บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 396
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 4,992
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 33,227
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,377,724
  Your IP :3.17.74.227

1.6 เลขนัยสำคัญ

 

      เมื่อปริมาณบางอย่างที่วัดออกมา ค่าที่วัดได้จะได้ค่าที่แน่นอนค่าหนึ่งซึ่งแสดงถึงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัด หรือคิดคำนวณออกมาได้ แต่มีบางค่าที่วัดได้ไม่แน่นอน  ค่าไม่แน่นอนที่ได้มานี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น คุณภาพของเครื่องมือ และอุปกรณ์, ทักษะของการทดลอง และจำนวนของการทำการวัด 

 

      ในการวัดจำนวน ตัวเลขที่มีนัยสำคัญ หรือเลขนัยสำคัญ (Significant figures) สามารถใช้เพื่อการอธิบายตัวเลขทุกตัวที่มีความแน่นอน รวมกับตัวเลขอีกตัวที่แสดงความไม่แน่นอน บางอย่างที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของจำนวนเลขนัยสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลขที่ใช้เพื่อแสดงการวัด โดยสามารถยกตัวอย่างเพื่อการอธิบายได้ดังนี้

 

      ตัวอย่างของเลขนัยสำคัญ สมมติว่ามีการวัดรัศมีของแผ่นซีดี โดยการใช้ไม้บรรทัดวัด ความแม่นยำอาจไม่มากพอ จึงมีค่าความเผื่อในการวัดรัศมีของแผ่นซีดี อาจเป็น ±0.1cm

 

      เพราะเหตุที่ว่า ±0.1cm เป็นค่าความไม่แน่นอนของการวัด ถ้าวัดรัศมีของแผ่นซีดีได้ 6 cm โดย 6 cm เป็นค่าที่วัดได้จริง ส่วน ±0.1cm เป็นตัวเลขที่ประมาณขึ้นมา เราสามารถเขียนรัศมีของแผ่นซีดีได้ดังนี้ 6.0±0.1cm ทำให้เราสามารถเรียก ค่า 5.9 หรือ 6.1 cm ได้ว่า มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว

 

1.6.1 การใช้เลขนัยสำคัญ

 

1) ตัวเลข (ที่ไม่ใช่เลข 0) เป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 123 (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว), 3.1415 (เลขนัยสำคัญ 5 ตัว)  

 

2) ส่วนเลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลข นับว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 2014 (เลขนัยสำคัญ 4 ตัว), 101050 (เลขนัยสำคัญ 6 ตัว)

 

 

3) เลข 0 ที่อยู่ทางด้านซ้ายของตัวเลข ไม่เป็นเลขนัยสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อแสดงตำแหน่งจุดทศนิยม เช่น 0.0045 (เลขนัยสำคัญ 2 ตัว), 0.08804 (เลขนัยสำคัญ 4 ตัว)

 

4) ตัวเลขมีค่ามากกว่า 1 แล้วมีเลข 0 เขียนไปทางขวามือ ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 10.0 (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว), 58.004 (เลขนัยสำคัญ 5 ตัว)

 

 

5) ตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 แล้วมีเลข 0 ไปทางขวามือ หรืออยู่ระหว่างตัวเลขถือเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 0.50047 (เลขนัยสำคัญ 5 ตัว), 0.000098504 (เลขนัยสำคัญ 5 ตัว

 

      อย่างไรก็ดี ตัวเลขค่าหนึ่งอาจมีหลากหลายเลขนัยสำคัญ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าใจผิด ยกตัวอย่าง สมติว่ามวลของวัตถุหนึ่งวัดได้เป็น 3800 กรัม (เลขนัยสำคัญ 4 ตัว) แต่ค่านี้ยังคลุมเครือเพราะเราไม่แน่นอนในค่าศูนย์สองตัวที่เห็น ซึ่งอาจมีการใช้จุดทศนิยมเพิ่มเข้ามา หรือทำให้เป็นตัวแทนของตัวเลขที่มีนัยสำคัญในการวัด เพื่อลดจำนวนที่เขียน มันเป็นสิ่งธรรมดาที่จะใช้เครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงตัวเลขที่มีนัยสำคัญ

 

      ในกรณีตัวอย่างคลุมเครือนี้ เราอาจจะแสดงมวลเป็น 3.8 ´ 103 g (เลขนัยสำคัญ 2 ตัว) 3.80 ´ 103 g (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว) และ1.500 ´ 103 g  (เลขนัยสำคัญ 4 ตัว)

 

      ในทำนองเดียวกันค่าตัวเลขที่มีน้อยกว่า 1 เช่น 2.3 ´ 10-4  (เลขนัยสำคัญ 2 ตัว) และ 2.30 ´ 10-4 (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว)

 

1.6.2 การคำนวณเลขนัยสำคัญ

 

      ในการแก้ปัญหาในทางคณิตศาสตร์ เรามักจะทำผ่านการบวก, ลบ, คูณ ,หาร และอื่น ๆ ในการทำเช่นนั้น ต้องทำให้แน่ใจในการแสดงผลลัพธ์เพื่อให้มีจำนวนเลขนัยสำคัญที่เหมาะสม

 

1.6.2.1 บวก และลบ

 

      กำหนดเลขนัยสำคัญ เมื่อตัวเลขถูกบวก หรือลบ จำนวนของเลขทศนิยมในผลที่ได้ควรเท่ากับจำนวนที่น้อยที่สุดของตำแหน่งทศนิยมของเทอมใด ๆ ในการบวก หรือลบกัน

ตัวอย่างของการบวกเลขผลรวมด้านล่างนี้

 

53.2 + 88.293 = 141.4

 

ข้อสังเกต เราไม่รายงานคำตอบ 141.493 เพราะว่าตัวเลขที่ต่ำสุดของตำแหน่งทศนิยมก็คือหนึ่ง สำหรับ 53.2 เพราะฉะนั้น คำตอบของเราต้องมีเลขหลังจุดทศนิยมตัวเดียวเท่านั้น

 

      กฎของการบวก และลบบ่อยครั้งให้ผลลัพธ์ในคำตอบที่มีความแตกต่างกันของตัวเลขนัยสำคัญ จากค่าเริ่มต้น ยกตัวอย่าง ลองพิจารณาการบวก และลบเลขเหล่านี้

 

1.0001 + 0.0003 = 1.0004

 

1.002 – 0.998 = 0.004

 

      ในตัวอย่างแรก ผลลัพธ์ที่ได้มีเลขนัยสำคัญมี 5 ตัว ถึงแม้ว่าเลข 0.0003 มีเลขนัยสำคัญเพียงตัวเดียว ในทำนองเดียวกัน ตัวอย่างที่สอง ผลลัพธ์ที่ได้มีเลขนัยสำคัญเพียงตัวเดียวนั้น แม้ว่าตัวเลขที่ทำการลบจะมีเลขนัยสำคัญสาม และสี่ตัวตามลำดับ

 

1.6.2.2 การคูณ และหาร

 

การคูณ และหารเลขนัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่น้อยที่สุด จากตัวเลขที่นำเอามาคูณ หรือหาร

 

จากตัวอย่างรัศมีแผ่นซีดี จะทำการหาพื้นที่ของแผ่นซีดี ดังนี้

 

A = pr2 = p(6.0 cm)2 = 1.1 ´ 102 cm2

 

      จากการคำนวณจะได้ตัวเลขเท่ากับ 113.0973355 เป็นค่าที่ชัดเจนและละเอียด แต่ในการใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ตัวเลขทั้งหมดก็ได้

 

      จากตัวเลขจำนวนเต็มที่หาได้คือ 113 cm2 (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว) แต่รัศมีของแผ่นซีดีมีเลขนัยสำคัญเพียงสองตัวเท่านั้น (เขียนตามรัศมีที่วัดได้) ดังนั้นจะต้องรายงานผลออกมาเพียง 2 ค่า ก็คือ 1.1 ถึงจะเข้ากฎการคูณ และหารเลขนัยสำคัญ 

 

1.6.3 การปัดเศษ

 

      ถ้าจำนวนของเลขนัยสำคัญที่ได้จากการคำนวณมีเลขหลังจุดทศนิยมมากเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปัดเศษให้ได้ตามกฎ บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ

 

      วิธีการปัดเศษจะมีกฎดังนี้ ถ้าค่าที่ต้องการหลังจุดทศนิยมมีมากกว่า 5 เช่น 1.446 ก็ให้ปัดเศษขึ้นไป 1 ก็จะกลายเป็น 1.45

 

      แต่ถ้าหลักสุดท้ายมีค่าน้อยกว่า 5 ตัวเลขหลักสุดท้ายจะไม่เพิ่มขึ้นให้คงไว้เช่นเดิม เช่น 1.343 กลายเป็น 1.34

 

      แต่ถ้าตัวเลขหลักสุดท้ายเป็น 5 ตัวเลขเศษจะปัดขึ้นหรือปัดลงจะขึ้นอยู่กับค่าใกล้เคียง (กฎนี้ช่วยในการหลีกเลี่ยงการสะสมข้อผิดพลาดในกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีตัวเลขที่ยาว)

 

      เทคนิคการหลีกเลี่ยงที่จะสะสมความผิดพลาด ก็คือการชะลอการปัดเศษของตัวเลขในการคำนวณที่ยาว ทำการคำนวณจนกว่าจะเสร็จสิ้นในขั้นตอนสุดท้าย คือผลลัพธ์ที่ได้ท้ายสุดซึ่งเป็นคำตอบ แล้วถึงทำการการปัดเศษเป็นจำนวนที่ถูกต้องของเลขนัยสำคัญ 

 

ตัวอย่างที่ 1.5  การหาพื้นที่ในการปูกระเบื้อง

      ห้อง ๆ หนึ่งมีความจำเป็นที่จะปูกระเบื้อง ห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวัดความยาวได้ 12.71 เมตร วัดความกว้างได้ 3.46 เมตร ให้หาพื้นที่ที่จะปูกระเบื้อง

 

วิธีทำ

ถ้าคูณ 12.71 กับ3.46 ในเครื่องคิดเลข คุณจะเห็นว่าค่าที่ได้จะเท่ากับ 43.9766 ตารางเมตร จำนวนที่ลงตัวควรจะเป็นเท่าไหร่

 

      กฎสำหรับการคูณบอกว่าต้องการเพียงเลขที่เป็นนัยสำคัญ โดยคำตอบจะอยู่ในปริมาณการวัดที่มีค่าต่ำที่สุดของตัวเลขนัยสำคัญ โดยค่าตัวเลขนัยสำคัญน้อยสุด 3 ตัว ก็คือ 3.46 เมตร

 

ดังนั้นคำตอบสุดท้ายควรจะเป็น      44.0 ตารางเมตร  ตอบ

 

จบบทที่ 1

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา