บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 204
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 12,282
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,482
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,979
  Your IP :3.143.17.128

บทที่ 2 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

 

ช่วงนี้งานเยอะครับ ไม่ค่อยได้มีเวลามาอัพเดตข้อมูลเลย แต่จะพยายาม

 

      เป็นขั้นแรกในการศึกษากลศาสตร์คลาสสิก เราจะอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยจะไม่กล่าวถึงแรงที่มากระทำที่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือการเคลื่อนที่นี้ วิชานี้มันเป็นส่วนหนึ่งของกลศาสตร์คลาสสิก ที่เรียกว่า จลศาสตร์ (Kinematics; กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยไม่ได้อ้างถึงแรงอันเป็นสาเหตุให้เกิดการเคลื่อนที่) ในบทนี้เราจะทำการพิจารณาการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ นั่นคือการเคลื่อนที่ของวัตถุตามแนวระนาบ เราสามารถจัดประเภทในการเคลื่อนที่หลัก ๆ ของวัตถุได้ 3 ประเภท ได้แก่

 

Ø  การเคลื่อนที่แนวระนาบ หรือแนวราบ (Translational) เช่น รถวิ่งไปตามถนน

 

รูปการเคลื่อนที่ของรถ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

Ø  การหมุน (Rotational)  เช่น โลกหมุนรอบแกนของมันเอง, การหมุนของเพลามอเตอร์

 

รูปการเคลื่อนที่หมุนของล้อจักรยาน แบบไจโรสโคป

 

Ø  การแกว่ง หรือการสั่นสะเทือน (Vibrational) เช่น การเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของลูกตุ้ม (Pendulum)

 

รูปตัวอย่างการเคลื่อนที่ของลูกตุ้มแบบการสั่นสะเทือน

 

      ในบทนี้ และอีก2-3บทข้างหน้า จะกล่าวถึงการเคลื่อนที่แนวระนาบ และบทต่อไปก็จะกล่าวถึง การเคลื่อนที่แบบหมุน และสั่นสะเทือน

 

      ในการศึกษาการเคลื่อนที่แนวระนาบ เราจะใช้สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า การสมมติให้วัตถุเป็นอนุภาค (Particle model) ใช้ในการอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นอนุภาคโดยไม่ได้เอาขนาดของมันมาคิด เพื่อให้การอธิบายทางภาพให้ดูง่ายขึ้น

 

      โดยทั่วไปอนุภาคจะเป็นจุด นั่นคือ วัตถุมีมวล แต่ไม่มีขนาด ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะอธิบายการเคลื่อนที่ของโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์

 

รูปเทียบขนาดดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยะ

 

เราจะสมมติโลกให้เป็นจุดอนุภาค แล้วป้อนข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมลงไปเกี่ยวกับการโคจรของมัน ซึ่งการประมาณการให้โลกเป็นจุดน่าจะเป็นเหตุเป็นผล เพราะว่าเมื่อเทียบกับรัศมีของวงโคจรที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่อย่างมากเมื่อเทียบกับโลก และดวงอาทิตย์ การอธิบายจึงตัดรูปร่างขนาดออกไปได้

 

รูปก๊าซ ของเหลว และของแข็งสมมติให้เป็นอนุภาค

 

อีกหนึ่งตัวอย่าง ก๊าซที่บรรจุอยู่ในถัง กำหนดให้อนุภาคของก๊าซเป็นจุดอนุภาคเป็นโมเลกุล โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างภายในของโมเลกุล

 

2.1 ตำแหน่ง, อัตราเร็ว และความเร็ว

 

      ตำแหน่งของอนุภาค (กำหนดให้เป็น x) คือตำแหน่งที่อยู่ของอนุภาคที่ใช้ในการอ้างอิงจากจุดที่ได้เลือกไว้ เพื่อใช้อ้างอิงกับจุดเริ่มต้นซึ่งเรียกกว่า จุดกำเนิด (Origin) ในระบบที่กำหนดเป็นพิกัด การเคลื่อนที่ของอนุภาคจะเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ ถ้าตำแหน่งของอนุภาคยังอยู่ในบริเวณพิกัดที่ได้กำหนดไว้

 

                เรามาลองพิจารณารถที่เคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบ ตามรูป

 

รูปการเคลื่อนที่ของรถยนต์ และกราฟ

 

ในรูปรถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงไปตามถนน ซึ่งเราจะสนใจแต่การเคลื่อนที่ของรถยนต์เท่านั้น และสมมติให้รถยนต์เป็นอนุภาค จากการทดสอบเคลื่อนที่ ก็มีการเขียนกราฟซึ่งเรียกกราฟนี้ว่า กราฟระยะทาง-เวลา (Position-time graph) แล้วก็มีการบันทึกข้อมูลการเคลื่อนที่ของรถยนต์ จะเริ่มจับเวลา และทุกวินาทีที่ทำการบันทึกตำแหน่งของรถ จะได้ค่าในตารางที่ 2.1

 

ตำแหน่งของรถ

เวลา (t)

(วินาที:s)

ระยะทาง (x)

(เมตร: m)

1

1

10

2

2

20

3

3

30

4

4

40

5

5

50

ตารางที่ 2.1 ตำแหน่งของรถในเวลาที่ต่างกัน

 

      ข้อสังเกต ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลการเคลื่อนที่ของรถยนต์ การใช้ข้อมูลที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขข้อมูลในทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา