บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 391
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 4,987
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 33,222
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,377,719
  Your IP :3.144.248.165

      เทคโนโลยีเครื่องกลสมัยใหม่ถูกนำมาใช้งานหนักในงานด้านสายการผลิต เช่น นำมาใช้ผลิตชิ้นงานที่เป็นโลหะผสมพิเศษ (Superalloys) ที่มีความแข็งแกร่ง และที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ดี เครื่องกลสมัยใหม่สามารถแก้ไขปัญหา ลดผลกระทบของเครื่องกลที่เกิดกับชิ้นงานในด้านทางกล, ทางเคมี หรือทางด้านความร้อน

 

      ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกลไฟฟ้าเคมี (ElectroChemical Machining: ECM) ถูกนำมาใช้งานทางด้านยานยนต์, งานแม่พิมพ์, เบ้าหล่อแม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ การกัดกร่อนโลหะโดยการปล่อยประจุไฟฟ้าลงไปในชิ้นงานผู้ที่ทำการคิดค้นประดิษฐ์ครั้งแรกได้แก่ เซอร์ โจเซฟ ไพรเอสลี (Sir Joseph Priestly) ในปี พ.ศ. 2311

 

 

รูปตัวอย่างการใช้งานของเครื่องอีซีเอ็ม

ที่มา : https://www.industryjournal.info

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ 

คลิก 

 

หนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานโลหะ หากสนใจ

คลิก

 

 

รูปผังการทำงานของเครื่องอีซีเอ็ม

ที่มา : https://www.mechanicatech.com

 

      ส่วนในปี พ.ศ. 2486 ลาซีเรนโค และเอ็นไอ ลาซีเรนโค (Lazerenko and N.I. Lazerenko) เป็นผู้สร้างเครื่องกัดเซาะโลหะด้วยตัวนำไฟฟ้า (Electro Discharge Machining: EDM) เป็นครั้งแรก ดูในรูปด้านล่าง

 

รูปตัวอย่างการทำงานของเครื่องอีดีเอ็ม หรือภาษาบ้านเราเรียกว่าเครื่องไวร์คัด

ที่มา : https://sites.google.com

 

รูปผังการทำงานของเครื่องอีดีเอ็ม

ที่มา : https://www.mechanicalbooster.com

 

เครื่องกลอีดีเอ็ม สมัยนั้นยังไม่มีผู้คิดค้นมาก่อน ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการจ่ายพลังงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม นี่เองเป็นสิ่งที่เครื่องกลอีดีเอ็ม มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต

 

      เครื่องกลคลื่นเสียงความถี่สูง (High-frequency sound waves) ถูกสร้างขึ้นมาในปี  พ.ศ. 2470 โดยวู๊ด และลูมิส (Wood and Loomis) ต่อมามีการพัฒนาต่อยอดจนมาเป็นเครื่องความถี่เหนือเสียง (UltraSonic Machining: USM) ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้จริง ซึ่งทำสำเร็จได้ในช่วงปี พ.ศ. 2493

 

 

รูปเครื่องอุลตร้าโซนิค

ที่มา : https://i.imgur.com

 

      โดยทั้งสองเครื่องนั้นได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกัน เครื่องกลยูเอสเอ็ม สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางกับหลากหลายวัสดุ ยกตัวอย่างเช่น แก้ว, เซรามิค และเพชร

 

ยังมีการใช้เครื่องยิงลำแสงอิเล็กตรอน (Electron Beam Melting EBM) คิดว่าน่าจะเป็นของสเตเจอร์วอลด์ (Steigerwald) ผู้ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องแรกในปี พ.ศ. 2490

 

 

รูปการใช้งานเครื่องยิงลำแสงอิเล็กตรอน

ที่มา : https://cdn.redshift.autodesk.com

 

      เครื่องอีบีเอ็มสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ในงานเจาะ, งานทำรูของโลหะแผ่น ซึ่งเป็นยุคเดียวกันกับการคิดค้น วงจรรวม หรือไอซี (Integrated Circuit: IC)

 

 

รูปตัวอย่างตัวไอซี

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com

 

      เครื่องตัดเลเซอร์ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกโดย ชอลว์ลอ และทาวเนส (Schawlaw and Townes)  ใช้ในงานการเจาะรู, การตัด, สคริบปิ้ง (Scribing) และการตัดขอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการใช้งานในเครื่องมือกลเลเซอร์สมัยใหม่

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ไม่ว่าคุณจะคิดว่า

คุณทำได้

หรือคิดว่า

คุณทำไม่ได้

คุณก็คิดถูกทั้งนั้น”

เฮนรี ฟอร์ด

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา