บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,143
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,802
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,037
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,534
  Your IP :18.219.236.199

1. บทนำ

 

 

รูปเครื่องยนต์ดีเซลของรถยนต์ยี่ห้อเลกซัส (Lexus)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของ BMW

 

วิดีโอการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 1

 

วิดีโอการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2

 

      เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel engine) เป็นการพัฒนามาจากหลักการพื้นฐานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gasoline engine) (เครื่องยนต์เบนซิน) ที่ประดิษฐ์โดย นิโคลลัส ออกัส ออตโต ในปี พ.ศ. 2419 ได้สร้างหลักการเครื่องยนต์เผาไหม้สี่จังหวะ เป็นวัฏจักรการทำงานที่เรียกว่า วัฎจักรออตโต (Otto cycle) และมันเป็นพื้นฐานที่นำมาใช้ในรถยนต์ในปัจจุบัน

 

      เครื่องยนต์ของออตโตในตอนแรก ๆ นั้นเป็นเครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ให้ประสิทธิภาพต่ำมาก ซึ่งใช้ความสามารถของน้ำมันเชื้อเพลิงในการใช้งานจริงแค่ประมาณ 10 % เท่านั้น (ความหมายง่าย ๆ ก็คือ เติมน้ำมันลงไป 100 ลิตร ใช้งานได้จริง แค่ 10 ลิตรเท่านั้น) ที่เหลือสูญเสียเป็นความร้อนจนหมด

 

 

รูปเครื่องจักรไอน้ำ

 

 

ยิ่งสมัยนั้นยังมีการใช้เครื่องจักรไอน้ำ(Steam engine) อยู่ ที่ให้งานได้มากกว่า ในตอนแรกเริ่มจึงยังไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจนัก แต่เครื่องยนต์ไอน้ำมีข้อเสียหลัก ๆ คือมีขนาดใหญ่เทอะทะ น้ำหนักมาก และต้องรอให้ไอน้ำเดือดจึงใช้เวลาในการติดเครื่องนานมาก แนวทางของเครื่องยนต์ดีเซลจึงได้เริ่มกำเนิดขึ้นโดยผู้คิดค้นคือ รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) 

 

 

รูป รูดอล์ฟ ดีเซล ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องยนต์ดีเซล

 

 

      ในปีพ.ศ. 2421 รูดอล์ฟ ดีเซล ได้เข้าศึกษากับโรงเรียนโพลีเทคนิคในเยอรมัน (เทียบเท่ากับวิทยาลัยทางวิศวกรรม) เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ไอน้ำ และเครื่องยนต์น้ำมันเบนซินที่มีค่าต่ำมาก ทำให้เขาได้เริ่มมีความคิดที่จะต้องสร้างเครื่องยนต์ ให้มีประสิทธิภาพสูง

 

      เขาได้อุทิศเวลาทุ่มเทในการพัฒนาเครื่องยนต์ ซึ่งมีความผิดพลาดนับเป็นร้อยครั้ง กว่าที่เขาจะประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาดึงเอา “กำลังงานจากเครื่องยนต์เผาไหม้ออกมาใช้งาน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2435 เขาประสบความสำเร็จ และได้จดสิทธิบัตรของเครื่องยนต์ที่เขาคิดค้นได้นี้ ได้เรียกเครื่องยนต์นี้เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้แก่ รูดอล์ฟ ดีเซล ว่า เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel engine)  

 

 

รูปเครื่องยนต์ดีเซลล์ Duramax V-8 4.5 ลิตร ประสิทธิภาพ 25 % เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์น้ำมันเบนซิน ขณะที่ลดมลพิษที่ปล่อยออกมา

 

อาจยังมีคำถามที่ตามหลังมาว่า ถ้าเครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำไมไม่เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์นี้ให้หมดล่ะก็จะตอบว่าข้อด้อยของเครื่องยนต์ดีเซลก็มี เช่น เครื่องยนต์ดีเซลมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนเมื่อเทียบแรงม้ากัน จึงเหมาะกับการใช้ในงานบรรทุกหนัก มีเขม่าควัน ไอเสียพ่นออกมาเป็นสีดำ มีเสียงดัง ในเรื่องรูปแบบความสวยงามไม่ค่อยมีเสน่ห์ดึงดูดเท่าไร จึงไม่ค่อยน่าสนใจในการใช้งานทั่วไป

 

รูปรถกระบะดีเซลที่ให้เขม่าควันดำ

 

 

รูปกระบะดีเซลของฟอร์ด

 

 

รถยกโฟล์กลิฟต์ก็ใช้เครื่องยนต์ดีเซล

 

 

รูปเรือเดินสมุทรจะมีเครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลัง

 

      เครื่องยนต์ดีเซลจึงเหมาะกับการขนส่งขนาดใหญ่ งานบรรทุกหนัก งานในเครื่องจักรกลหนัก ในเรือเดินสมุทร ฯลฯ ให้แรงม้าสูง สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเด่น ของเครื่องยนต์ดีเซล อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันได้มีการปรับปรุงให้เครื่องยนต์ทำงานสะอาดขึ้น และเสียงดังน้อยลง

 

วิดีโอเครื่องยนต์ดีเซลของเบนซ์ อี คลาส

 

วิดีโอเครื่องยนต์ดีเซลของโตโยต้า วี-8

 

วิดีโอประวัติเครื่องยนต์ดีเซล

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“การได้รับว่าสุขแล้ว แต่การให้สุขยิ่งกว่า”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา