บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 64
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 6,169
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,095
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,982
  Your IP :44.192.75.131

5.2 การห้ามเลือด และการป้องกันบาดแผล

 

5.2.1 เสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ

 

      การประเมินผู้บาดเจ็บที่มีบาดแผล ให้ตรวจสอบดูตำแหน่ง, ชนิด และขนาดของบาดแผล หากอยู่ในบริเวณที่เสื้อผ้าที่มีการปิดคลุมอยู่ ต้องมีการตัด หรือฉีกเสื้อผ้าเพื่อให้เห็นบาดแผล จึงควรกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงแผลจากการติดเชื้อ อย่าใช้สิ่งของสกปรก หรือมือที่ไม่สะอาดในการจับบาดแผล ให้พยายามรักษาความสะอาดบาดแผลเท่าที่เป็นไปได้

 

คำเตือน ในบริเวณสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมี บริเวณนั้นอย่าเอาเสื้อผ้าที่ปกคลุมออก เพราะอาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือภาวะสิ่งแทรกซ้อนได้ ให้หาสิ่งห่อหุ้มเพื่อปกป้องเสื้อผ้าอีกที 

 

 

 

5.2.2 ป้องกันบาดแผล

 

      ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ให้พิจารณาอย่างระมัดระวังว่ายังมีบาดแผลอื่น ๆ อีกหรือไม่ อาจมีอะไรทิ่มแทงที่บาดแผล ในบริเวณอื่น ๆ  

 

 

คำเตือน ผู้ได้รับบาดเจ็บ ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง หากเกิดอะไรขึ้น ก็อาจมีความจำเป็นในการรักษาชีวิต เช่น การเปิดทางเดินหายใจ และใช้วิธีเมาส์-ทู-เมาส์ช่วยชีวิต แล้วปกป้องบาดแผล

 

คำเตือน หากมีสิ่งของทิ่มติดอยู่กับร่างกาย (อาจเป็นอันตรายหากเอาออก) อย่าพยายามเอามันออก ให้หาเสื้อผ้า ห่อหุ้มวัตถุที่ยื่นออกมาจากบาดแผล พันตรงบริเวณบาดแผลเพื่อให้วัสดุที่แทงแผลอยู่นิ่งกับที่

 

 

5.2.3 การใช้ผ้าปิดบริเวณแผล

 

5.2.3.1 ใช้ผ้าพันแผลกับผู้บาดเจ็บ กำจัดมันจากการพัน และจับส่วนท้ายของเสื้อผ้าด้วยมือทั้งคู่ ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปจับท้ายของผ้าด้วยมือทั้งสอง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปจับท้ายของผ้าด้วยมือทั้งสอง 2

 

      คำเตือน ห้ามสัมผัสผ้าโดยตรง ต้องทำให้สะอาด (ปราศจากเชื้อ) ในผ้าที่จะมาสัมผัสกับพื้นผิวบริเวณบาดแผล

 

5.2.3.2 จับผ้าที่สะอาดแล้วกางออกเหนือแผล ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการดึงเพื่อเปิดผ้าพันแผล

 

และวางมันบนแผล ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการวางผ้าบนแผล

 

5.2.3.3 จับผ้าด้วยมือข้างหนึ่ง และใช้มืออีกข้างเพื่อพันปลายด้านด้านหนึ่งโดยรอบส่วนที่บาดเจ็บ พันบาดแผลอย่างน้อยรอบครึ่ง ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปการพันปลายของผ้ารอบส่วนบาดเจ็บ

 

 

รูปขั้นตอนการพันบาดแผล

 

ให้เหลือปลายผ้าเพียงพอที่จะทำการผูกปมผ้า หากผู้บาดเจ็บสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็อาจจะให้เขาช่วยโดยจับผ้าพันแผล

 

5.2.3.4 พันปลายอีกด้านในทิศทางตรงกันข้ามจนพันปิดส่วนที่เหลือของปลายผ้า และควรคลุมเก็บปลายผ้าให้เรียบร้อย

 

5.2.3.5 ในการผูกเป็นปมตรงปลาย ก็เพื่อกันการคลายตัวของผ้า ดูที่รูป

 

รูปผูกปลายเพื่อไม่ให้คลาย

 

อย่าผูกปมเหนือบริเวณแผล ผูกผ้าให้แน่นพอเพื่อป้องกันมันหลุดคลายตัว แต่ต้องไม่แน่นจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความรับผิดชอบ ทำให้งานออกมาดี

ความรัก ทำให้งานออกมาสวย

จะประสบความสำเร็จ โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา