บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,401
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,631
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,866
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,363
  Your IP :18.116.118.198

7. การส่งกำลังจริง (จบบทความ)

 

      ลองดูแอนิเมทชันการส่งกำลังภายในของกระปุกเกียร์ของเฟืองเกียร์ต่าง ๆ ในแอนิเมชันมีสี่เกียร์เดินหน้า และหนึ่งเกียร์ถอยหลัง  

 

แอนิเมทชันการเปลี่ยนเกียร์เพื่อส่งกำลังงาน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ส่วนกระปุกเกียร์ธรรมดา 5 เกียร์ ถอยหลัง 1 เกียร์ มีใช้ในรถยนต์ที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน ภายในของเกียร์จะเป็นดังรูปด้านล่าง

 

 

รูปผังการทำงานของเกียร์ธรรมดาห้าเกียร์ และถอยหลังหนึ่งเกียร์

 

รูปเกียร์

 

รูปหัวเกียร์

 

รูปจังหวะเข้าเกียร์ในเกียร์ต่าง ๆ

 

มีง่ามคุมเกียร์ (Forks) อยู่สามชุดที่ทำหน้าที่เปลี่ยนเกียร์ตามต้องการ เมื่อเปลี่ยนเกียร์ที่หัวเกียร์ ชุดของง่ามคุมเกียร์ก็เคลื่อนที่ไปตามรูปด้านล่าง

 

รูปการเข้าเกียร์ต่าง ๆ

 

รูปการเข้าเกียร์ 2

 

ขอให้ทราบว่าคันเกียร์จะมีจุดหมุนอยู่ตรงกลาง ตัวอย่างเมื่อทำการเข้าเกียร์ 1 (เหยียบคลัตช์ค้างไว้นะครับ) คือโยกเกียร์ไปทางซ้าย และดันไปด้านหน้า ปลายของคันเกียร์จะเลื่อนถอยหลัง เพราะมีจุดหมุนอยู่ตรงกลาง ทำให้ไปดันชุดง่ามเกียร์เข้าไปขบกับเกียร์ เพื่อส่งกำลังในเกียร์ 1

 

      เมื่อลองโยกเกียร์ดูจะเห็นว่ามันสามารถเลื่อนไปซ้าย หรือขวาก็ได้ ซึ่งการเลื่อนหัวเกียร์ไปทางซ้าย, กลาง, ขวา นั่นก็คือการเลือกชุดง่ามเกียร์ในเกียร์ต่าง ๆ จากนั้นก็เลือกเกียร์โดยการดันไปข้างหน้า (เป็นเกียร์ 1, 3, 5) หรือดันลงเข้าหาตัว (เป็นเกียร์ 2, 4 ,ถอยหลัง)

 

รูปเฟืองขบ

 

รูปชุดเกียร์ถอยหลัง

 

      ในเกียร์ถอยหลัง (Reverse gear) จะมีเฟืองกลาง (Idler gear) ขนาดเล็ก (สีม่วง) ขบกันอยู่ตลอดเวลา เกียร์ถอยหลังสีฟ้า ในรูปด้านบน จะหมุนกลับทางเมื่อเทียบกับเฟืองอื่น ๆ นั่นก็คือเพื่อให้เพลาที่จะส่งไปที่ล้อหมุนกลับทางเพื่อให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ถอยหลังได้นั่นเอง ส่วนอัตราทดจะใกล้เคียงหรือเท่ากับเกียร์ 1

 

 

ชุดซิงโครไนส์เซอร์

 

รูปชุดซิงโครไนส์เซอร์

วิดีโออธิบายชุดซิงโครไนส์

 

รูปชุดซิงโครไนส์เซอร์

 

      ซิงโครไนส์เซอร์ (Synchronizers) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมประสานเกียร์ ในขณะเข้าเกียร์ให้มีความราบเรียบ ไม่ค่อยมีเสียงดัง มีใช้ในกระปุกเกียร์ธรรมดาของรถยนต์ในปัจจุบัน การซิงโครไนส์จะกำจัดปัญหาในเรื่องที่ต้องเข้าเกียร์ยากเฟืองขบกันจนมีเสียงเฟืองบดกัน วัตถุประสงค์ของการซิงโครคือ ทำให้ปลอกเลื่อน และฟันเฟืองของเกียร์เกิดการเสียดทานสัมผัสกันก่อนที่จะใช้เฟืองฟันหมาเข้าไปช่วยขบฟันเฟืองให้ง่ายขึ้น นี้จะช่วยให้ปลอกเลื่อน และเฟืองที่จะเข้าไปประสานกันมีความเร็วใกล้เคียงกันก่อนที่จะเข้าขบกันเพื่อส่งกำลัง ดังรูปด้านล่าง

 

 

รูปภายในชุดซิงโครไนส์

 

วิดีโอการทำงานของเกียร์ที่มีชุดซิงโครไนส์

 

กรวยของเฟืองสีฟ้าจะพอดีไปยังพื้นที่ของปลอกเลื่อน และความเสียดทานระหว่างกรวย กับปลอกเลื่อนจะซิงโครไนส์กันกับปลอกเลื่อน และเฟืองเกียร์ ส่วนด้านนอกของปลอกเลื่อนจะสไลด์ไปซึ่งจะมีเฟืองฟันหมามามีส่วนร่วมช่วยเข้าเกียร์ ซึ่งในการออกแบบอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักการทำงานจะคล้ายกัน

 

จบบทความเรื่องคลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เหตุผลที่ว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ ถึงยังค้นหาตัวเองไม่เจอ

 

นั่นเป็นเพราะว่า พวกเขาเหล่านั้น ยังมัวแต่ค้นหาคนอื่นอยู่”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา