร็วเฉลี่ยเป็นศูนย์ แต่อัตราเร็วเฉลี่ยไม่ใช่ศูนย์

 

ถึงอย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องรู้ค่าความเร็วในการวิ่ง อัตราเร็วเฉลี่ย (Average speed: vavg) ของอนุภาค จะเป็นปริมาณสเกลาร์ ก็คือ ระยะทางโดยรวมในการเคลื่อนที่ (Total distance: d) หารด้วยเวลารวมที่ใช้ในการเคลื่อนที่ สมการก็คือ

 

อัตราเร็วเฉลี่ย สมมูลกับ ระยะทางโดยรวมหารด้วยเวลา

 

                  vavg º d/Dt                      (2.3)

 

ตัวอย่างที่ 2.3 จากนักวิ่งมาราธอน ที่วิ่งในระยะทางโดยรวม 40 กิโลเมตร นักวิ่งคนหนึ่งเริ่มต้นวิ่งจากจุดสตาร์ท (เริ่มต้น) ไปจนถึงเส้นชัย (ก็จุดเริ่มต้นที่เดิม) ใช้เวลาวิ่ง 2 ชั่วโมง จงหาว่านักวิ่งคนนั้นจะมีอัตราเร็วเฉลี่ยจากการวิ่งเท่าใด

 

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ d = 40 km = 40 ´ 1,000 = 40,000 m (ทำกิโลเมตรให้เป็นเมตร (1 km = 1000 m))

; Dt = 2 hr = 2 ´ 3,600 = 7,200 s (ทำชั่วโมงให้เป็นวินาที (1 hr = 3,600 s))

 

แทนที่ค่าต่าง ๆ ลงในสมการที่ (2.3)

 

vavg = d/Dt    

 

= 40,000 m / 7,200 s

 

= 5.555 m/s

 

ดังนั้น อัตราเร็วเฉลี่ยของนักวิ่งมาราธอนคนนั้น จะเท่ากับ 5.555 เมตรต่อวินาที            ตอบ

 

ส่วนหน่วยของอัตราเร็วเฉลี่ยก็เหมือนกับหน่วยของความเร็วเฉลี่ย คือเมตรต่อวินาที แต่จะแตกต่างจากความเร็วเฉลี่ย นั่นคือ อัตราเร็วเฉลี่ยจะไม่มีทิศทาง และค่าที่ได้เป็นค่าบวกเสมอ ตอนนี้เราเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างความเร็วเฉลี่ย และอัตราเร็วเฉลี่ยแล้วใช่ไหม

 

      ความเร็วเฉลี่ยในสมการที่ (2.2) คือระยะขจัดหารด้วยเวลา แต่อัตราเร็วเฉลี่ยสมการที่ (2.3) คือ ระยะทางหารด้วยเวลา

 

ความเร็วเฉลี่ย หรืออัตราเร็วเฉลี่ยของอนุภาคไม่ได้ให้ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น  สมมติว่าคุณเดินตรงเข้าไปในซอย 100 เมตร จะเข้าบ้านระหว่างทางผ่านร้านค้า บ้านเรือน ใช้เวลาเดินทาง 45 วินาที เมื่อเราเดินไปถึง 100 เมตรแล้ว นึกขึ้นได้ว่าลืมของที่ร้านค้าจึงย้อนกลับมาเอาจากตำแหน่ง 100 เมตร ย้อนไป 25 เมตรใช้เวลาย้อนไปเอาของ 10 วินาที แล้วจึงเดินกลับไปที่ 100 เมตรตามเดิม

 

      ดังนั้น ค่าความเร็วเฉลี่ยของคุณคือ +75.0m/55.0s = +1.36m/s แต่ถ้าคิดเป็นอัตราเร็วเฉลี่ยในการเดินทางก็คือ 125m/55.0s = 2.27 m/s ในระหว่างการเดินอาจมีการเดินเร็วบ้าง ช้าบ้าง แน่นอน รายละเอียดเหล่านี้ทั้งความเร็วเฉลี่ย และอัตราเร็วเฉลี่ยตอนนี้จะยังไม่ได้กล่าว แต่จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา