บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 910
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,140
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,375
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,872
  Your IP :3.21.93.44

 

1 การกำหนดรูปแบบของยานยนต์ไฟฟ้า

 

      ก่อนที่จะมียานยนต์ไฟฟ้า แรกเริ่มต้นกำลังเกิดมาจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน และอุปกรณ์ทำงานกับเชื้อเพลิง มีการวิจัย พัฒนา ทดสอบ ทดลอง จนเกิดเป็นวิวัฒนาการทางด้านยานยนต์จนกลายมาเป็นต้นกำลังที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ และแผงแบตเตอรี่ไฟฟ้า ส่วนประกอบหลักแสดงในรูปด้านล่าง

     

 

รูป การส่งกำลังยานยนต์ไฟฟ้าพื้นฐาน

ที่มา: https://uppic.cc

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

 

คลิก 

 

มีหนังสือยานยนต์สมัยใหม่ (Modern Vehicles) 1

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

รูปหน้าปกหนังสือ

สามารถโหลดอ่านตัวอย่าง ก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี

หากผู้อ่านสนใจ

คลิก

 

 

      แรก ๆ ข้อบกพร่องก็ยังมีอยู่เช่น มีน้ำหนักมาก, การใช้งานไม่ค่อยมีความหลากหลาย และมีการเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานเร็ว

 

      แต่ก็มีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนมียานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่ลดข้อบกพร่อง เช่น มีการออกแบบตัวถัง และโครงสร้างใหม่ ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้ามีความสามารถที่สูงขึ้นในการใช้งานขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

 

 

รูป ภาพประกอบแนวคิดในการกำหนดรูปแบบโดยทั่วไปของยานยนต์ไฟฟ้า

ที่มา: https://uppic.cc

 

      ขบวนการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าแสดงให้เห็นดังรูปที่ 15.7 ระบบขับเคลื่อนจะประกอบไปด้วยระบบย่อยหลัก ๆ ได้แก่: การขับเคลื่อนของมอเตอร์ไฟฟ้า, แหล่งพลังงาน และระบบช่วยเหลือ

 

      การขับเคลื่อนของมอเตอร์ไฟฟ้า จะมีส่วนประกอบย่อยซึ่งได้แก่ ตัวควบคุมยานพาหนะ (Vehicle controller), ตัวแปลงไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Power electronic converter), มอเตอร์ไฟฟ้า, เกียร์ส่งกำลัง และล้อขับเคลื่อน

 

      แหล่งพลังงาน จะมีส่วนประกอบย่อยซึ่งได้แก่ แหล่งพลังงาน หรือแบตเตอรี่, หน่วยจัดการพลังงาน (Energy management unit) และหน่วยเติมพลังงาน (Energy refueling unit) ฯลฯ

 

      ระบบช่วยเหลือ จะมีส่วนประกอบย่อยซึ่งได้แก่ หน่วยพวงมาลัยพาวเวอร์, หน่วยปรับสภาพอากาศในยานยนต์ และหน่วยจ่ายสนับสนุน (Auxiliary supply unit) ฯลฯ

 

      ขึ้นอยู่กับการควบคุมซึ่งเป็นหน่วยขาเข้า ก็คือ คันเร่ง และคันเบรก, ตัวควบคุมรถให้สัญญาณควบคุมที่เหมาะสม เพื่อแปลงสัญญาณไปเป็นไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

 

      ซึ่งมันจะทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายกำลังงานระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้า และแหล่งพลังงาน กำลังงานจะมีการย้อนกลับไปเก็บเมื่อมีการเบรกของยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงานที่สร้างใหม่ก็จะไปประจุเก็บไว้ในแหล่งพลังงาน ซึ่งถือได้ว่ามันเป็นพลังงานที่ได้มาเกือบจะฟรี

 

      แบตเตอรี่ส่วนใหญ่ของยานยนต์ไฟฟ้า จะมีอุปกรณ์ช่วยอยู่ด้วย เช่น ตัวเก็บประจุแบบพิเศษ และ ล้อช่วยแรง ซึ่งมันพร้อมต่อพลังงานที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ หน่วยจัดเก็บพลังงานจะทำงานร่วมกับตัวควบคุมยานยนต์ เพื่อควบคุมการเบรก ทำให้เกิดการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ การจะเป็นคนดี

มันสำคัญที่เราทำ

ไม่ใช่อยู่ที่ใครมอง

To be good man.

It's important that we do.

Not where anyone is looking.

Jobthai

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา