บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 924
เมื่อวาน 1,918
สัปดาห์นี้ 2,842
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,077
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,375,574
  Your IP :3.134.104.173

ตัวอย่างที่ 5.4 ไฟสัญญาณจราจรแบบห้อย

 

      ชุดไฟสัญญาณจราจรแขวนห้อยอยู่ มีน้ำหนัก 122 N  โดยใช้สายเคเบิลผูกมีสองเส้นรั้งยึดไว้ ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูป a) ชุดไฟสัญญาณจราจรที่ห้อยด้วยสายเคเบิล b) แรงกระทำที่ชุดไฟสัญญาณจราจร c) ผังวัตถุอิสระสำหรับจุดปมข้อต่อทั้งสามสายมาเจอกัน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สายเคเบิลที่อยู่ด้านบนทำมุม 37.0° และ 53.0° กับแนวราบ สายเคเบิลข้างบนเหล่านี้อาจไม่แข็งแกร่งเท่าสายเคเบิลในแนวตั้ง และอาจขาดได้หากความตึงสายมากว่า 100 N อยากรู้ว่าชุดสัญญาณจราจรยังคงห้อยอยู่เหมือนเดิม หรือว่าอาจมีสายเคเบิลขาดในเส้นใดเส้นหนึ่งหรือไม่?

 

วิธีทำ

กรอบความคิด:     ตรวจสอบรูปวาดในรูป a แล้วลองสมมติว่าสายเคเบิลไม่ขาด และไม่เคลื่อนที่

 

แบ่งประเภทหมวดหมู่: หากว่าไม่มีการเคลื่อนที่ ไม่มีชิ้นส่วนใดของระบบมีความเร่ง เราสามารถทำการจำลองแบบไฟสัญญาณเป็นรูปแบบอนุภาคที่อยู่ในภาวะสมดุลแรงสุทธิก็จะเป็นศูนย์ ในทำนองเดียวกัน แรงสุทธิบนจุดปมในรูป c ก็จะเป็นศูนย์ด้วย

 

การวิเคราะห์: เราสร้างแผนภาพของผังไดอะแกรมของแรงกระทำบนไฟจราจร ดังแสดงในรูป b และผังวัตถุอิสระสำหรับจุดปมที่มีสายเคเบิลทั้งสามสายมาเจอกัน ในรูป c จุดปมนี้เป็นวัตถุที่สะดวกหากจะเลือกเพราะว่าแรงทั้งหมดกระทำตามแนวแรงผ่านจุดปมทั้งหมด

 

ใช้สมการ 5.8 สำหรับไฟจราจรในทิศทาง y

 

SFy = 0 ® T3 – Fg = 0

 

T3 = Fg = 122 N

 

เลือกแกนพิกัดแสดงในรูป c และแก้ปัญหาแรงกระทำที่เกิดขึ้นในปมเชือกไปยังส่วนของตัวไฟสัญญาณ ประกอบไปด้วย

 

แรง

องค์ประกอบในแนวแกน x

องค์ประกอบในแนวแกน y

T1

– T1 cos 37.0°

– T1 sin 37.0°

T2

– T2 cos 53.0°

– T2 sin 53.0°

T3

0

–122N

 

ใช้อนุภาคในแบบจำลองสมดุลที่ปมเชือก

 

1) SFx = –T1 cos 37.0° + –T2 cos 53.0° = 0

 

2) SFy = –T1 sin 37.0° + T2 sin 53.0° + (–122 N) = 0

 

สมการที่ 1) แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบทางแนวนอนของ T1 และ T2 ต้องมีขนาดเท่ากัน และสมการที่ 2) แสดงถึงผลรวมของส่วนประกอบทางแนวตั้ง T1 และ T2 ต้องสมดุลกับแรงลง T3 ซึ่งเท่ากับขนาดของน้ำหนักของไฟสัญญาณ

 

แก้ปัญหาในสมการที่ 1) เพื่อให้ได้ค่า T2 ในเทอมของ T1

 

3) T2 = T1 (cos 37.0°/cos 53.0°) = 1.33T1  

 

นำค่า T2 ที่ได้ แทนลงไปในสมการที่ 2)

 

T1 sin 37.0° + (1.33T1) sin 53.0° -122 N = 0

 

T1= 73.4 N

 

                        T2 = 1.33T1 = 97.4 N                   ตอบ

 

ค่าทั้งคู่น้อยกว่า 100N (แค่สำหรับ T2) ดังนั้นสายเคเบิลจะไม่ขาด

 

 

ตัวอย่างที่ 5.5 แรงระหว่างตู้รถในรถไฟ

 

      รถไฟเชื่อมต่อโดยคัปเปิ้ล หรือข้อต่อ (Couplers) ซึ่งอยู่ภายใต้แรงดึงในขณะที่หัวรถจักรกำลังดึงตู้รถอยู่ ลองนึกภาพคุณที่อยู่บนรถไฟที่กำลังเร่งเครื่องด้วยความเร่งคงที่ ขณะที่คุณกำลังเดินจากตู้ที่หัวรถจักรไปยังท้ายขบวน วัดความตึงแต่ละคัปเปิ้ลว่ามันเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเหมือนเดิม เมื่อพนักงานขับรถมีการเบรกตัวคับเปิ้ลจะอยู่ภายใต้แรงกดอัด แรงกดอัดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร หากคิดเทียบจากหัวรถจักร ไปยังขบวนตู้สุดท้าย? (สมมติว่าเบรกเฉพาะที่หัวรถจักร

 

 

รูปขบวนรถไฟ

 

 

รูปคัปเปิ้ลยึดระหว่างตู้รถไฟ

 

 

วิธีทำ

 

ในขณะที่รถไฟความเร็วเพิ่มขึ้น ความตึงเครียดลดลงจากด้านหน้าของรถไฟไปถึงด้านหลัง คัปเปิ้ลระหว่างหัวรถจักร และตู้แรกจะต้องใช้แรงมากพอเพื่อให้เกิดความเร่งของตู้รถที่หยุดนิ่ง ในขณะที่คุณเดินกลับไปด้านหลังตู้รถไฟ แต่ละคัปเปิ้ลมวลความเร่งน้อยลงไปทางด้านหลัง คัปเปิ้ลที่ตู้สุดท้ายมีความเร่งเพียงตู้สุดท้ายเท่านั้น และมีความตึงน้อยสุด

 

      เมื่อมีการเบรก แรงลดลงอีกครั้งจากหน้าไปถึงหลัง คัปเปิ้ลเชื่อมต่อหัวรถจักรที่ตู้แรกต้องใช้แรงที่ใหญ่กว่าเพื่อช้าลงของตู้แต่คัปเปิ้ลแรกต้องใช้แรงมากพอที่จะชะลอตัวลงเฉพาะตู้รถคันสุดท้ายเท่านั้น                                 ตอบ

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“งานเยอะ ทำอย่างไรดีล่ะ

รู้ว่าเยอะ ก็รีบทำ

อย่าดองงาน ข้ามปี ข้ามชาติ

ลำดับความสำคัญงานไหน สำคัญกว่า

สำคัญมาก ก็รีบทำก่อน

สำคัญน้อย ทยอยทำ”

ท่าน ว. วชิรเมธี

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา