บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 221
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,880
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,115
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,612
  Your IP :18.119.159.150

21 วาล์ว และเกจวัด


การสูบแบบไครโอ (ไครโอปั๊มปิ๊ง) (Cryopumping)

 

           การสูบแบบไครโอ ก๊าซจะควบแน่นในกระบวนการทำความเย็นแบบไครโอเจนิกส์ ถ้าเป็นพื้นที่ปิด เช่นภาชนะสุญญากาศสำหรับฮีเลียมเหลว มันจะทำให้เกิดสุญญากาศได้ดีกว่า

 

 

 

รูปชุดปั๊มไครโอ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปภายในของปั๊มไครโอ

 

 

 

       ปรากฏการทำงานที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเฟสเท่านั้น มันยังจะเปลี่ยนจากก๊าซไปสู่ของแข็งบริเวณที่พื้นผิวที่เย็น อีกทั้งมันก็มีการดูดซับของโมเลกุลก๊าซเช่นกัน (การซึมซับ: ที่สะสมก๊าซ, ของเหลว หรือสารละลาย ในการควบแน่นจากพื้นผิว)

 

       ลักษณะเด่นของการสูบแบบไครโอ เป็นการสูบด้วยความเร็วสูงมาก แล้วใช้เวลาน้อย จากผลที่เกิดขึ้นของปั๊มแบบนี้ มักเป็นไปเพื่อการผลิตฮีเลี่ยมเหลว (หรือก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 K) ทั่วผิวหน้าที่เกิดขึ้นร่วมกับเส้นทางสุญญากาศ (เส้นทางส่งถ่ายทั้งหมด) พื้นผิวของท่อจะกลายเป็นจุดสะสมของปั๊ม

 

 

 

 

วาล์วสุญญากาศ (Vacuum valves)

 

 

รูปตัวอย่างวาล์วสุญญากาศ

 

 

         มีการออกแบบวาล์วมากมายสำหรับใช้ในงานสุญญากาศที่มีประสิทธิภาพสูง วาล์วบางชนิดใช้เป็นแบบหีบเพลงที่เป็นโลหะ และมีลักษณะที่ยืดหยุ่นแบบแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ที่ทำมาจากยางสังเคราะห์ คอยกดตรงบ่ารองโดยชิ้นส่วนโลหะซึ่งเป็นด้านที่ต่อออกสู่ชั้นบรรยากาศของแผ่นไดอะแฟรม มันจะมีความแตกต่างกันของอากาศผ่านไดอะแฟรม

 

               

วาล์วสุญญากาศค่าสูง (High-vacuum valves)

 

        วาล์วปิดริชาร์ด (Richards seal-off valve) พัฒนาโดย NBS ห้องปฏิบัติการทางไครโอเจนิกส์ มีการทดสอบที่ดีมาก หลังจากการปั๊มสำเร็จ วาล์วก็ปิด สามารถเปิดได้โดยใช้มือหมุนเปิด และส่วนการทำงานในการเปิดวาล์ว ออกจากการเปิดที่บ่าวาล์วเท่านั้น ในการระบายระบบ

 

 

เกจวัดสุญญากาศ (Vacuum gauges)

 

       

        เป็นการวัดความดันของสุญญากาศ ในระบบเมื่อเทียบกับความดันบรรยากาศโดยรอบ เกจวัดสุญญากาศส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็นลำดับที่สอง มันไม่ได้ไปวัดความดันสุญญากาศโดยตรงของระบบ แต่ค่าที่ได้ ได้จากการวัดจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ถึงจะได้ค่าความดันสุญญากาศ

 

 

 

 

       หากความดันไม่สามารถวัดได้โดยตรง แล้วจะวัดได้อย่างไร?

       

       การไหลของโมเลกุลอิสระในช่วงความดันต่ำ การนำความร้อนของก๊าซลดลงทำให้ความดันของก๊าซลดลงไปด้วย ดังนั้นถ้าความร้อนที่พื้นผิวกำหนดภายในพื้นที่ของช่วงความดันนี้ การนำความร้อนของก๊าซที่ความดันทั่วไป จะสามารถคำนวณอัตราความร้อนได้จากพื้นผิวนี้ ถ้าใช้ลวดความร้อนมาทำการวัดความดัน แล้วมันรักษาค่าวัตต์คงที่ อุณหภูมิของมันสามารถใช้คำนวณถึงค่าความดันได้

 

รูปตัวอย่างลวดที่ใช้วัดค่าสุญญากาศ

 

 

       ความน่าเชื่อถือของขดลวดความร้อนของเกจสุญญากาศจะทนทานเพิ่มขึ้นถ้าลวดทำมาจากวัสดุผสม

 

                

 

 

ตัววัดในความสามารถประจุเอ็มเคเอส  (MKS capacitance monometer)

 

        เกจการวัดแบบนี้ ใช้วัดความดันบางส่วนของการนำความร้อนของก๊าซ

 

 

รูปตัววัดความดันเอ็มเคเอส

 

 

รูปภายในของตัววัดความดันเอ็มเคเอส

 

 

 

เกจพิรานี (Pirani gauge)

 

        การทำงานของเกจพิรานี ใช้ในการวัดการนำความร้อนของก๊าซที่มีความดันต่ำซึ่งขึ้นอยู่กับความกดดัน และความต้านทานที่เพิ่มขึ้นของตัวนำในโลหะ

 

 

รูปวงจรภายในของเกจพิรานี

 

 

 

รูปเกจพิรานีดิจิตอล

  

 

          เมื่อใดก็ตาม อุณหภูมิของตัวนำสูงขึ้น การใช้ลวดโลหะที่ค่าความต้านทานมีสัมประสิทธิ์สูง และมีการสมดุลของสะพานวีดสะโตน (Wheatstone) ทำให้สามารถคำนวณความดันโดยการวัดได้จากความต้านทานโดยตรง ช่วงย่านความดันใช้งานสำหรับเกจนี้เริ่มที่ 1 mm Hg (มิลลิเมตรปรอท) ไปจนถึง 1x 10-3 mm Hg

 

 

 

เกจวัดแบบเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple gauge)

 

       การวัดอุณหภูมิที่ได้ค่าจากการตอบสนองของเปลี่ยนแปลงไปของการนำความร้อน โดยการวัดอุณหภูมิที่ขดลวดความร้อน จากเทอร์โมคับเปิลขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่ ในเส้นขดลวดจะสร้างแรงดันไฟฟ้าแบบไม่เชิงเส้นที่สามารถอ่านค่าได้โดยการใช้ เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า หรือกัลป์วานอมิเตอร์ (Galvanometer) แบ่งหลายระดับย่านวัดของหน่วยของความดัน ช่วงความดันสำหรับเกจนี้จาก 1 mm Hg  ไปจนถึง 1x 10-3 mm Hg

 

 

รูปภายในของหัววัดเทอร์โมคัปเปิล

 

 

 

รูปเครื่องวัดแบบเทอร์โมคัปเปิล

 

 

       ถึงแม้ว่าเกจพิรานีจะไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร มีการยืดหยุ่นทางด้านวัตถุมากกว่า ส่วนในเกจแบบเทอร์โมคัปเปิลสามารถอ่านได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มค่าได้เรื่อย มันไม่ได้รับผลกระทบจากการทำงานที่ความดันบรรยากาศในช่วงคาบเวลาสั้น ๆ ทำให้ผลรวมจากการวัดความดัน (ความดันเนื่องจากไอ เช่นความดันอันเนื่องจากก๊าซ)

 

       เกจสามารถอ่านการควบคุม และมันสามารถใช้แบ่งการควบคุมสัญญาณสำหรับวงจรอื่น ๆ ข้อเสียของเกจนี้อยู่ที่ต้องเปรียบเทียบมาตรวัดบ่อยสำหรับก๊าซที่มีความแตกต่างกัน

            

 

   

เกจไอออนไนเซชั่น (Ionization gauge)

 

 

 

รูปเกจไอออนไนเซชั่น

 

 

       เกจไอออนไนเซชั่น ค่อนข้างมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ส่วนมากใช้เป็นเกจวัดสุญญากาศความดันสูง การทำงานของมันโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการไหลอย่างคงที่ถึงอาโนดไอออน สิ่งที่เหลืออยู่ทุก ๆ โมเลกุลของก๊าซ ไอออนนี้อ่อนลงที่ตัวเก็บไอออน ผลที่ได้ซึ่งได้จากการวัดจาก ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter)  ตั้งแต่การจ่ายกระแสเป็นสิ่งที่ต้องกำหนด กระแสไอออนได้สัดส่วนของโมเลกุลที่เข้มข้น ช่วงความดันสำหรับเกจวัดนี้จาก 1 mm Hg ไปจนถึง 1 x 10-6 mm Hg

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“สันติสุข เริ่มต้นด้วยรอยยิ้ม

Peace begins with a smile.

 

แม่ชีเทเรซ่า

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา