บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 112
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 6,217
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,143
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,337,030
  Your IP :3.87.209.162

6. จากอนาล็อก สู่โทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอล

 

 

รูปโทรศัพท์ และอุปกรณ์สื่อสารระบบดิจิตอล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      โทรศัพท์มือถือดิจิตอลแบบสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรุ่นแรก ซึ่งถ้านับเป็นยุคก็คือ ยุคที่สอง หรือ ยุค 2 จี (2G) ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบจากการส่งด้วยคลื่นวิทยุที่เป็นอนาล็อก เริ่มมาสู่การเข้ารหัส และส่งทางคลื่นไมโครเวฟของเทคโนโลยีเซลลูลาร์โทรศัพท์มือถือ มีการใช้งานซิมการ์ด (SIM card)

 

 

รูปตัวอย่างซิมการ์ด

 

      ขนาดของโทรศัพท์จะถูกออกแบบให้เล็กลง มีความสามารถในการส่งเอสเอ็มเอส และข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสถานีฐาน จนทำให้เกิดเป็น ระบบจีเอสเอ็ม (Global System for Mobilization: GSM) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก ที่เรียกว่า การโรมมิ่งต่างประเทศ

 

 

รูประบบจีเอสเอ็ม

 

      สัญญาณอนาล็อกไม่สามารถบีบอัด และจัดการได้อย่างง่ายดาย เหมือนกับสัญญาณดิจิตอลที่แท้จริง นี้คือเหตุผลว่าทำไมบริษัทผู้ให้บริการถึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล เพื่อให้พอดีกับช่องสัญญาณที่มากขึ้นภายในแถบคลื่นแบนวิธที่กำหนด

 

 

รูปโทรศัพท์ดิจิตอลที่แปลงข้อมูลเป็นเลขฐานสอง

 

      โทรศัพท์ดิจิตอลจะแปลงเสียงการโทรไปเป็นข้อมูลเลขฐานสอง (Binary) (เลข 1 และ 0 หรือ เปิด และปิด) และสามารถทำการบีบอัดมันได้ ทำให้คุณภาพเสียงมีความคมชัดขึ้น การลักลอบดักฟังจะทำได้ยากขึ้น เพราะมีการเข้ารหัสไว้

 

      ระบบของโทรศัพท์ดิจิตอลทั้งหลายต้องพึ่งพา การเปลี่ยนคีย์ความถี่ (Frequency-Shift Keying: FSK) เพื่อการส่งข้อมูลไปกลับ และเพื่อให้มีการส่งข้อมูลได้มากกว่าแอมปส์ เอฟเอสเคจะมีใช้อยู่สองความถี่ ความถี่หนึ่งสำหรับ 1 และอีกความถี่หนึ่งสำหรับ 0

 

 

รูปเอฟเอสเค

 

      มีการสลับกันอย่างรวดเร็วระหว่างค่าทั้งสอง เพื่อที่จะส่งข้อมูลดิจิตอล ระหว่างเสาส่งโทรศัพท์มือถือ กับตัวโทรศัพท์ มีการปรับตัวที่ชาญฉลาด และมีแผนการเข้ารหัส ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแปลงข้อมูลจากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล แล้วก็นำไปบีบอัด และถูกแปลงกับคืนอีกครั้ง โดยที่ยังคงรักษาระดับคุณภาพของเสียงให้เป็นที่ยอมรับได้

 

      ซึ่งการเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ก็มีความหมายว่าโทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอล จะต้องใช้กำลังงานในการประมวลผลที่มีปริมาณมาก

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

อัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวง


“งานที่กระทำโดยอาศัยหลักวิชาที่ดี บนรากฐานแห่งความสุจริตและความมุ่งมั่น และด้วยวิธีการอันแยบคาย

          พร้อมด้วยความพึงพอใจความอุตสาหะขะมักเขม้น เอาใจใส่ ด้วยความพินิจพิจารณา จะต้องบรรลุที่ปราศจากโทษ และเป็นประโยชน์ แท้จริงอย่างแน่นอน” 
    

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน 
ปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
14 กรกฎาคม 2522  

ทรงพระเจริญ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา